<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_pain_yourself.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> สาเหตุของการบาดเจ็บจากการวิ่ง

 

  สาเหตุของการบาดเจ็บจากการวิ่ง

Visitors: <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

สาเหตุ ของการบาดเจ็บอย่างแรง        คือ    อุบัติเหตุจากการวิ่ง   ซึ่งประกอบ     ไปด้วยปัจจัยจากตัวนักวิ่งเอง  และ   จากภายนอก    ดังนี้

    ปัจจัยจากตัวนักวิ่งเอง

ความเหมาะสมของรูปร่างหรือโครงสร้างของร่างกายกับการวิ่ง เช่น วิ่งระยะสั้น วิ่งระยะกลาง วิ่งระยะไกล วิ่งมาราธอน และตลอดจนการวิ่งเพื่อสุขภาพ

ความสมบูรณ์ทางกาย ในด้านกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ความอดทน ความคล่องแคล่ว และความยืดหยุ่นของร่างกาย

การบาดเจ็บในอดีต ทำให้การคาดคะเนไม่ถูกต้องแน่นอน เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย ทั้งนี้รวมถึง ความประมาท ความบุ่มบ่าม และความบ้าระห่ำด้วย

  ปัจจัยที่มาจากภายนอก

เป็นต้นว่า สนามแข่งหรือสนามวิ่ง คู่แข่ง คนเชียร์ และสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งสิ้น ทีนี้เมื่อเกิดการบาดเจ็บแล้ว ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที เมื่อหายแล้ว และหลังจากเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายให้คืนสู่ปรกติแล้วก็สามารถวิ่งได้ตามปรกติ แต่ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรักษาจะทำให้สมรรถภาพลดลง วิ่งได้ไม่เต็มที่ หรือวิ่งไม่ได้เลย

สาเหตุอีกอย่างที่สำคัญมากและมักละเลยกันไป  ก็คือ การใช้งานของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมากจนเกินไปจาการวิ่ง ซึ่งมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสมขึ้นทีละน้อย ๆ จนปรากฏอาการขึ้นในภายหลังได้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ ผิวหนัง เอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกร้าวได้ บางครั้งรุนแรงมากถึงกับพิการหรือสูญเสียขาไปก็มี จึงต้องควรระมัดระวังและรู้จักตัวเองถึงสังขารและความสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่ควรฝืน เมื่อเริ่มมีความผิดปรกติเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะวิ่งหรือหลังจากวิ่ง ต้องให้ความสนใจเรื่องของตัวเองให้มากๆ อย่าปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด ซึ่งจะได้กล่าวโดยรายละเอียดต่อไป

หลักการปฐมพยาบาลทั่ว ๆ ไป

                      เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการวิ่งในระยะแรก อาจจำได้ง่าย ๆ จาก ตัวอักษรภาษาไทยว่า " พันรัย " คือ

พ     หมายถึง     พัก

น     หมายถึง     น้ำแข็ง

ร     หมายถึง      รัด

ย     หมายถึง      ยก

                  หรือจากตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า RICE คือ

R   หมายถึง            Rest

I    หมายถึง           Ice

C   หมายถึง        Compression

E   หมายถึง        Elevation

พั - พัก ( R = Rest ) เมื่อมีการบาดเจ็บจากการวิ่งที่ส่วนใด ให้พักส่วนนั้นทันที ความหมายก็คือ หยุดวิ่ง

น - น้ำแข็ง ( I = Ice) ใช้น้ำแข็งประคบส่วนนั้นที่ได้รับบาดเจ็บ ความเย็นจะช่วยลดอาการบวมและความเจ็บปวด การประคบน้ำแข็งให้ทำครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดพัก 5 นาที จนกระทั่งไม่บวม หรือวันละ 2-3 ครั้ง

รั - รัด ( C = Compression ) คือการพันกระชับส่วนที่บาดเจ็บนั้นไว้ไม่ให้บวมเพิ่มมากขึ้น ควรใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนา ๆ โดยรอบก่อน แล้งพันด้วยผ้ายืดให้พอดีไม่รัดจนแน่นเพราะจะทำให้ส่วนปลายจากที่พันไว้บวม หลักการพันผ้าให้พ้นจากส่วนปลายขึ้นมาหาส่วนต้น

ย - ยก ( E = Elevation ) คือยกส่วนนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ยกขาสูงเพื่อให้เลือดไหลลงได้สะดวก เป็นการช่วยลดอาการบวม

ตัวอย่างเช่น นักวิ่งผู้หนึ่งหลบหลุมขณะวิ่งมาด้วยความเร็ว ทำให้มีอาการปวดที่ต้นขามากในทันที พบว่ามีอาการฉีกขาด ของกล้ามเนื้อต้นขา ดังนั้นสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ให้หยุดวิ่งทันที ความจริง ก็วิ่งต่อไปไม่ได้อยู่แล้ว นอนพักเหยียดขานอนราบเหยียดข้อเข่าให้ตรงไว้ตลอดเวลา ห้ามงอเข่าโดยเด็ดขาด

ค่อย ๆ ยกขาข้างนั้นวางบนผ้าหรือที่รองให้สูงขึ้น วางขานิ่ง ๆ ในท่าเหยียดเข่า ( เป็นการยก ) ใช้ผ้าน้ำแข็งประคบส่วนนั้น ( เย็น ) แล้วใช้ผ้าฝืดพันทับทันทีไม่ให้แน่นมาก หลังจากครบเวลาประคบแล้ว ( ประมาณ 15-20 นาที ) จึงเอาน้ำแข็งออก หาผ้านุ่ม ๆ หรือสำลีหนา ๆ รองก่อน พันด้วยผ้ายืด ( เพื่อป้องกันไม่ให้พันผ้ายืดแน่นเกินไป )

เสร็จแล้วควรเข้าเฝือกในท่าเหยียดตรงไว้ ภายในระยะเวลาแรกนี้ไม่ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดนั้น แต่ต้องออกกำลังกล้ามนื้อมัดอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บอยู่เสมอ ( เพราะกล้ามเนื้อที่พัก ไม่ออกกำลังกายเลยภายใน 1 สัปดาห์ ความแข็งแรงจะลดลง ประมาณ 1 ใน 5 ) ถ้าปล่อยให้กล้ามเนื้อบวม จากการมีเลือดมาคั่งมาก ๆ และอาจมีพังผืด แผลเป็น เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อมัดนั้น จะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปได้ไม่สมบูรณ์ และเสี่ยงต่อการจะได้รับบาดเจ็บซ้ำอีกเมื่อกลับไปเล่นกีฬา

หลังจาก 1 - 2 วัน นักวิ่งเริ่มทุเลาเจ็บแล้ว ระยะนี้จะไม่มีเลือดออกในมัดกล้ามเนื้ออีกแล้ว ควรลดอาการบวมของกล้ามเนื้อต่อไปด้วยความร้อน ความร้อนที่ใช้ได้ดีควรเป็นชนิดความร้อนลึก ( มีเครื่องมือชนิดนี้ตามสถานพยาบาลกายภาพบำบัด ) แต่ถ้าไม่มีการใช้กระเป๋าน้ำร้อนอาจใช้ได้คราวละ 10 -20 นาที วันละ 1 -2 ครั้ง ภายหลังหนึ่งสัปดาห์ ในระยะนี้อาจจะเริ่มให้ออกกำลังกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ แล้วจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นปรกติ ซึ่งทั้งหมดจะกินเวลามากน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ การให้ออกกำลัง กล้ามเนื้อจะเป็นการช่วยเร่งการหายของกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด เช่นการอักเสบติดเชื้อ การเกิดถุงน้ำ การเกิดแผลเป็นในกล้ามเนื้อ และการเกิดหินปูนจับในกล้ามเนื้อ

ดังนั้นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อต้องการการรักษาที่ละเอียดอ่อน และรีบด่วนเพื่อลดการคั่งของเลือด และพยายามให้มีการดูดซึมของเลือดที่ออกให้หมดไปโดยเร็ว แล้วเริ่มการใช้งานต่อไป เช่น ถ้ามีกล้ามเนื้อฉีกขาดระยะแรกให้รีบประคบความเย็นหรือน้ำแข็งก่อน แล้วพันส่วนนั้นให้แน่น ยกส่วนนั้นไว้ให้สูงถ้าทำได้ แล้วพักการเคลื่อนไหวส่วนนั้น ต่อด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อมัดที่ได้รับบาดเจ็บอย่างมีขั้นตอน

การป้องกันกล้ามเนื้อฉีกขาดจาการวิ่ง ทำได้โดยการเพิ่มสมรรถภาพ ของกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ฝึกความอดทนของระบบหัวใจ และการไหลเวียนเลือดด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเหนี่อยล้าเร็วเกินไป และไม่หักโหมขณะที่กล้ามเนื้อเกิดความล้าแล้ว ดูแลเรื่องอาหาร น้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป ตลอดจนการพักผ่อนและสันทนาการเพื่อลดความเครียด นอกจากนี้ขณะเริ่มฝึกซ้อมต้องให้มีระยะ " อุ่นเครื่อง " ที่นานพอสมควร และมีการใช้กายบริหารยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อมีความสำคัญมาก เพราะการเตรียมกล้ามเนื้อให้มีความยาวพอเหมาะต่อการหดตัวเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานมาแล้วอย่างหนัก จะเป็นการลดความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อด้วย

เราสามารถแบ่งปัญหาบาดเจ็บจากการบาดเจ็บจากการวิ่งที่พบได้บ่อย ๆตามตำแหน่งที่เกิดการบาดเจ็บ คือ บาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่า ขา เท้า ต้นขา ก้น ตะโพกหลังและเชิงกราน

 

( จากหนังสือ บาดเจ็บจากการวิ่ง โดย รศ.นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ )

                   

จาก กระทู้ ถาม - ตอบ

วิ่งแล้วปวดกล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านนอกจะแก้ไขอย่างไร

จาก : มือใหม่ - - patrapee@yahoo.com - 22/06/2000 15:43


ข้อความ : อาจเกิดจากวิ่งลงปลายเท้า หรือไม่ก็รองเท้าอาจเริ่มหมดสภาพ ผมเคยเป็นเหมือนกัน หมอให้ยาแก้อักเสบและคลายกล้ามเนื้อมากัน พักวิ่งราว 1- 2 อาทิตย์ ก็จะหาย

จาก : นายยิ้ม - 26/06/2000 00:34


ข้อความ : เท่าที่ผมเคยเจอมักเกิดจากรองเท้าหมดสภาพหรือไม่ไดด้มาตฐานครับจะเจ็บแถวหน้งแข้ง

จาก : นายโก้ - - kaiko1@yahoo.com - 26/06/2000 13:06


ข้อความ : อาการของคุณอยู่ในกลุ่มอาการ shin splints ซึ่งจะมีอาการได้ทั้งทางด้านนอกและทางด้านหลังของหน้าแข้ง ในกลุ่มที่มีอาการทางด้านนอกของหน้าแข้งจะมีอาการเจ็บเมื่อกระดกข้อเท้าขึ้น หรือใช้มือจับข้อเท้าให้จิกลง เนื่องจากมีการอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้งด้านนอก

อาการปวดจะเริ่มเมื่อได้ทำการวิ่งสักครู่หนึ่ง แต่จะค่อยดีขึ้นเมื่อวิ่งต่อไป ถ้าไม่วิ่งก็ไม่ปวด

เกิดจากการวิ่งเร็วเกินไป วิ่งขึ้นเนิน วิ่งบนผิวที่แข็งกระด้าง ในขณะที่มีอาการมากให้ใช้น้ำแข็งประคบ อาจกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ เมื่อดีขึ้นให้บริหารร่างกายโดยยืดเอ็นกล้ามเนื้อ โดยจับข้อเท้าและหัวแม่เท้าให้จิกลง ค้างไว้ 10 - 30 วินาที ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยเฉพาะก่อนออกซ้อมวิ่ง

การซ้อมควรซ้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป หากพื้นรองเท้าสึกมากหรือหมดสภาพก็ควรเปลี่ยน หากต้องซ้อมในที่ที่พื้นแข็งกระด้าง เช่น พื้นคอนกรีต
หากยิ่งวิ่งก็ยิ่งปวด อาจเกิดจากภาวะกระดูกหน้าแข้งหักแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างนี้ต้องไปหาหมอแล้ว
หนังสืออ้างอิง - กีฬาเวชศาสตร์ โดย วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม, 2537.

จาก : แมวเหมียว - 02/07/2000 19:39