<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_pain_foot.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> บาดเจ็บบริเวณเท้า

 

 

               

การวิ่งเท้าเปล่ากับสวมรองเท้าวิ่งต่างกันอย่างไร  คิดว่าหลายๆ คน คงอยากทราบ เพราะนักกีฬาที่วิ่งเก่งและมีชื่อเสียงอย่าง  โซลา บัดด์   ยังวิ่งเท้าเปล่าเลย  และก็วิ่งได้ดีด้วย  สามารถชนะหลายครั้งหลายหน  ขอตอบว่าดีแน่  แต่ขอให้พิจารณา กันเอาเองดังนี้  ตามทฤษฎีนั้น นักวิ่งที่มีเท้าปกติ  การวิ่งเท้าเปล่ามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า  เพราะขณะที่วิ่งและเท้าสัมผัสพื้น  มุมเอียงของข้อเท้าจะน้อยกว่า  การวิ่งสวมรองเท้า  ยิ่งเท้าที่มีพื้นนิ่มมากๆ ด้วยแล้ว  มุมเอียงของข้อเท้าจะยิ่งมากขึ้นไปอีก  ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ตั้งแต่  เท้า  ข้อเท้า  ข้อเข่า  ข้อตะโพก  จนกระทั่งหลังได้  แต่ที่สำคัญอีกอย่างที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจก็คือ    พื้นวิ่ง  ซึ่งต้องเหมาะสมจริง ๆ ต่อการวิ่งและเทคนิคการวิ่งจะต้องถูกต้องด้วย จึงมั่นใจได้ว่า  ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บอื่นๆ อีกมากมาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าไม่สวมรองเท้า    นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว   ยังต้องคำนึงถึงการฝึกและความเคยชินในชีวิตประจำวันด้วย 

            บาดเจ็บของเท้านั้นเกิดได้ไม่ยากนัก  ถ้าไม่ระมัดระวัง  เพราะเป็นส่วนที่สัมผัสพื้นวิ่งโดยตรง  ดังจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

 1. พังผืดอักเสบบริเวณส้นเท้า  ( Plantar  fasciitis)

           เกิดจากการอักเสบของพังผืดบริเวณใต้ฝ่าเท้าตรงส่วนที่เกาะที่กระดูกส้นเท้า  สาเหตุที่เกิดเนื่องจากการใช้งานมากเกินไป   เช่น  วิ่งลงส้นเท้ามากเกินไป  หรือกระแทกกระทั้นมากเกินไป ทำให้พังผืดที่เกาะบริเวณส้นเท้านั้นทนไม่ได้เกิดการอักเสบขึ้นมา  จะพบในนักวิ่งซึ่งวิ่งโดยลงส้นเท้าแบบกระแทกกระทั้นหรือวิ่งลงส้นเท้าบริเวณพื้นที่วิ่งที่แข็งเกินไป  หรือพื้นรองเท้าบริเวณส้นเท้าไม่นิ่ม ไม่สามารถที่จะดูดซับการกระแทกกระทั้นบริเวณส้นเท้าได้  ในพวกนักวิ่งที่มีโครงสร้างของเท้าผิดปกตินั้นก็เกิดอาการบาดเจ็บจากโรคนี้ได้เช่นกัน  คือพวกนักวิ่งซึ่งมีเท้าในลักษณะโค้งสูง ( ฝ่าเท้าโค้งสูง ) หรือพวกเท้าคว่ำแบนบิดออกนอก   อาการที่พบคือ  มีการเจ็บปวดบริเวณใต้ส้นเท้า  เมื่อเอานิ้วกดก็จะรู้สึกเจ็บปวดที่จุดตรงกึ่งกลางของส้นเท้าเป็นส่วนใหญ่  หรืออาจจะเฉียงไปทางด้านนอกหรือด้านในได้บ้างเล็กน้อย   พวกที่เป็นมากก็จะเจ็บอยู่ตลอดเวลา  เมื่อลงน้ำหนักแม้กระทั่งเดินก็จะเจ็บ  ส่วนที่อาการไม่มาก นักวิ่งจะสังเกตว่าเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าลงจากเตียง ใช้เท้าเดินจะพบว่าจะเจ็บมากบริเวณส้นเท้า  เมื่อเท้าเริ่มสัมผัสพื้นหลังจากใช้งานไปชั่วครู่อาการก็จะดีขึ้น  การเจ็บปวดก็จะน้อยลงไป  จนกระทั่งเวลาผ่านไปถึง  เช้า  สาย  บ่าย  อาการก็จะหายไป  หลังจากเลิกใช้งานในตอนเย็น ๆ หรือตอนกลางคืนก็จะมีอาการเจ็บปวดนั้นขึ้นมาอีก  ส่วนพวกที่วิ่งจะพบว่าตอนเริ่มต้นวิ่งนั้นจะเจ็บบริเวณส้นเท้า  หลังจากวิ่งไปสักระยะหนึ่ง อาการเจ็บส้นเท้านั้นก็จะหายไป  แต่เมื่อหยุดวิ่งอาการเจ็บปวดส้นเท้าก็จะกลับเป็นขึ้นมาอีก

        การปฐมพยาบาลและการรักษา  

         เมื่อมีอาการเจ็บปวด  ให้หยุดวิ่ง  การรักษาเบื้องต้นก็เหมือนกับการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บทั่ว ๆ ไปคือ  ให้พักและประคบน้ำแข็งบริเวณนั้นประมาณ  15 นาที - 20 นาที   แล้วให้ยาแก้ปวดและให้ยาต้านการอักเสบ สำหรับรักษาโรคนี้  ประมาณ 3 สัปดาห์

         ในระหว่างการรักษา  3  สัปดาห์นี้  ให้คนไข้ได้พักบริเวณส้นเท้าจริง ๆ ไม่ให้มีน้ำหนักไปกด  หลีกเลี่ยงการเดินหรือวิ่ง  ต้องให้ส้นเท้ารับน้ำหนักน้อยที่สุด  ถ้าจะเดินก็ไม่ควรให้มีน้ำหนักกดที่บริเวณส้นเท้า  อาจจะใช้รองเท้าฟองน้ำ  เจาะรูกลม ๆ บริเวณส้นเท้าเพื่อไม่ให้ส้นเท้ารับน้ำหนัก  หรือรองด้วยฟองน้ำหนา ๆ เมื่อเวลาต้องการจะเดินเพื่อที่ให้นิ่มที่สุดเท่าที่จะนิ่มได้  และสิ่งที่ควรให้ร่วมด้วยคือ  การรักษาทางกายภาพบำบัด   โดยการให้ความร้อน  ใช้เท้าแช่น้ำอุ่นจัด ๆ น้ำอุ่นให้ร้อนเท่าที่ทนได้  แช่ประมาณ 15 นาที  - 20 นาที  เช้าเย็น  นอกจากนี้การใช้กลื่นเหนือเสียงก็สามารถช่วยได้  ทำให้การหายเร็วขึ้น  ในรายซึ่งอาการเป็นมากการรักษาทางยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล  เราสามารถใช้ยาฉีดเฉพาะที่ด้วยยาต้านการอักเสบได้  การฉีดยาให้ฉีดได้ทุก 1 สัปดาห์  ไม่ควรเกิน 3 เข็ม  หลังจาก 3 เข็มไปแล้วอาการยังไม่หาย การรักษาขั้นต่อไปคือการรักษาขั้นผ่าตัดเพื่อลดแรงดึงรั้งของพังผืดที่เกาะบริเวณส้นเท้า  จะทำให้หายจากอาการเจ็บปวดได้  แต่ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน  อาจเป็นเวลาหลายๆ เดือน

         การป้องกัน  

         1. รองเท้าที่ใช้วิ่งจะต้องมีพื้นรองส้นเท้า  นิ่ม  หรือเสริมที่รองส้นเท้าเป็นยางนิ่มมากๆ และพื้นรองเท้าควรมีส่วนโค้งนูนขึ้นสำหรับอุ้งเท้า

         2. หลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นวิ่งที่แข็ง  ไม่ควรวิ่งแบบออกแรงกระแทกที่ส้นเท้า  นอกจากนี้

         3. ปรับโครงสร้างของร่างกายที่ผิดปกติดังกล่าวแล้ว  โดยการเสริมรองเท้าดังที่กล่าวมาแล้ว

         4. ให้บริการเพื่อยืดพังผืดนี้ให้มีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ  โดยโน้มตัวไปทางด้านหน้า  ให้ขาเอนไปทางด้านหน้า  ทำบ่อยๆ ประมาณ  10 ครั้ง  ในตอนเช้าและเย็น

2.โคนนิ้วหัวแม่เท้าอักเสบ  ( Bunion )

      เกิดจากการอักเสบของข้อต่อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ  อาการของโรคนี้อาจจะเจ็บเมื่ออยู่นิ่งๆ  หรือจะเจ็บก็ต่อเมื่อเดินหรือวิ่งก็ได้    แล้วแต่ว่า  อาการมากหรือน้อย    สาเหตุเกิดจากรูปทรงของเท้าที่ผิดปกติคือ  มีนิ้วหัวแม่เท้าบิดออกนอกหรือพบในนักวิ่งที่สวมรองเท้าที่มีส่วนปลายแคบ ( หัวแหลม )  ทำให้มีการบีบรัดนิ้วหัวแม่เท้าให้เบี่ยงเบนออกนอก   เกิดการหลุดของข้อต่อเป็นบางส่วน  ทำให้มีการเสื่อม   จะเห็นว่าส่วนข้อต่อนี้โตขึ้น  หรือเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น  เกิดการเจ็บปวด

         การปฐมพยาบาลและการรักษา 

         เมื่อมีการเจ็บปวดบริเวณตำแหน่งนี   ให้หยุดวิ่งทันที  ถอดรองเท้าออก  การรักษาเบื้องต้นให้ประคบน้ำแข็งเพื่อลดการอักเสบ  พัก  ให้ยาแก้ปวด  และให้ยาต้านการอักเสบ     ถ้าอาการไม่หายไปใน 3 วัน  ควรให้ยาต้านการอักเสบนาน  3 สัปดาห์   และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย   เช่นความร้อน  ( แช่เท้าในน้ำอุ่น  ประมาณ  15-20 นาที  เช้า-เย็น ) ใช้คลื่นเหนือเสียง  ( อุลตราซาวด์ )  เป็นต้น  การฉีดยาเฉพาะที่ชนิดยาต้านการอักเสบจำพวกสเตียรอยด์เข้าข้อต่อใด ๆ ของร่างกายเป็นข้อห้ามเด็ดขาด  เพราะว่าจะทำให้อาการหายไปในทันที  แต่จะทำให้ข้อต่อเสื่อมและผุพังเร็วขึ้นเสียไปเลย  วิ่งไม่ได้  จะเจ็บอยู่จลอดเวลา  แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดแล้วก็ตาม

           การป้องกัน 

           1.ดูรูปทรงของเท้าบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าว่าบิดเบนออกไปด้านอกหรือไม่  ถ้ามีมากและมีอาการอักเสบเกิดขึ้นแล้ว  อาจจะต้องทำการผ่าตัดรักษาเพื่อให้นิ้วนั้นตรง

           2. รองเท้าที่ใช้วิ่งจะต้องมีหัวป้าน  ไม่แหลมบีบปลายเท้า

           3. รองบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้วย  แผ่นสำลีหรือแผ่นยางที่นิ่มมากๆ  เพื่อลดการเสียดสีบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า

 

3. การเจ็บปวดบริเวณด้านใต้ต่อโคนนิ้วหัวแม่เท้า  ( Sesamoiditis )

           เกิดจากการเสียดสีของปุ่มกระดูกเล็ก ๆ ที่อยู่ในเอ็น  บริเวณใต้ต่อโคนนิ้วหัวแม่เท้าบ่อย ๆ ครั้ง  ทำให้มีอาการเจ็บปวดได้  สาเหตุที่เกิดนั้น  เกิดจากการวิ่งที่ลงด้วยปลายเท้าหรือเขย่งเท้า  แทนที่จะวิ่งให้เต็มฝ่าเท้า

           การปฐมพยาบาลและการรักษา  

           เมื่อมีอาการเกิดขึ้น  ให้หยุดวิ่งทันที  ประคบเย็น  หลังจากพักแล้วอาการยังไม่หายไป  ให้ยาแก้ปวด  ถ้าภายใน 3 วัน  ยังมีอาการอยู่  ก็ให้ยาต้านอักเสบนาน  3 สัปดาห์  และรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย  เช่น  แช่น้ำอุ่น  ให้คลื่นเหนือเสียง  ( อุลตราซาวด์ )  เป็นต้น

           การป้องกัน 

           1. ไม่วิ่งโดยลงปลายเท้าหรือเขย่งเท้า  ให้วิ่งเต็มฝ่าเท้าเมื่อลงน้ำหนัก

           2. รองเท้าที่ใช้วิ่งไม่ควรบีบรัดบริเวณปลายเท้า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคนนิ้วหัวแม่เท้า

           3. หลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นแข็ง  เพราะจะทำให้เกิดการกระแทกกระทั้น  หรือมีการเสียดสีของกระดูกชิ้นเล็ก ๆ นี้ได้ 

 

( จากหนังสือ บาดเจ็บจากการวิ่ง โดย..รศ.น.พ.ธีรวัฒน์  กุลทนันทน์ )

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.44

 

นายยิ้ม ( WEBMASTER ) คือใคร ?ดูหน้าตากันหน่อยซิ

ภาพวิ่งลอยฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ 2530 

นอนไม่พอคืนก่อนการแข่งขัน ร่างกายยังสู้ได้

การฝึกเพื่อกลับไปวิ่งใหม่ หลังจากการบาดเจ็บ

เมื่อเจอนักวิ่งตาบอดท่านจะช่วยอย่างไร

 

<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>