% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_hot_climate.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %>
เมืองไทยเราขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความร้อน ซึ่งเราต้องยอมรับส่วนหนึ่งว่าที่ร้อนเนื่องจากบ้านเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แถมบ้านเรายังมีความชื้นสูง ลมพอมีบ้าง ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งซึ่งก็คงไม่วิ่งระยะสั้นเป็นแน่ มิเช่นนั้นจะไม่เกิดผลต่อร่างกายเพียงพอ ในการจัดการแข่งขันวิ่งที่ไม่ได้มาตราฐานจะมีการตรวจสอบอุณหภูม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อนำมาพิจารณาว่าควรที่จะดำเนินการแข่งขันต่อไปหรือไม่ เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้าแข่งขัน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ อุณหภูมิสูงทำให้ออกกำลังกายได้ไม่มาก เพราะจะเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงความร้อนจากร่างกายจะระเหยออกได้น้อย ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงได้น้อย รังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้ถ่ายเทความร้อนได้ลำบาก และถ้ามีลมน้อยจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในตัวผู้ออกกำลังที่ทำให้มีโอกาสได้รับอันตรายจากความร้อนเพิ่มขึ้นได้ เช่นการไม่สบายมีไข้ อาเจียน หรือท้องเสีย เพราะทำให้ร่างกายเสียน้ำอยู่ก่อนแล้ว ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน ผู้รู้แนะนำว่า ควรให้เวลา 4-8 วัน แต่ในทางปฏิบัติคงนานเกินไป 2-3 วันน่าจะพอ เสื้อผ้าที่สวมใส่หลายชั้นเกินไป สีเข้มจะดูดความร้อน ทำจากใยสังเคราะห์ซึ่งทำให้ความร้อนออกจากร่างกายไม่ดีเท่าผ้าฝ้าย การใช้ความเร็วผิดปกติไปจากที่เคยวิ่ง และข้อสำคัญไม่มีการเตรียมตัว ดื่มน้ำทั้งช่วงก่อนวิ่งและขณะวิ่ง
ขณะที่วิ่งควรสังเกตสภาพของตัวเองไปตลอดเวลาว่ามีอะไรผิดปกติบ้างหรือไม่ หากไม่มีหรือมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว จะช่วยสังเกตอาการของผู้ร่วมวิ่งคนอื่นได้ว่าผิดปกติหรือไม่ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ อาการที่ต้องสังเกตคือรู้สึกเหนื่อยผิดสังเกตกว่าที่เคยเป็น กล้ามเนื้อเริ่มเป็นตะคริว ลองเหยียดยืดแล้วไม่ค่อยดีขึ้นให้เริ่มตระหนักไว้อาการที่รุนแรงมากขึ้น ปวดศีรษะ อ่อนเพลียผิดสังเกต หากเกิดอาการให้หยุดวิ่งไว้ก่อน แล้วเติมน้ำเข้าไปมากๆ จะเป็นน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดาก็ได้ แม้จะมีผู้แนะนำให้ดื่มน้ำเย็นจะดูดซึมได้เร็วกว่า แต่ถ้าไม่มี น้ำธรรมดาก็ได้ครับ อย่ารอให้รู้สึกกระหายน้ำเพราะเป็นอาการหลัง ของการเสียน้ำไปมากแล้ว เหยียดยืดกล้ามเนื้อหากเป็นตะคริว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้หยุดวิ่ง อย่าฝืน
หยุดพักเข้าในที่ร่ม นอนพักถ้าเป็นไปได้ คลายเสื้อผ้าหรือถอดออกถ้าไม่ประเจิดประเจ้อนัก มีลมพัดผ่านช่วยคลายความร้อน หรือหาที่ที่มีพัดลม เพื่อเพิ่มการพาความร้อน วางถุงน้ำแข็งที่ตำแหน่งเส้นเลือดใหญ่ คือแถวโคนขาด้านหน้า รักแร้ และคอ ช่วยเช็ดตัวด้วยน้ำ บีบนวดกล้ามเนื้อเบาๆ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด หากไม่ดีขึ้นต้องไปพบแพทย์หรือส่งโรงพยาบาล
การป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากความร้อน ทำได้ทั้งส่วนของการจัดการแข่งขัน และในตัวผู้วิ่งเองในส่วนของการจัดการแข่งขัน สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงเวลาที่ร้อน ส่วนใหญ่แล้วจึงนิยมจัดแข่งในตอนเช้ามืด เพราะผู้วิ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่นักวิ่งอาชีพจะใช้เวลาวิ่งนานกว่านักวิ่งที่เข้าแข่งขันจริงๆ หลีกเลี่ยงการจัดวิ่งตอนบ่ายเพราะแม้ว่าจะดูเย็นลงบ้างแต่อุณหภูมิบางครั้งยังสูงอยู่ พยายามใช้เส้นทางวิ่งที่มีร่มเงาเพื่อลดอันตราย แต่บางคนอาจไม่ชอบเพราะดูไม่โหด จัดให้มีจุดบริการน้ำทุก 2-3 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับกติกาการแข่งขันด้วย ในจุดเริ่มต้นและเส้นชัยต้องมีน้ำบริกาอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรต้องเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ไว้คอยช่วยเหลือตลอดเส้นทางการวิ่งด้วย
สำหรับตัวผู้วิ่งเองก็ต้องป้องกันตัวเองไว้ด้วย ตั้งแต่คุ้นเคยกับอากาศ ของสถานที่ ที่จะวิ่งพอสมควร สำหรับปัญหาบ้านเราคงไม่มีปัญหามากนัก ยกเว้นในฤดูหนาว ผู้ที่อยู่ในภาคเหนืออาจต้องดูเรื่องอุณหภูมิบ้างหากต้องไปวิ่งในภาคอื่นเพราะอาจอุ่นผิดปกติที่ตัวเองคุ้นเคย สวมเสื้อผ้าที่เบาทั้งน้ำหนักและสี เสื้อผ้าสวมสบายๆ ไม่รัด เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี การใช้ผ้าชุบน้ำวางที่หน้าผากหรือหน้าท้องขณะออกกำลังกายในอากาศร้อน อาจช่วยระบายความร้อนได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เติมน้ำให้เหมาะสมก่อนวิ่งประมาณ 2-3 แก้ว แล้วเติมน้ำประมาณ 1-2 แก้ว ทุกๆ 15-20 นาที ได้น้ำเย็นเปล่าๆ จะดี การดื่มน้ำจะได้ประโยชน์มากกว่าการเอาน้ำราดศีรษะหรือตัวมาก เสียดายน้ำเอามาใช้ดื่มดีกว่าครับ พูดมาถึงตอนนี้ทำให้ผมนึกได้อย่างหนึ่งว่า บรรดาผู้ฝึกสอนทั้งหลายชอบให้นักกีฬาฝึกโดยให้อดน้ำโดยเข้าใจว่าเป็นการฝึกความอดทน ซึ่งก็ต้องเข้าใจต่อไปว่าการฝึกความมีน้ำอดน้ำทนต่อการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันเป็นเรื่องของจิตใจ ต่างจากากรฝึกความอดทนของร่างกาย ( endurance) เพราะไม่เคยมีหลักฐานอะไรมายืนยันว่าอดน้ำตอนแข่งหรือซ้อมจะทำให้เล่นกีฬาได้ดีขึ้น นอกจากเพิ่มความมุมานะให้มากขึ้นเท่านั้น ขณะเดียวกันมีหลักฐานชัดเจนว่า นักกีฬาที่มีน้ำในร่างกายเพียงพอจะมีสมรรถภาพของร่างกายสูงกว่าผู้ที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ ยยิ่งไปกว่านั้นมีผู้แนะนำให้ดื่มน้ำเกินกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับถ้าต้องออกกำลังในอากาศร้อนด้วยซ้ำไป โดยให้เหตุผลว่าจะช่วยให้ร่างกายขาดน้ำช้าลง เหงื่อออกได้ดีขึ้นซึ่งจะช่วยระบายความร้อนออกจากตัว ทำให้อุณหภูมิไม่สูงขึ้นมาก แต่ถ้าวิ่งไปนานเกือบชั่วโมงควรต้องดื่มน้ำเกลือแร่ช่วยด้วย เพราะเกลือแร่ในร่างกายที่สะสมเริ่มลดน้อยลง ( ความจริงแล้วต้องเติมน้ำตาลปริมาณน้อยๆ ลงไปด้วยจะช่วยให้การดูดซึมเกลือแร่ดีขึ้น เครื่องดื่มเกลือแร่ในท้องตลาด มักจะมีส่วนประกอบเหล่านี้อยู่แล้ว มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ยี่ห้อ )
และหมั่นสังเกตตัวเองไว้ด้วยเพื่อที่ว่าหากมีอาการที่ผิดปกติไปกว่าที่ควรจะเป็นจะได้รู้ตัว เตรียมตัวป้องกันล่วงหน้า สำหรับผู้ที่ต้องออกกำลังกายบนวีลแชร์ ( ผมใช้คำว่าออกกำลังกายแทนคำว่าวิ่ง เพราะผู้เสียโอกาสนี้ วิ่งไม่ได้ และใช้คำว่าวีลแชร์แทนรถเข็น เพราะดูตรงกับความจริงมากกว่าเคลื่อนที่ไปด้วยตัวเองไม่ต้องอาศัยผู้อื่นมาเข็น และคำว่ารถเข็นฟังดูเหมือนใช้กับผู้ที่พิการมากๆ ต้องอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา แต่ผู้ที่ออกกำลังได้นี้ยังช่วยตัวเองได้ดี ) ควรต้องคำนึงถึงเรื่องระบายความร้อนด้วยเพราะจะมีเนื้อที่ระบายความร้อนทั้งในรูปของเหงื่อและการระเหยลดน้อยลง
การวิ่งออกกำลังกายในสภาวะอากาศร้อนเป็นสิ่งที่ควรระวังและหนักไว้ตลอดเวลาเพราะเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการออกกำลังในบ้านเรา หากมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี คงเกิดอันตรายขึ้นได้น้อย และทำให้ออกกำลังอย่างมีความสุขขึ้น
( จากนิตยสาร Running โดย...นพ.เรืองศักดิ์ ศิริผล )
ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>
Bang Fai Phaya(บั้งไฟพญานาค)
ออกกำลังกายเป็นประจำ(ทำไมยัง heart attack )