การบาดเจ็บในนักวิ่ง

 


นักวิ่งมักได้รับบาดเจ็บที่ระบบโครงสร้าง ได้แก่ กล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด ข้อต่อ กระดูก เป็นต้น ซึ่งมักเกิดจากใช้งานเนื้อเยื่อเหล่านี้ช้า ๆ และหนักเกินไป เป็นลักษณะสะสมตัว

การบาดเจ็บจากการใช้งานเกินนี้มีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้


**แรงกระแทกที่เท้า ขณะวิ่งจะมากกว่าเดิน 3 เท่า และเกิดในช่วงเวลาสั้นมาก(0.02 วินาที)ถ้าวิ่ง 1 กม.ร่างกายจะรับแรงรวมเกือบ 80 ตัน

**ระยะทาง ถ้าวิ่ง 50 กม./สัปดาห์ จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากกว่าการวิ่ง 10 กม./สัปดาห์ถึง 5 เท่า การเพิ่มระยะทางวิ่งเร็วเกินไป ทำให้บาดเจ็บง่ายเช่นกัน
**กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหลัง ต้นขาหลังและน่อง
**กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรง ที่พบบ่อยคือกล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้นขาด้านหน้า
**วัสดุดูดซับแรงกระแทก ในรองเท้าเสื่อมสภาพ (วิ่ง 100 กม. เสื่อม 25 %)
**เปลี่ยนพื้นวิ่งทันที โดยไม่ได้ลด load เช่น จากพื้นคอนกรีตเป็นแอสฟัลท์ หรือสลับกัน
**การผิดรูปของเท้า ที่พบบ่อยคือ เท้าแบนหรือปุก ทำให้ฝ่าเท้าแนบกับพื้นเร็ว หรือช้าเกินไป เท้ายืดหยุ่นมาก ขาดแรงถีบส่ง หรือเท้าแข็งมาก ดูดซับแรงกระแทกไม่ดี

บริเวณที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยในนักวิ่งคือ ส่วนขาโดยเฉพาะข้อเข่า ขาท่อนล่าง และเท้า สรุปภาวะที่พบบ่อยได้ดังนี้
*ภาวะปวดสะบ้า


ปัจจัยเสี่ยง
การผิดรูป เช่น ขาท่อนบนบิดเข้า เข่าชิด ขาท่อนล่างบิดออกเท้าแบน(เหมือนขาเปิด)
การตึงของกล้ามเนื้อ ต้นขาทั้งด้านหน้าและหลัง กล้าเนื้อน่อง กล้ามเนื้อและพังผืดด้านนอกต้นขา (ITB)
อาการ
ปวดด้านหน้าเข่า หรือลึกเข้าไปในบริเวณสะบ้า บางครั้งเสียวและมีเสียงครืดคราด จะปวดมากเมื่อนั่งนาน (เช่น ดูหนัง นั่งรถ) และขึ้นลงบันได จะคลายเมื่อเหยียดเข่า สะบ้าเคลื่อนอยู่ด้านนอนก
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ช่วงแรก ต้องลดปวดโดย ประคบเย็นขยับข้อสะบ้าหรือกระตุ้นไฟฟ้า จัดสะบ้าให้อยู่ในแนวตรงโดยพันผ้าเทปกาว
ต่อมา ถ้ามีปัญหาโครงสร้าง เช่น เท้าแบน ต้องใช้แผ่นรองฝ่าเท้า และฝึกกล้ามเนื้อเพื่อเสริมส่วนโค้งของเท้ายืดกล้ามเนื้อกรณีที่มีอาการตึง ฝึกกล้ามเนื้อต้านในสะบ้าให้แข็งแรง

**การขัดสีของพังผืดด้านนอนกต้นขา (LTB)
ปัจจัยเสี่ยง
เข่าโก่ง เท้าแบน เพิ่มระยะทางวิ่งเร็วไป เปลี่ยนไปวิ่งบนพื้นแข็งทันทีรองเท้าเสื่อมสภาพขาดความยืดหยุ่น
อาการ
ปวดด้านนอก เหนือกึ่งกลางเข่า และกดเจ็บชัดเจน พวกที่เป็นมากจะปวดเสียว ที่เป็นน้อยไม่ปวดเมื่อเดิน แต่จะปวดเมื่อวิ่งและบอกตำแหน่งไม่ชัดเจน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ช่วงแรก ประคบเย็น หรือกระตุ้นไฟฟ้า
ต่อมา ยืดกล้ามเนื้อ นวดแบบกดย้ำและรักษาด้วยความร้อน เมื่อจะกลับไปวิ่งต้องค่อย ๆ ปรับระยะทาง เลือกพื้นที่วิ่ง เปลี่ยนรองเท้า

**ภาวะปวดหน้าแข็ง (Shin Splint)
ปัจจัยเสี่ยง
การผิดรูป เช่น ขาท่อนล่างบิดออก เท้าแบน
ผู้ที่เริ่มฝึกวิ่ง วิ่งบนพื้นแข็งหรือไหล่ทางพื้นรองเท้าแข็ง
อาการ
ปวดด้านใน กึ่งกลางหน้าแข็งหรือต่ำลงมาเกือบถึงตาตุ่ม กดเจ็บที่เนื้ออ่อนไม่ใช่ที่กระดูก เริ่มแรกจะปวดหลังจากวิ่ง ถ้ายังฝืนวิ่งต่อจะปวดขณะวิ่ง เดินหรือขึ้นบันได
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ช่วงแรก ประคบเย็น กระตุ้นไฟฟ้า พันผ้าเทปกาว
ต่อมา ความร้อน ค่อย ๆ ปรับระยะทางวิ่ง เลือกพื้นที่วิ่ง ใช้รองเท้าให้เหมาะสม เสริมฝ่าเท้า ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเท้า

**การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย
ปัจจัยเสี่ยง
การผิดรูป เช่น เท้าปุก เข่าโก่ง
พื้นรองเท้าแข็งหรืออ่อนไป วิ่งบนทางลาดชัน สันรองเท้าเตี้ย
อาการ
ปวดและกดเจ็บเอ็นร้อยหวาย ปวดมากตอนเช้า หรือเริ่มวิ่ง เมื่อทำกิจวัตรและวิ่งไปเรื่อย ๆ จะลดลง แต่พอหยุดวิ่งจะปวดกล้ามเนื้อตึง ที่ข้อเท้ากระดกไม่ขึ้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ช่วงแรก ประคบเย็น เสริมส้นรองเท้าชั่วคราว
ต่อมา ยืดกล้ามเนื้อ ประคบเย็น ใช้รองเท้ามีส้นสูงพอสมควร หลีกเหลี่ยงการวิ่งบนพื้นลาดชัน หรือค่อย ๆ ปรักการวิ่ง

**ถุงน้ำเอ็นร้อยหวายอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยง
ส้นรองเท้าคับ จนเกิดการขัดสีบริเวณเอ็นร้อยหวาย
อาการ
กดเจ็บ บวม ด้านในเอ็นร้อยหวายเหนือรอยต่อระหว่างเอ็นกับส้นเท้า
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ประคบเย็น อัลทราซาวด์ เปลี่ยนรองเท้า

**การอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า
ปัจจัยเสี่ยง เท้าแบน
อาการ
ปวดและกดเจ็บฝ่าเท้า โดยเฉพาะส้นเท้าด้านใน อาจร้าวไปอุ้งเท้า ปวดมากตอนเช้า เริ่มลงน้ำหนักหรือเดิน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ช่วงแรก นวดด้วยก้อนน้ำแข็ง พันผ้าเทปกาว
ต่อมา เสริมฝ่าเท้า และฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเท้า

ในนักวิ่งอาจเกิดการบาดเจ็บอื่น ๆ อีก ได้แก่
*กระดูกหน้าแข็งร้าว มีอาการปวดในบริเวณใกล้เคียงกับภาวะปวดหน้าแข็ง แต่จะกดเจ็บบนกระดูก ภาพถ่ายรังสี จะไม่เห็นจนกว่ากระดูกจะคิดแล้ว

*กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังฉีก จากการวิ่งเร่งความเร็ว (sprint) ขณะที่ร่างกายเพลียล้า ขาดน้ำ ระยะแรกใช้น้ำแข็งประคบและยืดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง

*ข้อเท้าพลิก จากการวิ่งในพื้นไม่ราบเรียบ

*ปวดหลัง มักเกิดในกิจวัตรประจำวัน แต่การวิ่งส่งผลให้ปวดหลังมากขึ้น

ข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ถ.สีลม กรุงเทพฯ

 โดยคุณ แมวหลง  เมื่อ 29 พ.ย. 44 23:40:29