<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_why_run4.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> วิ่งทำไม ตอนที่4

 

 

 วิ่งทำไม ตอนที่4 (ตอนจบ)

โดย...คุณพิสิษฐ์ จิรภิญโญ

 

การศึกษาชีววิทยาและพฤติกรรมของสัตว์ชนิดต่างๆ แม้ว่าคนจะเลียนแบบสัตว์เหล่านั้นไม่ได้ แต่ก็ทำให้เราเข้าใจ ขีดจำกัดของการเป็นนักวิ่ง ใช่ว่านักวิ่งมาราธอนทุกคนจะทำเวลา 2 ชั่งโมงครึ่งได้ง่ายๆ บางคนแค่วิ่งให้ครบ 42 กิโลเมตร ก็พอใจแล้ว จะเป็น 4 ชั่วโมง 5 ชั่วโมงก็ไม่ว่า ถึงเราจะวิ่งไม่เร็วเท่ากวาง อดทนไม่เก่งเหมือนนก ร่างกายไม่มีความ สามารถพิเศษในการใช้แหล่งน้ำที่มีจำกัดเช่นอูฐ แต่ที่ต้องมีแน่ๆก็คือการฝึกฝนให้ร่างกายมี ความพร้อมและ สร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ให้เหมาะสม กับการวิ่ง ระยะทางไกล

 

นักวิ่งต้องใช้ขาทั้งสองอย่างหนักตลอดเส้นทางวิ่ง  การวิ่งของสัตว์ประเภทต่างๆได้มีวิวัฒนาการจากยุคไดโนเสาร์ จนเกิดคำถามว่าถ้าสัตว์มีจำนวนขามากๆจะได้เปรียบในการวิ่งหรือไม่ เชื่อกันว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากสัตว์น้ำ ที่มีครีบแล้วคืบคลานขึ้นบกมีแขนขางอกออกมา สัตว์เลื้อนคลานมีขาเป็นร้อยแต่ก็คืบคลานได้ช้า ตะขาบมี 50 ขาก็เคลื่อนที่ได้ช้า มิหนำซ้ำเวลาจะหนีภัย มันจะยกขาบางlส่วนให้สูงจากพื้นเพื่อมิให้ถ่วงขาอื่นที่ต้องใช้ในการหนี และยังยกขา บางขาโบกไปมาเพื่อให้สัตว์นักล่างุนงงกับพฤติกรรมการหนีของมัน การมีขามากกลายเป็นภาระและ อุปสรรคต่อการวิ่ง แมงมุมมีแปดขากลับวิ่งได้เร็วกว่าตะขาบ แต่ที่น่าสนใจมากคือท่าวิ่งของแมลงสาบ มันสามารถ วิ่งได้เร็วมากด้วย 6 ขาของมัน เวลาแมลงสาบวิ่งมันจะยกขาหนึ่งและขาสามของข้างขวาพร้อมกับขาสองของข้างซ้าย ส่วนขาหนึ่งและขาสามของข้างซ้าย พร้อมทั้งขาสองของข้างขวาจะแตะพื้น เป็นท่าวิ่งที่ทำความเร็วได้อย่างสมดุลย์ เราเรียกท่าสมดุลย์ของแมลงสาบว่า ท่าไตรพอด (ขาตั้งสามขา) ไม่ว่าแมลงสาบจะวิ่งหรือเดิน มันจะใช้ท่าเดินสามขาที่ ทรงตัวได้ดีเยี่ยมเช่นนี้เสมอ มีข้อยกเว้นในช่วงจวนตัว แมลงสาบจะวิ่งเร็วมากเมื่อหนีภัยโดยใช้เพียงสองขาเท่านั้น จากนั้นใช้ปีกช่วยพยุงตัวและบินหนีขึ้นที่สูงได้ นกกระจอกเทศวิ่งได้เร็วมากด้วยขาเพียงสองขาเท่านั้น นกกระจอก เทศ วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง ความเร็วของนกกระจอกเทศวัดได้ 70 กม. ต่อ ชั่วโมง และได้ระยะทางไกล มากเสียด้วย จากวิวัฒนาการของสัตว์หลายขามาเป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากเพียงสองขา ความเร็วเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ การอยู่รอด สัตว์สองขาอาจจะวิ่งโดยการก้าวขาทีละข้างอย่างคน หรือใช้วิธีกระโดดไกลแบบแกงการู หรือนกตัวเล็กๆ  การสูญเสียพลังงานจากการก้าววิ่งได้ วิวัฒนาการให้แผ่นเท้า บริเวณส้นเท้าจะยืดออกเพื่อรองรับแรงกระแทกพื้น ทำให้สามารถลดแรงกระแทกได้ 40% เพื่อใช้เป็นสปริงในการ ก้าวต่อไป แรงสปริงนี้ จะลดน้อยลงตามอายุของนักวิ่ง รองเท้าที่ช่วยรับแรงกระแทกแล้วแปลง ให้เป็นสปริงดีดขึ้นไปเมื่อกระทบพื้นดินที่แข็งเช่นพื้นถนนคอนกรีต นักวิ่งชาวอัฟริกัน อะเบเบ้  วิ่งเท้าเปล่า 42 กม. ได้เป็นแชมป์ มาราธอนโอลิมปิค ปี 1960 ทำลายสถิติโลกด้วยความเร็ว 2:15:16 แต่เขาทำลายสถิติของตนเองเป็น 2 ชม. 11 นาที ในโอลิมปิค ปี 1964 ที่โตเกียวด้วยการสวมรองเท้าวิ่ง ทุกวันนี้สถิติโอลิมปิคอยู่ที่ 2:10 ชั่วโมง

 

บน ไฮน์ดริชแชมป์มาราธอนที่ชิคาโกพูดถึงความเร็วของสัตว์สี่เท้าและคนที่มีเพียงสองขาว่า ยังพิสูจน์ให้แน่ชัดลงไป ไม่ได้ว่าจำนวนขาที่น้อยกว่าจะเสียเปรียบในเรื่องความเร็ว เมื่อสมัยที่เขาเรียนหนังสืออยู่ เบนเคยเป็นนักวิ่งลมกรด วิ่ง 100 เมตรภายใน 10 วินาทีได้ ครั้งหนึ่งขณะที่เขาวิ่งจ๊อกกิ้งไปในทุ่งกว้างนอกเมืองบอสตัน เห็นงูห้อยอยู่บนกิ่งไม้ ความคะนองทำให้เบนวิ่งก้าวกระโดดไกลไปตบกิ่งไม้นั้นหักกระเด็นไป งูตกจากกิ่งไม้นั้น แต่แทนที่จะเลื้อยหนี     มันกลับตรงรี่เข้าหาเบน นักวิ่งลมกรดเผ่นแนบ แต่เบนต้องแปลกใจที่ทุกครั้งที่เหลียวหลังมาดูก็เห็นเจ้างู ตัวนั้นเลื้อย ตามมา อย่างกระชั้นชิด แทบว่าจะฉกส้นเท้าของเขาตลอดเส้นทางหนี แม้จะไม่มีขาแต่งูก็ สามารถเลื้อยด้วยเร็วสูงได้ เบนวิ่งหนีงูเป็นระยะทางไกลทีเดียว งูคงจะโกรธแค้นเบน ที่ทำร้ายมันจนตกต้นไม้ จึงสวมวิญญาณนักล่าเข้าหาเบน เมื่อเขาได้เหรียญทองจากการวิ่งแข่ง 100 เมตรในปีนั้น เพื่อนๆเตือน ให้เบนไปขอบคุณ งูตัวนั้นที่ทำให้เขา ได้ฝึก สปริ๊นท์หนีจากงูจนประสบความสำเร็จ

 

ความเร็วจะเกิดขึ้นได้จากการลดแรงกระแทกที่เท้ากระทบพื้น ยิ่งมีนิ้วเท้าน้อยยิ่งวิ่งได้เร็ว ม้าวิ่งเร็วด้วยนิ้วเท้าที่เป็นหัว แม่เท้าคือกีบของทั้งสี่เท้า นกกระจอกเทศก็วิ่งด้วยหัวแม่เท้าของเท้าทั้งสอง โดยใช้นิ้วก้อยเล็กๆช่วยค้ำยัน กวางวิ่งด้วย หัวแม่เท้าเช่นกัน นิ้วคนพัฒนามาจากลิง นิ้วมือทั้งห้าของขาหน้าใช้ประโยชน์ในการจับหยิบอาหาร แต่ลิงใช้นิ้วเท้า ในการปีนป่ายต้นไม้ ในขณะที่ คนเลิกปีนต้นไม้จึงทำให้นิ้วเท้าไม่ได้ใช้เป็นประโยชน์ เท่าไรนักนอกจากใช้เพื่อ ทรงตัว ยกเว้นหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง ส่วนอื่นของเท้ามีโอกาส สัมผัสพื้นน้อยลงเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น นักวิ่งจะใช้หัวแม่ เท้า มากในการแตะพื้นเพื่อดีดตัวเองไปข้างหน้าโดยแทบจะไม่ได้ใช้ ประโยชน์ จาก นิ้วเท้าอื่นเลย

 

มนุษย์ยุคแรกไม่ได้เป็นนักวิ่งที่มีความเร็ว แต่ต้องหนีภัยเมื่อเผชิญนักล่าอย่างเสือสิงห์ การวิ่งสองขาไม่ได้เป็น ข้อเสียเปรียบนักล่าสี่ขา การที่มีมือที่ใช้ปีนป่ายต้นไม้ได้ หรือหยิบฉวยอาวุธใช้ขว้างปานักล่าได้ทำให้หนีภัยได้ การวิ่งหนีบนพื้นราบจะเสียเปรียบสัตว์นักล่าอย่างเสือและสิงห์ เมื่อความจำเป็นบังคับมนุษย์ในยุคนั้นต้องฝึกวิ่ง หนีเอาตัวรอด การที่มนุษย์ยืนสองขาได้ทำให้มองเห็นได้ไกล จากฟอสซิลที่พบในเอธิโอเปียที่มีอายุกว่า 4 ล้านปี ได้ยืนยันทฤษฎีที่ว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากลิงซึ่งมีมันสมองและลุกขึ้นยืนได้เมื่อ 5 ถึง 8 ล้านปีก่อน กล่าวกันว่า การยืนของคนในยุคแรกเกิดจากการหลบความร้อนของแสงแดดที่ส่องลงบนลำตัวเมื่อคลานสี่เท้าเหมือนสัตว์อื่นๆ นอกจากนั้นการลุกขึ้นยืนยังทำให้ได้รับลมที่พัดมากระทบร่าง ช่วยลดความร้อนที่เกิดจากการเคลื่อนไหว แต่มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือการยืนทำให้ส่วนสมองได้รับแสงแดดซึ่งทำให้สมอง ทนความร้อน จัดไม่ได้ ธรรมชาติก็เข้ามาแก้ไขปัญหาให้ด้วยวิวัฒนาการให้เกิดเส้นประสาทเชื่อมต่อจากสมอง เป็นการกระจาย ความร้อนไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย และแถมยังมีเส้นผมหนาช่วยบังแดดได้เป็นอย่างดี

 

มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดอันเป็นปัจจัยสำคัญในการวิ่งเร็วและวิ่งทน เพื่อลดความร้อนส่วนเกิน ในการวิ่ง ระยะทาง 100 กิโลเมตรร่างกายจะสูญเสียน้ำเป็นเหงื่อถึง 10 กิโลกรัม หรือ 10 ลิตร ทุกวันนี้คนเราไม่จำเป็นต้องวิ่งหนี สัตว์นักล่า หรือทำตัวเป็นนักล่าเสียเอง แม้ว่าสัญชาตญาณการเป็นนักล่ายังหลงเหลืออยู่  คนส่วนใหญ่กลายเป็นกลุ่ม คนที่ ทำมาหากินในอาชีพต่างๆ อาหารการกินก็เลือกหาได้โดยไม่ต้องไปไล่ล่า แต่วิญญาณของนักวิ่งยังคงอยู่กับผู้คน

 

อาหารช่วยประทังชีวิต แต่เนื่องจากมนุษย์ในยุคแรกไม่อาจจะคาดการณ์ได้ว่าพรุ่งนี้จะมีกินหรือไม่ จึงจำเป็นต้องกิน สะสมไว้เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ร่างกายเราจึงมีความสามารถกักเก็บไขมันส่วนเกิน ไว้ใช้ในยามขัดสนได้เสมือนหนึ่ง เปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้ ส่วนอาหารที่กินเข้าไปใหม่ก็เปรียบเสมือนบัญชีเดินสะพัดจะถูกย่อยเพื่อบำรุงร่างกาย หากมี ไขมันส่วนเกินก็จะผลักไปอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ ไขมันส่วนเกินนี้หากไม่ไถ่ถอนออกมาใช้ก็จะสะสม ทับถมเป็น ไขมันที่ฝัง แน่นในร่างกายกลายเป็นคนอ้วนไป ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์นับล้านปีมาแล้ว

 

มีข้อเขียนมากมายที่เป็นการแนะนำนักวิ่งมาราธอนเกี่ยวกับการใช้ไขมันที่สะสมไว้ มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเสนอแผน สะสมไขมันก่อนจะวิ่งมาราธอน การสะสมนั้นฝึกง่ายกว่าการเผาไขมัน ก่อนจะพูดถึงการเผาไขมัน เรามาสังเกต น้ำหนักตัวของนักวิ่งมาราธอนบางคน แชมป์มาราธอนของเมืองบอสตัน บิล รอดเจอร์สูง 170 ซม มีน้ำหนักตัวเพียง 57 กก ส่วนแฟรงค์ ชอร์เตอร์ แชมป์มาราธอน โอลิมปิคปี 1972 นั้นตัวสูง 175 ซม ทีน้ำหนักตัว 60 กก แต่ละคนมี น้ำหนักตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับมาตรฐาน เคล็ดลับของเขาคือการเผาไขมันที่สะสมไว้เพียงน้อยนิดให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

สิ่งที่ยากสำหรับนักวิ่งก็คือการควบคุมปริมาณอาหาร การฝึกซ้อมวิ่งการแข่งขันในแต่ละวันต้องใช้พลังงาน เช่นถ้า มีการซ้อมวิ่งหนักในเดือนตุลาคม โดยวิ่งวันละ 20 กม. ทุกวัน ก็ต้องกินอาหารให้มีแคลอรีเพียงพอสำหรับการวิ่งนั้น ถ้ากินมากเกินไปก็จะเริ่มสะสม จนถึงวันแข่งในปลายเดือนพฤศจิกายน นักวิ่งผู้นั้นก็จะต้องแบกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น นั้นลงสนามแข่งด้วย มีการถามนักโภชนาการมากมายว่านักวิ่งควรจะกินอะไร ในปริมาณเท่าไร คำตอบที่ได้จะ แตกต่างกันไปตามพื้นฐานความรู้ของผู้ตอบ แท้ที่จริงแล้วร่างกายของนักวิ่งเองจะรู้คำตอบที่ดีที่สุด ในระหว่างที่ ซ้อมวิ่งอยู่นักวิ่งควรจะลองกินอาหารที่เคยกินเป็นประจำ เมื่อพบว่าร่างกายอ่อนเพลียเกินไปก็กินเพิ่มเติม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แล้วคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย นักวิ่งบางคนกินแต่อาหารมังสะวิรัต ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมากินเนื้อสัตว์ เพราะสิ่งที่มีในเนื้อสัตว์ก็หาได้ในอาหารมังสะวิรัต ร่างกายเราต้องการ อาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่พอเหมาะ

 

ไกลโคเจนเป็นโมเลกุลที่สะสมพลังงานซึ่งได้มาจากอาหารที่ประกอบด้วยไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต และร่างกายมักจะออมไกลโคเจนไว้โดยอัตโนมัติ ร่างกายคนเราจะเก็บไกลโคเจนได้สูงสุด เพียง 2000 กิโลแคลอรี แต่ในการวิ่งมาราธอนจะต้องใช้ประมาณ 3000 กิโลแคลอรี เพราะฉะนั้นในการวิ่งมาราธอนจริง ไกลโคเจนจะถูกใช้ หมดเสียก่อนที่จะเข้าเส้นชัย ไกลโคเจนหมดเป็นอาการที่เรียกกันว่า “ชนกำแพง” เพราะว่ากลูโกสหรือน้ำตาลในเลือด ที่ได้จากไกลโคเจนหมดกลางคัน ร่างกายปรับเปลี่ยนสภาพไม่ทันเป็นเหตุให้นักวิ่งเป็นลมหน้ามืดล้มลงไปทันที อาการนี้จะส่อเค้าในขณะที่วิ่ง ซึ่งนักวิ่งจะรู้ตัวเสียก่อน วิธีปรับตัวคือลดความเร็วลงแล้วดื่มน้ำที่มีน้ำตาลเข้าไป เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาก เราจะรู้สึกอ่อนปวกเปียก ขอให้เปลี่ยนจากวิ่งเป็นเดินเพื่อให้ร่างกายดึงเอาพลังงาน ที่สะสมไว้ แต่ยังนำมาใช้อย่างเต็มที่ไม่ได้เพราะต้องรอการปรับตัวของร่างกาย

 

อาหารที่เพิ่งกินเข้าไปในระหว่างวิ่งจะยังไม่ส่งผลในการเพิ่มพลังงานเนื่องจากการวิ่งและการย่อยอาหาร เป็นระบบ งานที่อิสระต่อกัน ตรงกันข้ามการย่อยอาหารต้องใช้เส้นเลือดซึ่งเท่ากับแย่งกันใช้เลือด ทำให้เราวิ่งช้าลง ในอดีตนักล่า จะกินเหยื่อหลังจากออกแรงวิ่งไล่จนชนะแล้ว ไม่เคยมีการกินก่อนการไล่ล่า กระเพาะจึงไม่ต้องมาสัมพันธ์กับการวิ่ง เคยมีนักวิ่งกินให้อิ่มท้องก่อนวิ่ง ผลก็คือวิ่งได้เพราะมีความอดทนแต่ไม่มีความเร็ว

 

อุปสรรคมีมากเหลือเกินสำหรับการเป็นนักวิ่ง แต่ก็ยังมีผู้คนออกมาวิ่งไม่ว่าจะมีการแข่งขันกันหรือไม่ ทั้งในสวน สาธารณะหรือบนเครื่องวิ่ง เขาวิ่งกันทำไม ในเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหนีใคร และไม่ต้องวิ่งล่าใคร บางคนอาจจะออกวิ่ง เพราะหมอสั่งให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง บางคนเข้าชมรมวิ่งเพราะต้องการจะสังสรรค์กับผู้คน บางคนเชื่อว่าการวิ่ง เป็นสิ่งเสพติด ถ้าไม่ได้วิ่งจะพาลเป็นลมล้มชักลงไปได้ บางคนวิ่งเพราะทำอย่างอื่นไม่เป็นเพราะเล่นกีฬาอื่นไม่ได้ ว่ายน้ำก็ไม่เป็น ตีเทนนิสหรือตีกอล์ฟก็ไม่เป็น  ถ้านกแบล็กโพลพูดได้ ถ้ากวางพรองฮอร์นพูดได้ มันจะต้องตอบ อย่างเดียวกันกับนักวิ่งทั้งหลายว่า เราไม่ได้บินหรือวิ่งทางไกลเพื่อหนีภัย แต่เราวิ่งเพราะเรามีความสุขที่ได้วิ่ง

 

ค้นคว้าจากหนังสืออ้างอิงต่างๆดังต่อไปนี้

1.        A Natural History: Why We Run by Bernd Heinrich

2.        The Complete Book of Running by  James Fixx

3.        A Scientific Approach to Distance Running by D. L. Costill

4.        How Animals Work by  Schmidt – Nielsen

5.        อื่นๆอีกหลายเล่ม

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 16พ.ย.45<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>