หลักการสอนและการฝึก AEROBIC  DANCE

        

      การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนั้น เป็นที่นิยมในปัจจุบันในรูปแบบของ AEROBIC  DANCE

         ในต่างประเทศนั้น เขานิยมการออกกำลังกายที่แตกต่างกันไป ในประเทศจีนนั้น เป็นการออกกำลังกายในตอนเช้า ในประเทศ ในประเทศเยอร์มันนิยมการออกกำลังกายที่เรียกว่า GYMNASTIC  AEROBIC  หรือในยุโรปอาจเรียกว่า GYMNASAPATA   และพบหลักฐานว่า ในยุโรปนั้นรู้จักการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมานานกว่า 100 ปี  แต่ไม่มีหรือไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีเข้าประกอบจังหวะท่าทาง  ต่อมาสหรัฐอเมริกา ได้นำดนตรีเข้าประกอบจังหวะท่าทาง ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้นำดนตรีเข้ามาประกอบ ทำให้เกิดความนิยมแพร่หลายขึ้นในปัจจุบัน และได้มีการเรียกชื่อกันหลายอย่างเช่น Slimnastic Aerobic, Jazz dance , Jagging Dance of Aerobic Dance ซึ่งหลักการเรียกชื่อนั้นอาจเป็นไปตามลักษณะท่าทางที่ประกอบหรือดนตรีที่ประกอบนั่นเอง สรุปแล้วก็มาจากการบริหารกายประกอบดนตรีนั่นเอง

          คำว่า AEROBIC  นั้น KENNETH COOPER  ของสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1968 เป็นผู้เสนอหรือเรียกเป็นคนแรก  ในการออกกำลังกายแบบวิ่ง 12 นาที และจึงได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบัน

           ในการสอนแอโรบิคดานซ์นั้นมีขั้นตอนหรือหลัการการสอน ดังต่อไปนี้

1. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ 30-45 นาที

2. พื้นที่ใช้สอนควรเป็นพื้นไม้เนื้อนิ่ม มีความยืดหยุ่นตัว ถ้าได้เบาะฟองน้ำรองยิ่งดี ควรหลีกเลี่ยงการใช้พื้นคอนกรีตหรือปาร์เก้      เพราะอาจทำให้เกิดผลต่อข้อต่อเข่า ข้อเท้า ฯลฯของผู้ที่ออกกำลังกาย

3.ควรสวมใส่รองเท้าสำหรับเต้นแอโรบิค ซึ่งมีพื้นนิ่มสวมใส่สบาย จะช่วยลดการกระแทกของน้ำหนักตัวกับพื้นได้

4.ขณะสอนควรเน้นระบบหายใจ เพื่อที่จะให้ผู้ฝึกได้รับ ออกซิเจน มากที่สุดขณะฝึก

5.ก่อนเสร็จสิ้นการฝึก ควรให้ผู้ได้รับการฝึกมีอัตราการเต้นของชีพจรใกล้เคียงกับชีพจรในระยะปกติ

ลำดับขั้นตอนการสอน

1.อบอุ่นร่างกาย (WARM UP  หรือ STRETHING EX.) ควรใช้เวลา 10-15 นาที และชีพจรไม่ควรเกิน 100 ครั้ง/นาที

2.ช่วงแอโรบิคหรือช่วงสร้างความอดทนให้ กับร่างกาย ควรใช้เวลา 15-20 นาที ชีพจรในช่วงนี้ควรจะถึงเป้าที่กำหนด คือ

   ( 220 - อายุ )  X  .6 =  ขั้นเริ่มต้นสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย

   ( 220 - อายุ ) X   .7 =  ขั้นกลาง

    ( 220 - อายุ ) X   .8 =  ขั้นสูง

3.ช่วง WARM DOWN  หรือ COOL DOWN  เป็นช่วงลดอัตราชีพจร ในช่วงนี้เป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา หน้าห้อง ฯลฯ ควรใช้เวลา 10-15 นาที

 

การตรวจนับชีพจร

1.ชีพจรขณะพักหรือก่อนเริ่มต้น

2.ชีพจรหลังจากอบอุ่นร่างกาย

3.ชีพจรขณะที่มีอัตราชีพจรการเต้นสูงสุด

4.ชีพจรในขั้น COOL DOWN

5.ชีพจรเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน

หมายเหตุ.  ขั้นแอโรบิค หรือในช่วงขณะที่มีอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด ควรคงไว้ซึ่งความนานดังนี้

ถ้าชีพจร  180 ครั้ง/นาที ควรคงไว้ 5 นาที

ถ้าชีพจร  150 ครั้ง/นาที ควรคงไว้ 10 นาที

ถ้าชีพจร  120 ครั้ง/นาที ควรคงไว้ 15 นาที

(ไม่ควรให้เกิดการออกกำลังกายที่เป็นการ Over Load คือชีพจรเต้นเกิน 180 ครั้ง/นาที เพราะอาจทำให้เกิดการหัวใจวายขึ้นได้ หรือเมื่อมีอายุสูงขึ้น อาจเป็นโรคหัวใจได้)

ประโยชน์ของแอโรบิคดานซ์

1.เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดี  และให้ความสนุกสนาน ได้ทั้งความแข็งแรง ทนทาน ความคล่องแคล่ว ว่องไว ความอ่อนตัว และทรวดทรง ฯลฯ

2.อย่าคิดว่าเป็นการลดน้ำหนัก

การออกกำลังกายเพื่อชีวิต

       การออกกำลังกายน้อยที่สุด ควรเป็น 2 ครั้ง / สัปดาห์  และครั้งหนึ่งควรใช้เวลา 30 นาที ดีที่สุดของการออกกำลังกายเพื่อชีวิตควรเป็น 1/2 ชั่วโมง/วัน ทำทุกวัน

     ร่างกายของมนุษย์เรา เมื่อทำการออกกำลังกายเสมอ จะทำให้ร่างกายสร้าง ENDOPHINE  จะทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย กระชุ่มกระชวยมีชีวิตชีวา

     หลังการออกกำลังกาย  ร่างกายจะต้องชดเชยสิ่งที่สูญเสียไป  โดยเฉพาะเกลือพวก POTASSIUM  ซึ่งจะมีมากในอาหารจำพวกผัก ผลไม้ฉะนั้นคนที่ออกกำลังกายมากๆ ต้องชดเชย

ไขมัน 1 กก. ให้พลังงาน - 6,000 แคลอรี่

ข้าว  1 จาน ให้พลังงาน - 500 แคลอรี่

     ผู้ที่มุ่งหวังจะลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายหรือให้แอโรบิคดานซ์ จะต้องควบคุมอาหารด้วย จึงจะได้ผล

     เพศสัมพันธ์ ใช้พลังงานเท่ากับวิ่งเต็มที่ 100 เมตร เป็นแอโรบิกแบบอ่อน

    บุหรี่ มีผลทำให้หลอดเลือดตีบตันลง จึงไม่ดีสำหรับคนที่จะออกกำลังกายแบบแอโรบิค จึงควรหลีกเลี่ยง

    ดื่มสุราจนมึนเมาทำลายสุขภาพร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงสำหรับคนที่ต้องการออกกำลังกายแบบแอโรบิค