<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_sleep_not_enough.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> นอนไม่พอคืนก่อนการแข่งขัน ร่างกายยังสู้ได้

 

 

นอนไม่พอคืนก่อนการแข่งขัน ร่างกายยังสู้ได้

โดย...รศ.ดร.ประทุม  ม่วงมี

                                                                                                                         Visitors : <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

เรื่องราวการนอนถ้าจะว่ากันตามความจริงแล้ว ถือว่าเป็น " ศาสตร์ " ที่ยังมีความ " ลึกลับ " อยู่มาก นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่สู้จะมีความกระจ่างมากนัก แต่โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ปกติ คือ การอดนอนนั้นอาจเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึก อารมณ์ หรือจิตใจไม่ค่อยดี ผลทางจิตใจนี้เชื่อกันว่า มักจะส่งผลไปถึงร่างกายด้วย

หรือในทางตรงกันข้ามการอดนอนมีผลโดยตรงต่อร่างกาย

แล้วส่งผลสะท้อนต่อไปยังจิตใจ

ก็ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การอดนอนเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาของคนเรา ทั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักกีฬาแต่ในบางโอกาสการอดนอนก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น นักกีฬาต้องทำงานให้เสร็จทันเวลา บางรายตื่นเต้น กังวล บางครั้งเป็นเพราะการเดินทางไปแข่งขันที่อาจเป็นลักษณะข้ามวันข้ามคืนเป็นต้น ในสภาวะการณ์ดังกล่าว เชื่อกันว่าอาจเป็นเครื่องถ่วงรั้งความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาได้

แต่ความเชื่อนี้ได้รับการปฏิเสธจากผลงานวิจัยของ สุพจน์ ตุลารัตนพงษ์ 

 นักวิจัยรายนี้เกิดความสนใจว่า

ภายหลังการอดนอนในคืนก่อนที่จะให้ร่างกายทำงานนั้นจะมีผลอย่างไรต่อความสามารถในการทำงานของร่างกายในวันรุ่งขึ้น

ผู้วิจัยจึงได้หากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตชาย จำนวน 60 คน ให้นอน 8 ชั่วโมง แล้วทำการทดสอบ 2 อย่าง คือความอดทนของร่างกาย ด้วยการให้ขี่จักรยานวัดงานที่ความเข้มข้นที่กำหนดจนถึงจุล้า ( ไม่สามารถขี่จักรยานต่อไปได้อีก ) และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาว่ามีแรงบีบหรือดึงได้กี่กิโลกรัมเสร็จแล้วแบ่งผู้รับการทดลองออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน โดยเมื่อแบ่งแล้ว ทั้ง 6 กลุ่ม มีความสามารถในการขี่จักรยาน ( ดูจาระยะเวลาที่ขี่จนถึงจุดล้า ) ไม่แตกต่างกัน จากนั้นให้ผู้รับการทดลอง

กลุ่มที่ 1 นอน 8 ชม.

กลุ่มที่ 2-3-4-5 และ กลุ่มที่ 6 ได้นอนเพียงกลุ่มละ 6-5-4-3 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ

การทดลองทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งห่างกัน 1 สัปดาห์ ผู้รับการทดลองตื่นนอนเวลา 6.00 น รับประทานอาหารเช้าให้อิ่มสบาย หลังจากนั้น อีก 2 ชั่วโมง เริ่มทำการทดสอบ (มีรางวัลให้สำหรับผู้ที่สามารถขี่จักรยานได้เป็นเวลานาน )  

ข้อมูลที่ได้ทั้งส่วนที่เป็นความอดทน ( ระยะเวลาที่ขี่จักรยานจนถึงจุดล้าหรือ "จุดบอด" ) และส่วนที่เป็นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาเมื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติแล้ว ผู้วิจัยพบว่าระยะเวลาที่ผู้ทดลองทั้ง 6 กลุ่ม สามารถ ขี่จักรยานได้ไม่มีความแตกต่างกัน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขาในผู้รับการทดลองทั้ง 6 กลุ่ม ก็ไม่แตกต่างกันอีกด้วย

ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการอดนอนในลักษณะดังกล่าวไม่ทำให้ความสามารถในการทำงานของร่างกายลดลง

งานวิจัยชิ้นนี้ค่อนข้างจะ " ทวนกระแส " ความเชื่อทั่วไปอยู่ไม่น้อยเพราะพบว่า การอดนอนจะเป็น 2-3-4-5 หรือ 6 ชม. ในคืนก่อนการทดสอบนั้นไม่ทำให้ความแข็งแรงและความอดทนของร่างกายลดลง แต่การวิจัยที่ได้ผลในทำนองนี้อาจเป็นการเปิดมิติใหม่ของการฝึกและแข่งขันกีฬาก็ได้ เพราะหากเป็นความเชื่อเดิม ๆ เมื่ออดนอนแล้ว นักกีฬาอาจวิตก กังวล คิดว่าตนเองมีจุดบกพร่อง

ข้อเสียเปรียบเพราะนอนไม่พอจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ความคิดดังกล่าวอาจกลายเป็นเครื่องถ่วงรั้งความสำเร็จได้

แต่หากนักกีฬารู้ว่าการอดนอนที่เป็นความจำเป็นและในลักษณะดังกล่าวแล้ว ตามด้วยอาหารเช้า ที่อิ่มสบายจะไม่ทำให้ร่างกายของเขาทำงานแย่ลง เขาก็อาจไม่ต้องวิตกกังวล และลงแข่งกีฬาด้วยร่างกาย และ จิตใจที่สมบูรณ์หรือพร้อมขึ้น

 


(จากนิตยสาร  Running  ธันวาคม 2533 )