<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_run_to_much_very_hungry.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 6มิ

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย.49<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

ยิ่งวิ่ง-ยิ่งหิว

 

โดย   กฤตย์  ทองคง

 

               มีผู้ไม่นิยมออกกำลังกายจำนวนหนึ่ง  หาเหตุผลมาอธิบายว่า  ไม่ควรออกกำลังกายเพราะ 

“ยิ่งวิ่ง-ยิ่งหิว”  กล่าวคือ  ผลของการออกกำลังกาย จะไปทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของกระบวนการใช้พลังงาน  ทำให้แสดงออกมาที่อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น  อย่างนี้ ยิ่งทำให้สถานการณ์ควบคุมน้ำหนักลำบากมากยิ่งขึ้น  มีผู้เคยออกกำลังกายจำนวนหนึ่งมีประสบการณ์เช่นนั้น

 

               ความข้างต้นนี้ คือ เหตุผลและเป็นที่มาของงานวิจัยโภชนาการและผลของการออกกำลังกายต่อร่างกายมนุษย์  โดยนักวิจัยจาก  Laval University  แห่ง  Quebec  ประเทศแคนาดา  ที่ร่วมกับ  University of Leeds  ประเทศอังกฤษ  สรุปว่า

 

               ผลของการออกกำลังกายที่เราเขยิบขึ้นหนึ่งระดับที่เหมาะสมในสภาพที่ร่างกายผู้นั้นรับได้  ไม่ได้นำไปสู่สถานการณ์ที่ร่างกายต้องการสารอาหารเพิ่มเติมแต่อย่างใด  และก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มคุณภาพลงไปในปริมาณอาหารเหล่านั้นด้วย  ถ้าคุณรับอาหารครบถ้วนและเพียงพออยู่แล้ว  แม้นักวิจัยจะพบหลักฐานว่า  ผู้ออกกำลังกายมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการรับอาหารประเภทแป้ง  Carbohydrates  ในการออกกำลังแบบปกตินั้น  เป็นผลมาจากกลไกทางร่างกายหรือกลไกทางจิตใจกันแน่  (ปราศจากหลักฐานอย่างพอเพียงที่จะสรุปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง)

 

               ส่วนประเด็นเรื่องผลกระทบที่มีต่อความหิวอยาก ที่ได้ทดลองกับ  Subjects  ที่ออกกำลังกายนาน 30 นาที ที่เผาผลาญพลังงานไปราว 300 แคลลอรี่นั้น  ก็ไม่พบว่าร่างกายต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ในภาวะหลังจากนั้น  เพื่อเข้าไปทดแทนพลังงานที่หายไป  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็คือ  น้ำหนักผู้ออกกำลังก็จะลดได้

 

               ดังนั้น  เท่าที่มนุษย์เรามีความรู้ในปัจจุบัน  พบว่า คำกล่าวอ้างของกลุ่มผู้ไม่นิยมออกกำลังกายที่ว่า  “ยิ่งวิ่ง-ยิ่งหิว”   นั้น  ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนแต่อย่างใด.

 

 

08:22   น.

15  มิถุนายน  2548

R.W.  Feb  1998      P.27