ผิวหนังแบ่งออกเป็น  2 ชั้น คือ ผิวหนังชั้นนอก (หนังกำพร้า ) และผิวหนังชั้นใน ( หนังแท้ )

หนังกำพร้า  คือ ส่วนที่เรามองเห็นจากภายนอก  ลอกหลุดได้เองตามธรรมชาติเป็นขี้ไคล  หรือ   จากการเสียดสี  เมื่อลอกหลุดแล้วส่วนที่อยู่ใต้ลงไป  จะสร้างขึ้นมาแทนที่ใหม่

หนังแท้ คือชั้นที่อยู่ใต้ลงไป มีสีแตกต่างกันออกไปเช่น  ขาว  น้ำตาล  ดำ เป็นต้น  มีความหนา  และ  มีความรู้สึกร้อนหนาว  เจ็บปวด เป็นต้น

ผิวหนามีความหนาและตึงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแตกต่างกันออกไป  มีหน้าที่ป้องกันร่างกาย และมีความยืดหยุ่น  บาดเจ็บที่ผิวหนังจากการวิ่ง  มีดังนี้

1. ผิวหนังฟกช้ำ  ( Contusion )

เกิดจากแรงกระแทกจากภายนอก   ทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนังทำให้มีอาการเจ็บ  ปวด  บวม และสีผิวหนัง จะแดง  ถ้ามีความรุนแรง มากขึ้น  หลอดเลือดใต้ผิวหนังฉีกขาดด้วย  จะทำให้ผิวหนังมีสีแดงคล้ำหรือม่วง  ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสีเขียวคล้ำ  แล้วหลังจากนั้น จะค่อย ๆ จางลงไป

การปฐมพยาบาลและการรักษา

ประคบเย็นทันที  โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบกดเบา ๆ บริเวณที่ฟกช้ำประมาณ  5-12 นาที  พัก 5 นาที ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเลือดหยุด  และการบวมไม่เพิ่มขึ้น  ความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว  เลือดหยุดไหล  และบรรเทาอาการเจ็บปวด ด้วยการหายเร็วหรือช้า  ขึ้นกับความรุนแรงและเลือด ที่ออกใต้ผิวหนัง   ไม่ควรขยี้หรือนวดด้วยน้ำมันร้อนเพราะ จะทำให้เส้นเลือดที่ฉีกขาด  และ ขยายตัว  เลือดจะยิ่งออกมากขึ้น  การประคบร้อนให้ทำหลังจาก  1-2 วัน ผ่านไป เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว  และดูดซึมเอาเลือดที่ออกที่หลงเหลืออยู่กลับไป

2. ผิวหนังถลอก ( Abrasion )

เกิดจากกการเสียดสี  เช่น  เมื่อวิ่งแล้วลื่นล้ม  ผิวหนังไถลไปบนพื้นที่แข็ง หรือสาก  จะตื้นหรือลึกขึ้นอยู่ กับความรุนแรง ที่ได้รับและพื้นที่เสียดสี  ถ้าอาการน้อย ผิวหนังจะถลอกตื้น   เพียงชั้นหนังกำพร้า  มีอาการเจ็บปวดน้อย  หายเร็ว  ถ้าผิวหนังถลอกลึก  จะถึงชั้นหนังแท้  จะมีอาการเจ็บปวดและมีเลือดออก   ถ้าเลือดออกซิบ ๆ และไม่มีสิ่งแทรกซ้อน  ผิวหนังบริเวณนั้น จะกลายเป็นสะเก็ดภายใน  3 วัน  และลอกหลุดไปเองใน 1 สัปดาห์ ( ไม่ต้องแกะ )

การปฐมพยาบาลและการรักษา

ทันทีที่เกิดแผลถลอก  ให้ฟอกด้วยสบู่แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง เช็ดแผลให้แห้งแล้วทาด้วยยาแดง  พยายามรักษาความสะอาดและให้แผลแห้งอยู่เสมอจนกว่าแผลจะหาย  อาจต้องปิดแผลไว้สัก 3 วัน  เพื่อให้แผลตกสะเก็ดจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์สะเก็ดจะลอกหลุดเอง  ถ้าแผลอักเสบติดเชื้อ  จะปวด  บวม แดง  และแฉะเยิ้มบริเวณแผล  จะต้องทำแผล ให้สะอาด  และรับประทานยาฆ่าเชื้อด้วย  การหายก็จะช้าตามไปด้วย  แผลบริเวณข้อต่อจะหายช้า  ถ้ามีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  ถ้าาอยากให้หายเร็ว  ก็จะต้องอยู่นิ่ง ๆ

3.ผิวหนังพอง  ( Blister )

เกิดจากการแยกระหว่างชั้นผิวหนัง  โดยหนังกำพร้าแยกตัวออกจากหนังแท้มีน้ำเหลือง  บรรจุอยู่ซึ่งเกิดจากเซลล์ผิวหนังชั้นหนังแท้หลั่งออกไป  สาเหตุเกิดจากการเสียดสีของผิวหนังกับสิ่งที่ถูไถซ้ำ ๆ ซาก ๆ  เช่น ด้านบน  ของส้นเท้า เมื่อวิ่งบ่อย ๆ เข้า จะทำให้ส้นเท้าตอนบนพอง

การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล

เมื่อเกิดการพองของผิวหนังให้หยุดวิ่ง  ทำความสะอาดผิวหนังที่พองด้วยสบู่  ล้างด้วยน้ำสะอาด  ซับให้แห้ง  ทาด้วยแอลกอฮอล์  ใช้เข็มปลายแหลมที่สะอาดเจาะผิวหนังที่พองให้เป็นรู   จนน้ำเหลืองไหลออกมาหมดแล้ว   ทาด้วยยาแดง   หมั่นทำความสะอาดให้ผิวหนังบริเวณนั้นแห้งอยู่เสมอ   ประมาณ  1 สัปดาห์ก็จะหายไป  ถ้าผิวหนังที่พองหลุดลอก  จะต้องทำแผลให้สะอาดทุกวันด้วย  แอลกอฮอล์และยาแดง และต้องปิดด้วยผ้าก๊อซปิดแผลด้วย  การหายจะช้ากว่าเล็กน้อย

1. สวมรองเท้าวิ่งที่มีส่วนหุ้มหลังส้นเท้านิ่ม ๆ

2. ใช้ปลาสเตอร์หรือแผ่นยางนิ่ม ๆ รอง หรือปิดที่ส้นเท้าเมื่อวิ่ง

4.ผิวหนังฉีกขาด  ( Laceration )


 

( จากหนังสือ บาดเจ็บจากการวิ่ง  โดย รศ.นพ.ธีรวัฒน์  กุลทนันทน์ )