<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_4_99_saowanit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> 4 กับ 99

 

4 กับ 99

 

โดย...พ.ญ.เสาวนิตย์  กมลธรรม
(วทบ.พบ.เกียรตินิยม ศริราช)

 

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าผู้เขียนเป็นนักเขียนสมัครเล่นที่อยากเล่าประสบการณ์ เรื่องราวเกี่ยวกับการวิ่งในช่วงระยะเวลา 4 ปี ในสนามแข่งขันวิ่งมินิมาราธอนได้ถ้วย 99 ใบมาครอง อันเป็นที่มาของเรื่อง 4 กับ 99

มีหลายคนถามว่า ทำไมไม่เอาให้ครบ 100 ในส่วนตัวผู้เขียนระลึกเสมอว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์เต็มร้อย เราต้องมีสติตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ขยันและอดทน เพื่อพยายามให้ 99 นั้นเป็นความก้าวหน้าต่อไป ถ้าเราคิดว่าสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์แล้วเราจะปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ระมัดระวังแล้ว 99 นั้น จะกลายเป็นความก้าวหลัง (ถอยหลัง)

แต่ก่อนผู้เขียนไม่ได้สนใจเรื่องวิ่งสักเท่าไหร่ เป็นคนชอบเดิน เดินขึ้นบันไดไม่ต้องใช้ลิฟท์ ไม่ชอบอยู่นิ่งๆ เพราะกลัวอ้วน ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ก็ว่ายน้ำอาทิตย์ละ 1-2 ครั้งบ้าง หลังจากจบก็ทำงานตลิดจนมิถุนายน34 เกิดอุบัติเหตุขับรถกับรถจิ๊บ ซี่โครงหัก 5 ซี่ แทงปอดต้องใส่สาย chest drain (สายยางเข้าไปในปอดต่อลงขวดเพื่อให้เลือดออกจากปอด ) กระดูกหน้าหัก ทุกวันนี้ยังใส่เหล็กที่หน้าอยู่ หลังจากนั้นก็ทำงานหนักมาตลอด จนหลายปี 2539 รู้สึกสุขภาพแย่ลง เดินขึ้นบันได 2-3 ขั้น ก็เหนื่อยเวียนหัว ปวดหลัง โรคภูมิแพ้ จาม คัดจมูก ก็เป็นบ่อยมาก  ต้องกินยาแก้แพ้เกือบทุกวัน เกิดความคิดขึ้นมาว่าอาายุ 37 ปี ยังขนาดนี้ ถ้าอายุมากกว่านี้เป็นอย่างไร ที่อุตส่าห์ทำมาหากินหาเงินมาตลอดชีวิต ตอนแก่คงต้องใช้เงินรักษาโรค แทนที่จะใช้หาความสุข แน่ๆ แล้วมันมีประโยชน์อะไร! จึงเป็นที่มาของสาเหตุให้คิดออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีหลายวิธี  แต่เลือกวิ่งเพราะเป็นกีฬาที่สะดวกและง่ายที่สุด มีรองเท้าเพียงคู่เดียวกับมีทางให้วิ่งก็พอแล้ว ไม่ต้องมีสนาม ไม่ต้องมีอุปกรณ์ ไม่จำกัดเวลา (เห็นได้จากการวิ่ง midnight ) และที่สำคัญไม่ต้องมีคซ้อม (ไม่ต้องพึ่งพาหรือรบกวนคนอื่น)

เริ่มวิ่งจากคลีนิคไปตามถนน ตอนเช้าตรู่ 5.30 น.ประมาณ 200 เมตร รู้สึกเหนื่อยใจจะขาด  หัวใจเต้นแรงมาก วันรุ่งขึ้นก็วิ่งอีกก็เหนื่อยอีก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ด้วยความตั้งใจจริงขยัน อดทน ได้เปลี่ยนเป็นเดินเร็วๆ 5 นาที และวิ่งช้า ๆ 10 นาที หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มระยะทางและเวลาให้ได้ 30 นาที  โโยไม่สนใจเรื่องความเร็ว (ตอนั้นไม่ความคิดที่จะแข่งขันอยู่ในสมองเลย ) วิ่งอยู่เป็นเดือนทุกวันไม่มีวันหยุดและไม่ฝืนวิ่งถ้าปวดมากขึ้น เมื่อร่างกายเคยชินกับการออกกำลังกายแล้ว ค่อยๆ เพิ่มระยะทางและความเร็ว จึงจำได้ว่าภายใน 3 เดือน วิ่งได้ 5 กม. ระยะเวลา 40 นาที

การได้เข้าร่วมวิ่งแข่งขันเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อเห็นใบสมัครวิ่งของสวนไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ระยะทาง 6 กม. อันเป็นระยะทางที่ผู้เขียนไม่เคยวิ่ง เกิดความท้าทายและอยากลอง ผลการวิ่งได้ที่ 3 มาครอง มีความดีใจและปลื้มใจมากหลังจากนั้นก็ซ้อมเพิ่มระยะทางเรื่อยๆ จนมีการจัดวิ่งมินิมาราธอนต้านยาบ้า ระยะทาง 10.5 กม.ที่เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นระยะทางซึ่งไม่เคยวิ่งอีกเหมือนกัน พอวิ่งไปได้ 8 กม. กว่า รู้สึกเหนื่อยมาก แต่อาศัยใจสู้ และคู่แข่งขันไม่มากก็วิ่งถึงเส้นชัยได้ ใช้เวลาเกือบ 1 ชม. ได้ที่ 2

อันที่จริงแล้วถ้วย 3 ใบแรก ใช้เวลา 1 ปี (ก.พ.2540-ก.พ.2541) เป็นสนามแข่งในเพชรบูรณ์ทั้งสิ้น แต่อีก 96 ใบ ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปี (พ.ย.2541-ก.ย.2544) ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า ผู้ที่เริ่มวิ่งแข่งขันควรหาสนามนอก กทม. (ยกเว้นสนามดังๆ เช่น จอมบึง,ศิลปาชีพบางไทร ) เพราะไม่มีคู่แข่งมาก ทำให้เกิดความภูมิใจ ไม่รู้สึกท้อแท้ แต่เกิดกำลังใจที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นไป เปรียบเทียบกับการมีชีวิตในโลกทุกวันนี้ ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับอะไรที่ดีกว่าเราจะไม่ค่อยมีความสุข

นักวิ่งหลายคนถามว่าซ้อมอย่างไรจึงลงแข่งได้เกือบทุกอาทิตย์ แล้วไม่เจ็บ ขอบอกว่าสิ่งสำคัญคือต้องประมาณกำลังตัวเอง อย่าฮึดสู้เมื่อเมื่อกำลังเราเต็มที่แล้ว การได้ถ้วยรางวัลแล้วเจ็บต้องหยุดวิ่งอีกนาน คิดว่าไม่คุ้มค่าเลย ส่วนการฝึกซ้อมได้ทดลองหลายแบบ จนแบบสุดท้ายที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับตัวเอง คือซ้อม 3 วัน วันอังคาร พุธ ศุกร์ วันอาทิตย์แข่ง  วันจันทร์หยุดพัก วันพฤหัส และเสาร์ ออกกำลังกายยืดเส้น และเต้นแอโรบิก สำหรับระยะทางที่ซ้อมวิ่ง อังคาร 6-8 กม. พุธ 10 กม.

           สิ่งที่ได้จากการวิ่ง

1.สุขภาพกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส

2.ได้บุญกุศลจากเงินค่าสมัครวิ่ง

3.ได้สังคมกว้างขึ้น รู้จักกับคนต่างวัยต่างอาชีพ และหลายระดับ

4.ได้ท่องเที่ยว

5.ได้ถ้วยรางวัล ซึ่งต้องใช้ความสามารถ ไม่ใช่มีเงินไปซื้อได้

              มีเรื่องประทับใจอยู่ในความทรงจำของผู้เขียนหลายเรื่อง เรื่องแรกเป็นการวิ่งในสนามแรกของ กทม. ตอนนั้นอยู่ในรุ่น 30-39 ปี การแต่งกายยังไม่กล้าใส่ชุดวิ่งอย่างทุกวันนี้ รู้สึกอายๆ ยังไงชอบกล ใส่กางเกงวอร์มขายาว เสื้อยืดมีแขนลงวิ่งแข่งขัน  พอเข้าเส้นชัยเหมือนจะเป็นลม 

 คุณวันดี  เอี๋ยวภูเก็ต                    เป็นคนแนะนำให้ใส่เสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อออกได้มากๆ ตอนรับถ้วยรางวัลยังอุตส่าห์ไปแย่งรับถ้วยที่4 กับคุณวันดี ทั้งๆ ที่ผู้เขียนได้ถ้วยที่ 5 ซึ่งคุณวันดีก็ยิ้ม บอกว่าไม่เป็นไร แลกถ้วยกันหลังรับ

อีกเรื่องหนึ่งต้องขอบคุณในน้ำใจ  คือตอนที่ไปวิ่งเขาชะโงกเมื่อ พ.ย.43 บังเอิญคุณแม่มาจากภูเก็ตต้องการไปเที่ยวด้วยแต่หาที่พักใกล้ๆไม่ได้เลย ก็ได้รับน้ำใจจากเฮียไผ่(คุณกิติพงษ์ ขจรปรัชญา) ประธานชมรมวิ่งมณีนารถ เอือเฟื้อที่พักที่จักรดาวรีสอร์ทให้ 1 ห้อง ขอฝากคำขอบคุณมาอีกครั้ง ณ.โอกาสนี้ด้วย

อบอุ่นจากพี่ เพื่อน น้อง นักวิ่งจำนวนมาก มีความสุขหลังกลับจากงานวิ่ง ขอขอบคุณ คุณอนุภาพ ผู้ตรวจ ของ ธ.ก.ส. ที่ได้บริจาคเสื้อผ้า และสิ่งของให้กับมูลนิธิ พ.ญ.เสาวนิตย์ กมลธรรม ซึ่งช่วยเหลือเรื่องการเรียน  และอาหารให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของอำเภอบึงสามพัน ขอขอบคุณล่วงหน้ามายังนักวิ่งที่เคยแจ้งว่าจะบริจาคด้วยวิ่งที่ไม่ประสงค์จะเก็บไว้ เนื่องจากมีมากเกินไม่มีที่เก็บ หรือถ้วยไม่สวยถูกใจ ถึงแม้ไม่เจอผู้เขียนแล้ว ถ้าจะมอบให้กับ รร.ใช้ในการแข่งขันก็แจ้งมาให้ทราบ (0-2279-0497) จะขับรถไปรับด้วยตัวเองค่ะ

เรื่องสุดท้ายที่จะเขียนคงจะตอบข้อสงสัยของบางคนทำไมจึงเลิกวิ่ง ผู้เขียนรู้สึกว่า ระยะหลังเริ่มเครียด กับการต้องตื่นแต่เช้า รู้สึกว่านอนไม่เพียงพอ ต้องไปเบียดเสียด บริเวณจุดสตาร์ท และการแจกถ้วยรางวัลช้า เพราะมีภาระต้องไปรับส่งลูกเรียนพิเศษ เคยพูดกับเพื่อนหลายคนว่า หน้าที่หลักที่หยุดงาเสาร์-อาทิตย์ คือเรื่องลูก ที่มาวิ่งทุกอทิตย์ถือเป็นงานอดิเรกซึ่งควรทำให้เราสนุกเมื่อรู้สึกไม่สนุก และเครียดแล้วก็ควรจะหยุด

โดยปกติแล้วผู้เขียนเป็นคนที่ตั้งใจทำอะไรแล้วจะจริงจัง ทำจนสำเร็จ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างควรมีคำว่าพอ ขณะนี้รู้สึกว่าตัวเองเพียงพอแล้วกับถ้วยรางวัล ชีวิตคือการต่อสู้แต่ชีวิตไม่ใช่การแข่งขันเสมอไป ผู้เขียนยังคงวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพต่อไป ขอพักการแข่งขันจะไปฝึกวิ่งช้า เผื่อมาพบกันอีกครั้งในสนามวิ่งอีก 1-2 ปีข้างหน้าค่ะ (แล้วกรุณาอย่าถามว่า..." คุณหมอวันนี้ได้ที่เท่าไร? "

      


สัมภาษณ์ พ.ญ.เสาวนิตย์ กมลธรรม 2 ปีที่วิ่งกับถ้วย 54ใบ

ภาพบรรยากาศ งานวิ่ง 30 ปี นิติจิตเวช (ปี2544)

สัมภาษณ์หมอเบิร์ด(อภิสมัย )

10ท่าเหยียดร่างกาย

เดินสลับวิ่งดีจริงหรือ

ข้อแนะนำการวิ่ง 10 K

 

คุณหมอเสาวนิตย์ (นั่งขวาสุดเบอร์ 62 )
ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกสนามวิ่งรพ.นิติจิตเวช
ซึ่งเป็นสนามแข่งสุดท้ายกับถ้วยรางวัลใบที่99

 

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 21ก.ค.45<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>