<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_problem_women.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> สตรีกับการออกกำลังกาย

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 46 <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

ปัญหาที่พบใน หญิงที่ออกกำลังกาย

 

จากหนังสือ..กีฬาเวชศาสตร์(Sports Medicine)
วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม และ คณะ
โดย..รัตนวดี ณ นคร

 

ปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาหญิง

สังคมของสตรีไทยในสมัยก่อน จะถูกอบรมสั่งสอนให้เป็นแม่บ้านแม่เรือนเพียงอย่างเดียว ซึ่งนอกจากจะสอนโดยใช้ข้อกำหนดและข้อห้ามแล้ว บางครั้งยังต้องใช้กลอุบาย  เพื่อให้เกิดความกลัวต่างๆ นานา ยกตัวอย่างเช่น  เด็กที่ซนมากๆ ผู้ใหญ่จะไม่รัก หรือถ้าโตเป็นสาวแล้วก็มักจะใช้ความสวยงามมาเป็นอุบายสั่งสอน เป็นต้น  (ตารางที่ 15.4)   ซึ่งบางครั้ง คำสอนเหล่านี้ก็ใช้กันมานานจนกระทั่งไม่แน่ใจว่าจริงเท็จเป็นอย่างไรทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการฝึกซ้อมได้ แต่เป็นที่น่ายินดีว่า การศึกษาค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในปัจจุบันได้เจริญรุดหน้าไปอย่างมากสามารถตอบปัญหาและแก้ข้อข้องใจต่างๆ ได้อย่างชัดเจน การฝึกซ้อมจึงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างนักกีฬาหญิงที่มีชื่อเสียงอยู่ในชั้นแนวหน้าได้มากมาย ดังที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับการออกกำลังกายของสตรี

*   การเล่นกีฬามากๆ จะทำให้มีกล้ามใหญ่เหมือนเพศชาย และดูไม่เป็นกุลสตรี

*   การวิ่งหรือกระโดดมากๆ จะทำให้มดลูกหย่อน

*   ผู้หญิงที่เป็นนักกีฬาจะดูไม่เป็นผู้หญิง

*   ควรงดออกกำลังกายขณะที่มีประจำเดือน

*   ขณะที่มีประจำเดือนสมรรถภาพในการแข่งขันจะลดลง

*   สตรีที่ตั้งครรภ์ควรงดเว้นการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายทุกชนิด

 

1. ผู้หญิงที่ออกกำลังมากๆ จะทำให้มี กล้ามใหญ่ น่องใหญ่ หรือไม่ ?

ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะกลัวว่า การวิ่งหรือการปั่นจักรยานมากๆ จะทำให้น่องโตเหมือนผู้ชาย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อต้องอาศัยเพศชาย คือ Testosterone ผู้หญิงที่ออกกำลังกายจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น แต่มัดกล้ามเนื้อจะไม่ใหญ่ (Browne and Wilmor 1974) การออกกำลังกายจะทำให้ปริมาณไขมันที่แทรกอยู่ระหว่างมัดกล้ามเนื้อลดลงทำให้รู้สึกว่ากล้ามเนื้อมีความตึงแข็งขึ้น กว่าเดิมได้บ้าง แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายเมื่อใด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลงและมีไขมันมาแทรกมากขึ้น กล้ามเนื้อจะนุ่มลงคล้ายกับระยะก่อนออกกำลังกายได้

2. การวิ่งกระโดดจะทำให้ มดลูกหย่อน ได้จริงหรือไม่ ?

คนโบราณมักจะอ้างว่า การวิ่งหรือการกระโดดเป็นสาเหตุที่ทำให้มดลูกหย่อน  ซึ่งถ้าเป็นสตรีในระยะหลังคลอด ก็คงจะมีส่วนที่ถูกต้องอยู่บ้าง เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในอุ้งเชิงกรานบวมน้ำ และมีความยืดหยุ่นมากกว่าปกติ แต่สำหรับสตรีทั่วไป การวิ่งหรือการกระโดดไม่ทำให้มดลูกหย่อน เพราะอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (pelvic diaphragm) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและพังผืดต่างๆ มากมายมดลูกอาจหย่อนยานได้ถ้ากล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวอ่อนแรงลง เช่น ในหญิงที่มีบุตรมากหรือกระบังลมอุ้งเชิงกรานมีความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งอาจป้องกันและรักษาได้ โดยให้ผู้ป่วยขมิบก้นบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ฝีเย็บแข็งแรงและกระชับขึ้น

3. การเล่นกีฬาจะทำให้ เต้านมอักเสบ ได้หรือไม่ ?

โดยปกติ ขณะที่วิ่งหรือกระโดดเต้านมจะแกว่งได้เล็กน้อย ไม่ว่านักกีฬาจะมีการสวมเสื้อยกทรงหรือไม่ แต่ไม่ถึงกับจะทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบมากกว่าคนปกติยกเว้นว่า นักกีฬาผู้นั้นจะมีเต้านมที่ใหญ่และหนักมากๆ การแกว่งของเต้านมก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมได้บ้าง ควรแนะนำให้สวมเสื้อยกทรงระหว่างที่ออกกำลังกายเพื่อพยุงเต้านมไว้ไม่ให้แกว่งมากเกินไป เสื้อยกทรงที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬา ควรตัดเย็บด้วยผ้าที่ไม่แข็ง ไม่มีตะเข็บ ไม่ควรมีโครงเป็นโลหะที่อาจจะขัดสีกับผิวหนัง และไม่ควรตัดเย็บด้วยผ้ายืดเพราะจะพยุงเต้านมได้ไม่ดี นักวิ่งมาราธอนที่ไม่ชอบสวมเสื้อยกทรงขณะวิ่ง อาจใช้พลาสเตอร์ปิดทับหัวนมไว้เพื่อไม่ให้ขัดสีกับเสื้อผ้า มิฉะนั้นอาจเกิดอาการเจ็บที่หัวนมได้

4. การวิ่งจะทำให้ เต้านมหย่อนยาน หรือไม่ ?

เป็นที่น่าสังเกตว่า เต้านมของหญิงชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกาที่ไม่นิยมการสวมเสื้อผ้า มักจะหย่อนยานมากกว่าหญิงปกติ และเมื่อทำการศึกษาเพื่อดูการเคลื่อนไหวของเต้านมขณะวิ่งหรือขณะกระโดด ยังแสดงให้เห็นว่า เต้านมของนักกีฬาที่ไม่สวมเสื้อยกทรงจะมีการแกว่งมากกว่า จึงแนะนำว่าการสวมเสื้อยกทรงขณะออกกำลังกายน่าจะช่วยลดการหย่อนยานของเต้านมได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ถกเถียงว่าสาเหตุที่ทำให้เต้านมหย่อนยานไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้เหตุผลว่า เต้านมของคนเราที่ยึดติดแน่นอยู่กับผนังด้านหน้าของทรวงอกนั้น เกิดจากการประสานกันของเนื้อเยื่อหลายชนิด เป็นต้นว่า ต่อมน้ำนม ไขมัน และพังผืด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เนื้อเยื่อเหล่านี้ จะทำให้เต้านมหย่อนยานกว่าปกติได้ ยกตัวอย่างเช่น หญิงวัยสูงอายุ ต่อมน้ำนมจะฝ่อและมีสัดส่วนของไขมันที่เต้านมลดลง ในหญิงมีครรภ์ ต่อมน้ำนมจะขยายใหญ่ทำให้เต้านมมีน้ำหนักมากขึ้นประกอบกับการที่เนื้อเยื่อพังผืดที่ช่วยพยุงเต้านมไว้มีความยืดหยุ่น และอ่อนตัวมากเต้านมจึงย้อยลงมากกว่าปกติ นักกีฬาที่ฝึกหนักจนกระทั่งสัดส่วนของไขมันในร่างกายลดต่ำลงมากๆ ก็อาจทำให้เต้านมมีขนาดเล็กและย้อยลงได้เล็กน้อย ถ้าลำพังแต่การวิ่งหรือการกระโดดจึงไม่น่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เต้านมหย่อนยานได้

5. การเล่นกีฬามากๆ จะทำให้ ดูไม่เป็นกุลสตรี จริงหรือไม่ ?

เชื่อว่าภาพพจน์ของสตรีไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ความเรียบร้อยแบบผ้าพับไว้หรือการอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน คงไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้หญิงต้องรับภาระในสังคมมากขึ้น และจำเป็นต้อพัฒนาให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ผู้หญิงในปัจจุบัน จึงควรเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดีสง่างาม แคล่วคล่องว่องไว เชื่อมั่นในตนเอง มีการตัดสินใจที่ดี มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ มีความแข็งแรงแต่ไม่แข็งกระด้าง ซึ่งบุคลิกภาพดังกล่าวนี้ มักจะพบในผู้หญิงที่เป็นนักกีฬา ดังนั้นถ้าได้แนะนำให้ผู้หญิงได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบ้าง ก็จะเสริมสร้างความเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดีได้

6. ระหว่าง มีประจำเดือนไม่ควรเล่นกีฬา จริงหรือไม่ ?
และขณะที่
มีประจำเดือนจะทำให้สมรรถภาพในการแข่งขันลดลง หรือไม่ ?

6.1    ผลของการมีประจำเดือนต่อสมรรถภาพทางการกีฬา

ในทางทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายขณะมีประจำเดือน จะไม่มีผลต่อสมรรถภาพ

ร่างกาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น และในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมีนักกีฬาหญิงหลายคนที่สามารถทำสถิติได้ดีขึ้น เมื่อลงแข่งขันในระว่างที่มีประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติซึ่งกระทำโดยการสอบถามนักกีฬาหญิงพบว่า สมรรถภาพของการแข่งขันขณะที่มีประจำเดือนนั้น มีทั้งที่ดีขึ้น (โดยเฉพาะในวันแรกที่มีประจำเดือน) เท่าเดิม และลดลง สาเหตุที่ทำให้สมรรถภาพทางกายของนักกีฬาลดลงได้นั้น อาจเกิดจากอารมณ์เครียดขณะมีประจำเดือน หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนขณะที่มีประจำเดือน เช่น ปวดประจำเดือน (Dysmenorrheal) มีประจำเดือนมากผิดปกติ (Hyper menorrhea) หรือเกิดจากความกังวล รู้สึกรำคาญ และขาดความคล่องตัวขณะมีประจำเดือน โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ เลยก็ได้

บางคนกลัวว่าถ้าต้องฝึกซ้อมหนักขณะที่มีประจำเดือนเช่น การวิ่งระยะไกล เล่นวอลเลย์บอล เล่นยิมนาสติก หรือเทนนิส มดลูกอาจได้รับการกระทบกระเทือนมากเกินไปและทำให้เกิดภาวะเยื่อบุมดลูกงอกผิดที่ (Endometriosis) ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มีการศึกษาที่พอจะสรุปได้ว่า การฝึกซ้อมหนักนอกจากจะไม่เพิ่มอุบัติการณ์ของภาวะดังกล่าวแล้ว ผู้หญิงที่ออกกำลังสม่ำเสมอจะมีอุบัติการณ์ดังกล่าวลดลงเสียด้วยซ้ำ

ขณะมีประจำเดือนจะสามารถลงว่ายน้ำได้หรือไม่? จากการศึกษาสรุปได้ว่า การลงว่ายน้ำในสระว่ายน้ำขณะที่มีประจำเดือน ไม่ได้ทำให้อุบัติการณ์ของการติดเชื้อในช่องคลอดหรือการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น สาเหตุสำคัญที่ต้องงดเว้นการลงว่ายน้ำในสระว่ายน้ำส่วนใหญ่ เป็นเหตุผลในแง่การดูแลรักษาความสะอาดของสระว่ายน้ำมากกว่า ถ้านักกีฬาจำเป็นต้องลงแข่งว่ายน้ำ เช่น ต้องลงแข่งขันนัดสำคัญ และไม่อาจกินยาเพื่อเลื่อนกำหนดวันมีประจำเดือนออกไปได้ ก็สามารถลงแข่งขันได้ โดยการใช้ผ้าอนามัยชนิดสอดช่องคลอดในระหว่างการแข่งขัน แต่การใช้ผ้าอนามัยชนิดนี้ควรเปลี่ยนบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง ไม่ควรสอดทิ้งไว้นานเกินไป เพราะอาจมีการติดเชื้อ Staphylococcus แทรกซ้อนและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ จากกลุ่มอาการที่เรียกว่า toxic shock syndrome

6.2    ความจำเป็นในการเลื่อนกำหนดประจำเดือนเพื่อลงแข่งขัน

เมื่อกำหนดการแข่งขันตรงกับการมีประจำเดือน นักกีฬาอาจจะลังเลใจว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเลื่อนกำหนดการมีประจำเดือนออกไป ซึ่งอาจพิจารณาได้จากประวัติของการฝึกซ้อมและการมีประจำเดือนในครั้งก่อนๆ ถ้านักกีฬาสามารถฝึกซ้อมได้ตามปกติขณะมีประจำเดือน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ของยา เช่น มีอาการมึนงง หรือปวดศีรษะ ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อการแข่งขันมากกว่า เนื่องจากยาที่ใช้ในการเลื่อนประจำเดือนมักจะเป็นยาในกลุ่ม Estrogen แต่ถ้านักกีฬาไม่สามารถฝึกซ้อมได้ หรือฝึกซ้อมได้ไม่เต็มที่ในขณะที่มีประจำเดือน เนื่องจากมีอาการปวดประจำเดือน มีประจำเดือนมากผิดปกติ หรือมีอารมณ์หงุดหงิดมาก ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน

....โปรดติดตามตอนต่อไป....