<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_why_run_bypisit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> วิ่งทำไมตอนที่2

 

วิ่งทำไม   (ตอน 2)   

 โดย...พิสิษฐ์ จิรภิญโญ

 

           มีผู้ให้ข้อสังเกตอยู่เสมอว่า การวิ่งเพื่อการกุศลที่จัดกันอยู่แทบทุกสัปดาห์นั้นเป็นภาพที่ น่าทึ่ง  ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง 10 กิโลเมตร 21 กิโลเมตร หรือวิ่งมาราธอน 42 กิโลเมตร ผู้คน นับจำนวนได้เป็นพัน และบางรายการเป็นหมื่นคน เขาไปชุมนุมกันที่จุดปล่อยตัวนักวิ่ง ตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ วิ่งมาราธอน เขานิยมปล่อยตัวนักวิ่งเวลา ตี 3 บ้าง ตี 4 บ้าง นักวิ่งบางคนอยู่ต่างจังหวัดก็หาวิธี ตะเกียกตะกายมาให้ทันเวลาที่กำหนดให้ปล่อย ตัว ที่มานอน ณ สนามวิ่งก็มีไม่น้อย นอกจากจะอดหลับอดนอนแล้วยังหิวข้าว กระหายน้ำ  เช้าวันอาทิตย์อากาศกำลังสบาย ไม่ต้องรีบ เหมือนวันทำงาน แต่คนพวกนี้ ก็อุตส่าห์มารวมตัวกันเพื่อออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ เขาวิ่งกันทำไม

 นักชีววิทยาเขาบอกว่า การวิ่งคือการแสดงว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นคำตอบที่คลุมเคลือ เพราะสิ่งมีชีวิตไม่จำเป็นต้อง วิ่งเสมอไป แค่ขยับเขยื้อนไปเพียงเล็กน้อยเราก็มีชีวิตอยู่ได้แล้ว สัตว์บางประเภทจำต้องวิ่ง มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อ ของสัตว์นักล่า ในทางกลับกันสัตว์ที่เป็นนักล่าก็จำต้องวิ่ง มิฉะนั้นจะไล่กวดเหยื่อไม่ทันถึงขั้นอดตายได้ แต่สัตว์ส่วน ใหญ่นั้นไม่จำเป็นต้องวิ่งเนื่องจากไม่ใช่นักล่าและเป็นเหยื่อถูกล่า

 นักวิ่งในโลกนี้มีความคิดความอ่านคล้ายกันและเชื่อได้ว่า ทุกคนจะต้องตอบอย่างเดียวกันเมื่อถูกถามว่า วิ่งทำไม

ก่อนที่จะไปค้นหาคำตอบกันเรามาจำแนกนักวิ่งออกมาเป็นสองประเภทเสียก่อนจะดีกว่า เพราะนักวิ่งสองประเภทนี้ มีร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกัน แม้ว่าในบั้นปลายจะให้คำตอบที่ตรงกันก็ตาม

 นักวิ่งสองประเภทที่ว่านี้แบ่งแยกตามระยะทางคือประเภทวิ่งเส้นทางสั้นและเส้นทางยาว อย่างเช่นการวิ่ง 100 เมตร เมื่อเปรียบเทียบกับการวิ่ง 42 กิโลเมตรแล้ว องค์ประกอบของนักวิ่งจะแตกต่างกัน นักวิ่งระยะทางสั้นๆกับนักวิ่ง ระยะทางยาวนั้นจึงเป็นสัตว์คนละประเภทกันโดนสิ้นเชิง แม้ว่าคุณสมบัติในด้านสรีระจะเหมือนกันเช่นต้องมี ร่างกายที่แข็งแรง มีความเร็ว และมีความอดทน แต่การแสดงความสามารถของคุณสมบัติเหล่านี้แตกต่างกัน นักวิ่งร้อยเมตรต้องมีการบิดกล้ามเนื้อโดยฉับพลันด้วยการจุดระเบิดการเผาพลังงานที่ได้มาจากคาร์โบไฮเดรดในเสี้ยว วินาที แต่การฝึกซ้อมเขาต้องใช้เวลาเป็นปี สถิติโอลิมปิค ถูกทำลายจนน่าตกใจ นักวิ่งเหรียญทอง วิ่งหนึ่งร้อยเมตร ในเวลาเพียง 9 วินาที

 ส่วนนักวิ่งระยะทางยาว มีคุณสมบัติพิเศษคือ ตัวเบาเวลาวิ่งจะพริ้วไปในอากาศ มีกระดูกเล็กแต่ยาว มีกล้ามเนื้อแขน และขาที่เล็กแต่แข็งแกร่งเช่นกล้ามเนื้อของปีกนก เคล็ดลับของนักวิ่งระยะทางยาวคือ การส่งลำเลียงออกซิเจนที่ไม่ ขาดตอนในขณะที่กล้ามเนื้อกำลังเผาผลาญไขมันเพื่อให้เกิดพลัง ระบบกลไกในร่างกายต้องทำงามเป็นทีม มีหัวใจที่มี ขนาดใหญ่ สามารถรองรับการเต้นของหัวใจที่ถี่ และสามารถลดความถี่ของการเต้นของหัวใจได้เมื่อเราวิ่งช้าลง เส้นเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจมีขนาดใหญ่ที่มีเส้นเลือดฝอยที่แข็งแรง มีปอดใหญ่ มีแหล่งสะสมพลังงานที่ใหญ่ ในกล้ามเนื้อทุกส่วน ในเซลล์ทุกเซลล์มีหน่วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี เปลี่ยนไขมันที่ผสมกับออกซิเจน ออกมาเป็นพลังเพื่อขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อ ส่วนนักวิ่งระยะทางสั้นนั้นไม่ต้องการการลำเลียงออกซิเจนที่ต่อเนื่องเช่นนี้ เนื่องจากต้องการการจุดระเบิดที่รุนแรงในช่วงเวลาอันสั้น

 เปรียบร่างกายคนเราเป็นเครื่องยนต์ ขณะที่เราวิ่งก็เหมือนเครื่องยนต์นั้นทำงานได้ตามปรกติ ทุกชิ้นส่วนของร่างกาย ทำงานอย่างมีความสัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นเคล็ดลับของการวิ่งระยะทางยาวนั้นไม่ได้อยู่ที่การทำนุบำรุงชิ้นส่วนใด โดยเฉพาะเจาะจง แต่อยู่ที่ความมุ่งมั่นและความอุตสาหะมากกว่า “ผมไม่ต้องไปยกน้ำหนักเพื่อให้มีกล้ามเนื้อที่แกร่ง มาช่วยในการวิ่งมาราธอน ผมไม่ต้องกินวิตามินเสริม เพื่อเพิ่มพลัง แต่ผมวิ่งทุกวัน และวิ่งมากขึ้นเมื่อใกล้วันแข่ง” เป็นความเห็นของ เบน ไฮน์ดริช แชมป์อัลตรามาราธอน 100 กิโลเมตรที่เมืองชิคาโก

 จากการศึกษาแมลง นกและสัตว์ที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็ว เราได้เรียนรู้ความลับของสรีระของคนเมื่อเปรียบเทียบกับ สัตว์ชนิดค่างๆ แมลงไม่มีสมอง แต่มีเส้นประสาทที่มีขนาดต่างๆตามชนิดของมัน มันไม่มีปอด ไม่มีตับ ไม่มีกระดูก ไม่มีไต แมลงไม่มีเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ไม่มีเลือดที่จะส่งลำเลียงออกซิเจนแต่มีท่อรอบตัวที่จะดูดซับออกซิเจน จากภานนอกตรงเข้าไปในเซลล์ เมื่อเทียบกับคน แมลงสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วมาก

 จุดเด่นของแมลงในด้านการเคลื่อนไหวคือความอดทนในการบิน ตัวอย่างเช่น แมลงที่มีชื่อเรียก “ฮอก มอธ” เป็น แมลง ที่บินไม่รู้จักหยุดสามารถกระพือปีกบินอยู่ได้นาน โดยบินไปดูดน้ำหวานจากดอกไม้ดอกหนึ่ง ไปยัง อีกดอกหนึ่งได้โดยไม่ต้องเกาะดอกไม้หรือกิ่งไม้เลย ฮอก มอธ ก็เหมือนคนเราคือต้องการความร้อนในร่างกาย ช่วยให้ เผาผลาญเชื้อเพลิงที่กล้ามเนื้อที่ลำตัว ขณะที่กระพือปีกอยู่ได้ เมื่ออุณหภูมิภายในร่างกายเท่ากับอากาศภายนอก แมลงฮอก มอธ ก็ไม่สามารถจะกระพือปีกประคองตัวในอากาศได้อีกต่อไป วิธีแก้ไขคือมันจะเพิ่มความเร็วในการ กระพือปีก

 เวลาเราวิ่ง กระบวนการผลิตความร้อนในตัวเราจะทำงาน ความร้อนที่ผลิตออกมาเนื่องจากการวิ่งจะไป เพิ่มความร้อน ให้กับร่างกายของเรา เรารู้ว่าเราไม่มีอำนาจสั่งปิดการผลิตความร้อนอันเกิดจากการออกกำลังได้ ออกกำลังทีไรตัวเรา จะร้อนขึ้นมาทันที ความมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นโดยร่างกายของเราขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อนส่วนเกิน ถ้าเรายังอยากจะวิ่งต่อไป ร่างกายก็ตอบสนองด้วยการเพิ่มความร้อนเพื่อให้กล้ามเนื้อเผาผลาญไขมัน ความร้อนส่วน เกินก็ถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ จนกว่าปริมาณน้ำในร่างกายจะหมด แต่เจ้าแมลงฮอกมอธ ไม่มีเหงื่อ มันใช้วิธีระบาย ความร้อนด้วยท่อลมใต้ท้องของมัน จากการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า แมลงฮอกมอธใช้ท่อลมใต้ท้องในการลดความร้อน ส่วนเกิน ได้มีการผูกท่อลมใต้ท้องมันไว้ ผลลัพธ์คือ ในยามปรกติมันจะรักษาอุณหภูมิในตัวได้ที่ 30  องศา ขณะที่บิน ด้วย การระบายความร้อนอย่างต่อเนื่อง แต่พอท่ออากาศอุดตัน อุณหภูมิในตัวมันก็ขึ้นสูงถึง 44 องศา แล้วมันก็ร่วงลงสู่ พื้น เหมือนนักวิ่งมาราธอนหมดแรงไม่ สามารถ วิ่งต่อไปได้เมื่อความร้อนในตัว เพิ่มสูงขึ้นแต่น้ำระบายความร้อน ในร่างกายหมดเกลี้ยง หลังจากถูกขับออกมา เป็นเหงื่อจนหมด

 จากการทดลองพบว่านักวิ่งระยะทางไกล มีความสามารถพิเศษในการปรับจังหวะการหายใจของตนและจัดทำอย่างมี ระบบ เช่นเราจะหายใจครบหนึ่งวงจรในทุกๆ 3 ก้าว โดยหายใจเข้า พร้อมกับการวิ่งไป 2 ก้าว แล้วหายใจออก ในก้าว ที่ 3 ไม่สำคัญว่าจะก้าวสั้นๆหรือก้าวยาวๆ เราจะรักษาจังหวะการหายใจอย่างนี้เสมอ แต่ถ้าเราวิ่งเหยาะๆ จังหวะ หายใจเข้าจะทำให้ก้าวไปได้ 3 ก้าว เราจะหายใจออกในก้าวที่ แต่ถ้าเราวิ่งขึ้นเขาหรือวิ่งขึ้นสะพานสูงๆ เราจะหายใจเข้าในการก้าวไปเพียง 1 ก้าว และหายใจออก 1 ก้าว สรุปแล้วเวลาหายใจเข้าเราจะก้าวไปได้ระยะทาง มากกว่าขณะหายใจออก ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังในตัวเราเพื่อให้วิ่งได้ไกลขึ้น โดยไม่เสีย พลังงานมาก และการอนุรักษ์พลังงานจะได้จากการฝึกซ้อมและประสบการณ์ ไม่ได้มาจากการกินยาโดปหรือกิน อาหารพิเศษ นักวิ่งที่วิ่งมาเป็นแรมปีจะจัดการอนุรักษ์พลังงานได้เอง อย่างน้อย 5% เมื่อเด็กอายุ 12 ปีวิ่งไล่กวด ผู้ใหญ่วัย 20 ปี ในความเร็วที่เท่ากัน เด็ก 12 ปีจะใช้พลังงานในตัวมากกว่า ผู้ใหญ่คนนั้นถึง 40% (หมายความว่า เด็กจะเหนื่อยเร็วและหมดแรงก่อนถ้าสมมุติว่ามีแรงเท่ากับผู้ใหญ่คนนั้น) เนื่องมาจากประสบการณ์ช่วยผู้ใหญ่ให้ รู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดเมื่อเทียบกับเด็ก

 ยังมีการประหยัดพลังงานอีกหลายวิธี นักวิ่งสามารถทดลองกับตัวเองได้ “เวลาผมวิ่ง ผมจะวิ่งอ้าปาก” ข้อดีของมันคือ เราช่วยร่างกายของเราไม่ต้องขับลมหายใจออกมาแต่รูจมูกเท่านั้น ใช้ปากช่วยขับลมหายใจออก ซึ่งเท่ากับการลด การใช้พลังงานด้วย นักวิ่งบางคน หายใจออกแรงๆในทุกก้าวที่ 3 จะมีส่วนทำให้ปอดกักเก็บออกซิเจนไว้ได้นานขึ้น

 การตัดสินใจ ลงวิ่งมาราธอน ทำได้ในเสี้ยววินาที แต่การลงวิ่งจริงต้องใช้เวลาเตรียมตัวเตรียมใจอีกนาน บางคนใช้ เวลาเตรียมตัวนานถึง 3 เดือน นักวิ่งมาราธอนที่แท้จริงจะเตรียมตังเป็นปี ด้วยการวิ่งเป็นประจำและทำตัวเหมือนจะลง วิ่งมาราธอนทุกเดือน

 หันมาดูนกบ้าง นกมีสภาพร่างกายคล้ายคนเรา โครงสร้างของร่างกายก็คล้ายกัน มีปอด เลือด หัวใจ เส้นเลือด ตับ ไต และสมอง แขนขาก็มีโครงสร้างใกล้กัน รวมทั้งฮอร์โมนและสารเคมีในร่างกายก็คล้ายกัน ระบบขับถ่ายก็เป็นระบบ เดียวกัน แต่ต่างกันที่ความอึด ความอดทน มนุษย์สู้นกไม่ได้เลย มันชนะคนด้านความเร็วและความอดทน ถ้าเราเรียน รู้จากแมลงได้ เราจะเรียนรู้จากนกได้มากกว่า ในการเตรียมตัวเพื่อระยะทางไกล จากนกซึ่งมีเลือดและเนื้อหนัง เหมือนเรา

 ก่อนฤดูหนาวจะย่างกราย ฝูงนกนับล้านตัวจะพากันหนีหนาวบินลงไปทางใต้ ระยะทางนับหลายพันกิโลเมตร ข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อการอยู่รอดของเหล่านกทั้งปวง ซึ่งต้องมีร่างกายที่แข็งแรง จิตใจที่มุ่งมั่น และรู้ด้วยว่า กำลังจะมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายทาง ณ ที่ใด เมื่อเปรียบเทียบกับการวิ่ง มาราธอนระยะทาง 42 กิโลเมตร เศษๆ มีเจ้าหน้าที่ เตรียมเส้นทางไว้ให้พร้อม มีตำรวจดูแลความปลอดภัยให้วิ่งบนถนน มีน้ำดื่มให้ตลอดเส้นทาง การวิ่งมาราธอนกลาย เป็น เรื่องขี้ผงไปในทันที

 ฝูงนกจำนวนมหาศาลทั่วโลกมีความคิดอย่างเดียวกัน การหนีความหนาวเป็นสิ่งที่ทำกันมาหลายชั่วอายุนก ในอเมริกา ฝูงนกชนิดต่างๆจากภาคตะวันออกนับจากรัฐแมสสาชูเซ็ตจรดรัฐอะลาสกาทางแถบตะวันตก อย่างเช่นนก  แบล็คโพล จะบินลงสู่ทิศใต้เป็น ระยะทาง หลายพันกิโลเมตร จากมลรัฐแมสสาชูเซ็ต นกทุกตัวจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยที่ตัวละ 10 กรัม จะกินอาหารที่มี ในช่วงเวลานั้น เช่นเบอรี่ต่างๆ แมลงอีกมากมายที่อุดมสมบูรณ์ ฝูงนกเตรียมตัวเดินทางไกล อย่างเต็มที่ด้วยการกิน และภายใน 10 วัน นกทุกตัวเพิ่มน้ำหนักตัวเป็นสองเท่าคือหนักถึงตัวละ 20 กรัมก่อนบิน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ล้วนแต่เป็นไขมันที่ต้องตุนเอาไว้ใช้ เส้นทางได้กำหนดไว้แล้ว ว่าจะไปให้ถึงประเทศเวเนซูเอลา ในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งอยู่ห่างไปเกือบ 4000 กิโลเมตร ส่วนฝูงนก แซนด์ไปเปอร์ซึ่งตัวใหญ่กว่าจะยังบินต่อไป ยังตอน ใต้ของทวีปอเมริกาใต้รวมระยะทางทั้งหมด 15000 กิโลเมตร แต่ก็เลือกที่จะหยุดที่ชายฝั่งทะเลของประเทศเวเนซูเอลา เพื่อเติมเชื้อเพลิงเหมือนกัน  เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณปล่อย ตัวจากจุดสตาร์ท (พูดยังกะเป็นการปล่อยตัวนักวิ่ง มาราธอน) ฝูงนกจะบินขึ้นไปในท้องฟ้าอย่างมีระเบียบ จัดเป็นหมวดหมู่ ฝูงละ 500 ตัวบ้าง 1000 ตัวบ้าง แล้วแต่ถนัด มันบินให้สูงเพียงพอที่จะไปปะทะกับลมบนที่เป็นลมหนาวที่พัดแรง ฝูงนกจึงออกแรงพยุงตัวเท่านั้น ปล่อยให้ลม ช่วยพัด ลมหนาวจากมหาสมุทรแอ็ตแลนติคกรรโชกมาเป็นครั้งคราว ฝูงนกบินด้วยความเร็ว 40 กม/ชั่วโมง (ถ้าเป็นเส้นทาง มาราธอน ฝูงนกเหล่านี้จะบินถึงเส้นชัยในเวลาเพียง ชั่วโมงเดียว) มันจะใช้เวลาบิน 3 วัน 3 คืนโดยไม่มีหยุด ไม่แวะเข้า ปั๊มน้ำมันไปทำธุระ ไม่แวะจุดให้น้ำ ไม่เถลไถลให้พยาบาลสาวช่วยนวด ท่อนขาหรือ นวดปีก ในวันที่สองฝูงนกจะเจอ ลมบนที่นิ่ง (เหมือนเราวิ่งขึ้นสะพาน) จึงจะต้องใช้พลังมากกว่าในวันแรกที่มี ลมทะเลช่วย พอเข้าสู่วันที่สาม ฝูงนกก็หน้า ชื่นโดยถ้วนหน้าเมื่อมีลมมาช่วยพยุงฝูงบินจำนวนมหึมานี้ เมื่อมาถึงวันที่ สาม นกทุกตัวน้ำหนักตัวลดต่ำกว่าทุนแล้ว คือหนักไม่ถึงตัวละ 10 กรัม พลังงานที่สะสมไว้ใกล้จะร่อยหรอลงไปทุกที แต่ฝูงนกก็แวะที่ชายฝั่งทะเล นกที่จะปักหลักอยู่ที่นี่ก็เริ่มต้นชีวิตใหม่กันอย่างรื่นเริง ส่วนนกแซนด์ไปเปอร์หลังจาก หยุดพักกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวเป็นที่ เรียบร้อยแล้วก็บินต่อไปให้ครบระยะทาง 15000 กม.

 อย่างไรก็ตามน้ำหนักตัวที่หนักขึ้นจะเป็นปัญหาในการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกน็อตจากขั้วโลกเหนือ มันจะบินหนี หนาวเป็นระยะทางมากกว่า 15000 กิโลเมตร โดยที่ก่อนจะบินน้ำหนักตัว มีเพียง 120 กรัม ฝูงนกน็อตจะกินอาหาร อัดแน่นเป็นการ ตุนพลังจนน้ำหนักเพิ่มกว่าสองเท่าคือ 250 กรัม พลังที่สะสมไว้นี้นกน็อตจะนำไปใช้บินได้ถึง 10000 กม. ตามการ คำนวณ ด้วยความเร็วที่ 70 กม. ต่อชั่วโมง และใช้บินได้นานถึง 100 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 วัน 5 คืน ติดต่อกันโดย ไม่ต้องพัก แต่นกน็อตมักจะบินเพียง 4 วัน 4 คืนแล้วหยุดหาอาหารระหว่างทางเป็นเวลา 7 วัน จนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อีกแล้วค่อยบินต่อ การบินระยะทางยาวๆเช่นนี้ต้องมีแหล่งพลังงานที่เพียงพอ นกน็อตบินสูงจาก พื้นดิน 5000 เมตร ราวครึ่งหนึ่งของความสูงของเครื่องบินไอพ่น ข้อดีของการบินสูงคือเป็นชั้นบรรยากาศที่เบาบาง และไม่มีแอโร ไดนามิคมารบกวนทำให้บินได้ในความเร็วที่สูงมาก แต่ข้อเสียก็คือในที่สูงๆอย่างนั้น ออกซิเจนมีน้อย ทำให้บินเร็ว ได้ยากเนื่องจากความเร็วต้องการพลังขับเคลื่อน และพลังขับเคลื่อนต้องการออกซิเจน แต่ธรรมชาติก็ เข้ามาช่วยลด ปัญหานี้ด้วยการปรับระบบย่อยอาหารและกระบวนการหายใจของนกได้อย่างดีเยี่ยม เป็นที่น่าอัศจรรย์ ใจที่สัตว์เช่นนก สามารถพัฒนาจากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่มีวิวัฒนาการจากการกิน ใบไม้ใบหญ้า และเนื้อ สัตว์ มาเป็นสัตว์ปีกตัวเล็กๆเช่นนกที่กินเพียงเมล็ดพืช และแมลง ตัวน้อยๆแต่ยังคงความ แข็งแกร่ง ในการเดินทางไกล ระยะทางเป็นหมื่นกิโลเมตรได้
 

คนเราต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ ศึกษาการวิ่งของสัตวืตัวเล็กๆเช่นแมลง แล้วก็มาถึงนก เราจะเอาความรู้เหล่านี้มาเทียบ กับการวิ่งของคน บางทีอาจจะหาคำตอบที่เราอยากรู้เกี่ยวกับการวิ่งมาราธอนให้มีประสิทธิภาพได้  (ยังมีต่อ)

 

 (หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นนักวิ่งมาหลายสิบปีและพยายามค้นหาคำตอบว่า ทำไมจึงมาวิ่ง และมีโอกาสอ่าน หนังสือของนักเขียนมากมายหลายเล่มเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอน (ได้ทำรายชื่อหนังสือที่ใช้อ้างอิงไว้ ตอนท้ายของตอนจบของบทความนี้) จึงรวบรวมมาเรียบเรียงให้เพื่อน นักวิ่งได้อ่าน โดยหวังว่าจะเป็น ประโยชน์กับเพื่อนนักวิ่งที่กำลังฝึกซ้อมร่างกายเพื่อเตรียมจะลงแข่ง กรุงเทพฯมาราธอน 2002 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2545 นี้)

 

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.45<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>