<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_bible_newrunners.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> คัมภีร์นักวิ่งยุคใหม่

 

คัมภีร์นักวิ่ง(ยุคใหม่)

  

 

                  เฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว   มีนักวิ่งประมาณ  40 ล้านคน   ในประเทศไทยเอง  กีฬาการวิ่งก็กำลังเฟื่องสุดขีด  ณ จุดนี้จึงควรที่จะพินิจพิเคราะห์ว่าการวิ่งนั้น  ควรจะวิ่งอย่างไร จึงจะได้ประโยขน์สูงสุด      

                 ในอดีตนักวิ่งมักมีความเชื่อว่าการฝึกกีฬานั้นยิ่งโหดเท่าไรยิ่งได้ประโยชน์สูงสุด  ดังนั้นในการฝึกวิ่งจึงต้องวิ่งให้ไกลที่สุด  ยิ่งวิ่งได้ระยะทางไกลเท่าไร  ยิ่งโหดเท่าไร  ทั้งกล้ามเนื้อ  และเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย  ยิ่งได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ  และร่างกาย จะอยู่ในสภาพการ  FINE TUNE   หรือการเตรียมพร้อมที่สมบูรณ์ที่สุด  ดังนั้นการตั้งเป้าหมายการวิ่งในอดีตในระยะ  100-150  ก.ม. ต่อสับดาห์ นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ

                ปัจจุบันความเชื่อเช่นนี้ได้หมดไป   ในการวิ่งแผนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งระดับบรมครูจนถึงนักวิ่งหางแถว ต่างหันมาวิ่งโดยมีปรัชญา เป็น   ที่ตั้งมากกว่าการวิ่งโดยอาศัยพละกำลังความกล้าและความอดทนเป็นเครื่องวัด

                การวิ่งซึ่งอาจจะเรียกว่าการวิ่งในยุคของ  " การวิ่งโดยใช้สมอง "   หรือ  " การวิ่งอย่างมีเหตุผล "  นี้ ผู้ที่อยู่ในแนวหน้าในการริเริ่ม คือ  โจ เฮนเดอร์สัน  (  JOE  HENDERSON )  ผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับการวิ่งแข่งขันมาตลอด  29 ปี  เขาได้สร้างขบวนการ   "  นักวิ่งปรัชญา  "        โดยได้วิวัฒนาการวิ่งขึ้นใหม่  เรียกว่า  " การวิ่งระยะไกลแบบสบาย ๆ " หรือการวิ่งแบบ " กสบ "  ( แปลงมาจากภาษาอังกฤษ ซึ่ง  โจ  เฮนเดอร์สัน  เรียกว่า  LSD    หรือ   LONG SLOW DISTANCE  RUNNING  

                ความจริงแนวความคิดแบบนี้ได้มีมานานแล้ว  สังเกตได้จากหนังสือชื่อ  AREOBICS  ซึ่งเขียนโดย   ดร.เคนเนท  คูเปอร์  ( DR.KENETH  COOPER )   ในปี ค.ศ. 1968  เขาได้เน้นถึงอันตรายจากการวิ่งระยะทางไกล ๆ จนเกินความจำเป็น  คำแนะนำของเขาคือ  ให้วิ่งสับดาห์ละ 10 ถึง 25 ไมล์  เป็นสูงสุด  และให้วิ่งแบบวันเว้นวัน สลับกับกีฬาประเภทอื่น  เช่น ว่ายน้ำ  ฯลฯ 

              ยอร์ช  ชีอาน   ( GEORGE  SHEEHAN )  บรมครู นักวิ่งในยุคปัจจุบัน  ได้สรุปไว้ว่า  " แนวโน้มที่เห็นได้ชัดที่สุดในปัจจุบันคือ  การวิ่งอย่างมีเหตุผล  วิ่งแบบสายกลางคือไม่หักโหมจนเกินไป  หรือหย่อนยานจนเกินไป "

              กล่าวโดยสรุป  นักวิ่งยุคใหม่คือ  นักวิ่งซึ่งวิ่งโดยมี  มัชฌิมาปฏิปทา   เป็นที่ตั้ง  สำหรับนักวิ่งที่วิ่งอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว   ถ้าได้วิ่งเพียงสัปดาห์ละ  15-20  กม.  แบบวันเว้นวัน  เสริมด้วย  ปั่นจักรยาน  หรือว่ายน้ำ  20-30 นาที  อีกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  ถือได้ว่า  ได้ประโยชน์สูงสุดแล้ว  สามารถมีชีวิตที่สุขสบายมีโอกาสได้ถือไม้เท้ายอดทองเป็นผู้เฒ่านักวิ่งให้คนรุ่นหลังได้ฮือฮาแน่นอน

            การฝึกข้ามประเภท(CROSS TRAINING)

            จะช่วยเสริมความสมบูรณ์ของการพัฒนากล้ามเนื้อในส่วนอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้เป็นกล้ามเนื้อหลักที่ใช้ในการวิ่ง  และยังช่วยป้องกันความบาดเจ็บอันอาจเกิดขึ้นจากจุดอ่อนของกล้ามเนื้อบางส่วน  อีกทั้งช่วยให้การวิ่งไม่น่าเบื่อหน่าย  ช่วยให้การวิ่งมีชีวิตชีวาขึ้น

            ฟังเสียงบ่นจากเรือนร่าง  

          นักวิ่งที่ดีจะต้องเปิดหูเปิดตา   คอยสดับตับฟังเสียงบ่น  เสียงประท้วงจากร่างกายของตัวท่านเอง  ว่าเป็นอย่างไร  เริ่มมีอาการระบม  ปวดเมื่อย ชอกช้ำ ในส่วนไหน หรือไม่อย่างไร  แล้วท่านก็จงปรับโปรแกรมการฝึกของท่านให้เหมาะให้ควร

            วิ่งให้สนุก    

           ควรใส่เสน่ห์และความคิดสร้างสรรค์ลงไปในโปรแกรมการวิ่งของท่าน  เพื่อให้การวิ่งสนุกสนานและเพลิดเพลิน  เช่นหาที่วิ่งตามทางรถไฟเก่า ๆ วิ่งเข้าป่าช้า   ขึ้นเขา ลงห้วย  ชายหาด  และในทะเลหรือวิ่งลงบันไดออฟฟิศทำงาน  วิ่งรอบป่าช้า  วิ่งเล่นกับหมา ตีคู่ไปกับสาว  วิ่งไล่หยอกล้อหนุ่มๆ สาวๆ แต่อย่าเผลอไป " วิ่งราว " เข้าล่ะ  จะพลอย อดวิ่งไปอีกนาน

            วิ่งพอดี  วิ่งอย่างฉลาด

          ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญทุกคนลงความเห็นว่า  ผลประโยชน์สูงสุด จากการวิ่งเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้มีสุขอนามัยที่ดีนั้น  ถ้าได้วิ่งเพียง 15-25 กม.  ต่อสัปดาห์  ถือว่าเพียงพอแล้ว   

             แต่ถ้าต้องเตรียมตัวเพื่อลงแข่งขัน  และจำเป็นต้องฝึกในระยะทางที่ไกลขึ้นย่อมทำได้  แต่จะต้องยุติการฝึกแบบโหด ๆ และหันมาฝึกแบบสุขุมรอบคอบพอเหมาะพอควร  ถ้าวิ่งหนักแล้วต้องตามด้วยการวิ่งเบาและการให้เวลาที่เพียงพอ ให้ร่างกายได้พักและปรับสถาพ

              วิ่งเต็มที่  วิ่งอย่างง่าย ๆ 

              ถ้าวิ่งเพื่อสุขภาพ  วิ่งวัน เว้น วัน... เท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว

              วิธีนี้ให้โอกาสกล้ามเนื้อได้ผลิตสารกลัยโตเจน เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการวิ่งครั้งต่อไปได้ทัน  อีกทั้งมีเวลาให้เซลต่าง ๆ ได้พักฟื้นและซ่อมแซม บำรุงตัวเอง

              ถ้าวิ่งเพื่อแข่งขันซึ่งต้องมีการฝึกให้หนักขึ้น  ต้องจัดให้มีวันหนัก  วันเบา  สลับกันไป  หรือหนึ่งวันหนัก สองวันเบา  ได้ยิ่งดี  แต่ที่สำคัญจะต้องไม่โหมวันหนัก ๆ ติดต่อกันโดยตลอด  โดยเด็ดขาด  และถึงแม้ว่ามีโปรแกรมเช่นนี้แล้ว ยังจะต้องเผื่อวันหยุดไว้หนึ่งวันในทุกๆ สิบวันเพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่

              เสริมด้วยกีฬาประเภทอื่น

              สำหรับวันที่ไม่ได้วิ่ง  ควรเสริมด้วยกีฬาประเภทอื่นอย่างเบา ๆ เช่นขี่จักรยาน  กรรเชียง  ยกน้ำหนัก  ว่ายน้ำ  เต้นแอโรบิค  หรืออื่น ๆ 

            ก่อนจบอยากฝาก " คัมภีร์นักวิ่ง ( ยุคใหม่) " ไว้ให้ท่านได้นำไปพินิจพิเคราะห์ดูว่า พอจะเทียบเคียงกับ " คัมภีร์วัดเส้าหลิน มั้ย"

คัมภีร์นักวิ่ง  ( ยุคใหม่ )

    กฏข้อที่ 1    รู้จักวิ่งพอดีๆ วิ่งอย่างฉลาด

   กฏข้อที่ 2    รู้จักวิ่งให้เต็มที่  วิ่งอย่างง่าย ๆ 

   กฏข้อที่ 3   รู้จักเสริมด้วยกีฬาประเภทอื่น

   กฏข้อที่ 4    รู้จักฟังเสียงบ่นจากเรือนร่าง

   กฏข้อที่ 5    รู้จักวิ่งให้สนุก

 

    

หมายเหตุ   :     เรียบเรียงจาก " คัมภีร์นักวิ่ง " โดย  พร  ศรีจันทร์  จากหนังสือคู่แข่ง ฉบับพิเศษ ( กีฬากับนักบริหาร ) 

 

 ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 28มิ.ย.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>  

การออกกำลังในเด็ก

อาหารช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน

Listen  to  your  body