<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_organize_standard.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ความสำคัญของการจัดวิ่งให้ได้มาตราฐาน_กฤตย์

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 25ก.ย.49<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

ความสำคัญของการจัดวิ่งให้ได้มาตรฐาน

โดย   กฤตย์  ทองคง

 

ถึงท่านผู้จัดวิ่งที่รัก

                ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้จัดวิ่งที่เป็นหน่วยงานหรือเป็นปัจเจกชน     ผู้เขียนมีบางสิ่งบางประการที่ปรารถนาบอกให้ท่านทราบเกี่ยวกับการจัดวิ่งที่ท่านกำลังจะทำว่า     ผลงานของท่านมีส่วนส่งเสริมหรือทำลายการจัดวิ่งภายหน้าเสมอ  แม้  “การทำลาย”  นั้น เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจก็ตาม

                การจัดวิ่งที่ดี  คือการจัดที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน     ในเกณฑ์มาตรฐานหมายความว่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานและไม่สูงกว่ามาตรฐาน  นี่ว่าโดยทั่วๆไป     บางท่านอาจฉงนว่าการจัดวิ่งที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานนั้นเป็นเรื่องที่ควรปรับปรุงพอเข้าใจได้  แต่การจัดที่สูงกว่ามาตรฐานนั้น  ทำลายวงการวิ่งได้อย่างไร  ติดตามอ่านต่อไปครับ 

               เริ่มที่ต่ำกว่ามาตรฐานก่อน     เช่น     “ไม่มีเหรียญให้”

 

“อะไรกัน  ไม่มีเหรียญ”

“จริงหรือ?  ไม่ใช่มั้ง”

“ไหน เอาโบรชัวร์มาอ่านอีกทีซิ”

“ไปถามผู้จัดเขาดูหรือยัง”

“โอ้โฮ  จะบ้าตาย  จัดวิ่งประสาอะไร  ไม่มีเหรียญวะ”

“แล้วนี่  แม่บ้าน  จะเชื่อหรือว่า  เราไม่ได้หนีเที่ยว”

ฯลฯ

 

               ถ้าผู้จัดใดกำลังจะกล่าวว่า     “ถ้าไม่ชอบ  ก็ไม่ต้องมาสมัครซิ  หมดเรื่อง”     ฟังก่อนครับ  มันไม่หมดเรื่องง่ายๆอย่างนั้นซิ

                ที่พวกเราบางคนกว่าจะมาตระหนักในความข้อนี้ก็เมื่อมาถึงสนามแล้ว  บางรายถ่อมาจากเชียงใหม่ตั้งสี่ห้าร้อยโล  เพื่อมาวิ่งกับการกลับไปอย่างปราศจากเหรียญที่ระลึก     มันร้ายกาจสิ้นดี

                จริงอยู่  แม้ผู้จัดไม่ได้ระบุไว้ในเอกสารประชาสัมพันธ์ว่า  คุณจะให้เหรียญสำหรับผู้วิ่งเข้าเส้นชัย  แต่สามัญสำนึกของนักวิ่งวิญญูชนทุกคน  ย่อมเชื่อว่า  “คุณให้”    เพราะใครๆที่ไหนเขาก็มีให้ทั้งนั้น     ท่ามกลางการจัดวิ่งกันปีละหลายร้อยสนามทุกจังหวัด  การติดตามอ่านโบรชัวร์แบบจับผิดคนจัด  ไม่ใช่บุคลิกของนักวิ่งที่ดี  เป็นแน่  คุณจงอย่าสอนนิสัยเสียนี้ให้เกิดกับหมู่พวกเรา

                เมื่อเร็วๆนี้        (สนามบึงเสนาท  นครสวรรค์  โดยโรงเรียนกีฬา  สิงหาคม  2549)       กว่าที่ผู้เขียนจะรู้ว่าสนามนี้  ไม่มีเหรียญให้  ก็อีกสิบนาทีจะปล่อยตัวแล้ว 

               จะว่าเป็นความเลินเล่อของผู้อ่านโบรชัวร์ไม่รอบคอบเอง  หากผู้จัดกล่าวเช่นนั้น     ผู้เขียนออกจะไม่เห็นด้วยมากนัก     มันเป็นคำกล่าวอ้างที่มักง่ายไปหน่อย     ผู้จัดจะโกรธผู้เขียนที่วิจารณ์เช่นนี้  ย่อมได้เสมอ  แต่เราสมควรมีอะไรที่ต้องพูดกันหน่อย 

               งานมาตรฐานทั่วไป  เขาก็มีเหรียญ  มีเสื้อ  มีถ้วย  มีอาหารพอประมาณ  มีน้ำ  มีฝากของ  มีบริการสุขภาพฉุกเฉิน  อะไรต่างๆประมาณนี้  นี่ไม่ต้องขยายความ  ใครๆทราบกันดี

               ส่วนรายละเอียด  อาจแตกต่างกันไป  เช่น  มีของกินมากหน่อย  มีน้ำหวานเพิ่มเติมจากน้ำธรรมดา  มีถ้วยรางวัลมากบ้างน้อยบ้าง  แบ่งกลุ่มถี่บ้างห่างบ้าง  ก็ว่ากันไป 

               อยากจะบอกผู้จัดว่า  อะไรที่คุณจัดแตกต่างจากพรรคพวกผู้จัดอื่นๆที่ไม่ใช่เรื่องของรายละเอียด  ก็ขอให้ระบุลงไปในโบรชัวร์ให้ชัดเจน  เช่น  เขียนไปเลย  “ไม่มีเหรียญ”  ไม่ใช่ไม่เขียนอะไรเลย  แล้วมาโทษพวกเราอ่านไม่รอบคอบเอง  อย่างนี้อยากต่อยหน้าศรีธนญชัย 

               วันนั้นผู้เขียนเป็นคนที่วิ่งได้ถ้วย  ส่วนตัวไม่รู้สึกอะไรเท่าไร  ได้ถ้วยไปปลอบใจแทน  แต่เจ็บแค้นแทนเพื่อนๆอีกจำนวนมาก  ผู้ซึ่งไม่สามารถวิ่งได้เร็ว     สิ่งเดียวที่จะเป็นสัญญลักษณ์ความภาคภูมิใจในการได้มาร่วมงานนี้ก็คือ  “เหรียญ”  ไม่ใช่เสื้อยืดหรือน้ำเต้าหู้ 

               นึกถึงสมัยที่ตัวเองยังไม่ได้ถ้วย  ก็หวังแต่เหรียญนี้แหละ     จำไว้เลย  เหรียญนี่คือหัวใจของมาตรฐานงานวิ่งเลยทีเดียว     สวยไม่สวย    ถูกใจไม่ถูกใจ  นั่นรายละเอียด  แต่ต้องมี  เข้าใจไหม? 

               คุณผู้จัดที่จัดงานวิ่งที่ปราศจากเหรียญให้  คุณตระหนักหรือไม่ว่า  คุณทำร้ายจิตใจพวกเราอย่างร้ายกาจ  ใจดำต่อผู้ที่อุดหนุนคุณจำนวนมาก  ด้วยว่า  ผู้คนที่อยู่ในฐานะได้เหรียญไม่ได้ถ้วยเป็นส่วนมากของประชากรสนามเสมอ  ทำไมใจร้ายอย่างนี้ 

               เก่งจริงเล่นกันแฟร์ๆ  ระบุให้รู้ดำรู้แดงลงไปว่างานของคุณตกมาตรฐานด้วยการเขียนลงไปในโบรชัวร์ว่า  “ไม่มีเหรียญ”  เพื่อไม่ให้นักวิ่งสับสน  ดูซิว่าจะมีใครมาอุดหนุนกี่มากน้อย  ภาพที่ชัดเจนจะปรากฏ

 

ทำอย่างนี้ไม่ได้หลอกลวง  แต่เขาเรียกว่า  “แหกตา”

ทำอย่างนี้ไม่ผิดกฏหมาย  แต่ละเมิดธรรมจริยา

คุณรู้ตัวเองหรือเปล่า  คุณได้ทำอะไรลงไป

 

               อ้างว่าจัดกีฬาเพื่อนักเรียนค่าสมัครย่อมถูกก็อ้างไม่ขึ้น  มันมีรุ่นแยกไว้ชัดเจน  อีกทั้งค่าสมัครของเด็กก็ถูกลงไปมากอยู่แล้วถึง 20 บาท  รุ่นประชาชนทั่วไป  สนามอื่นก็เก็บประมาณนี้  มีเหรียญสวยๆทั้งสิ้น  คุณจะเพิ่มเป็น  สองร้อยกว่า  ก็ไม่มีใครติดใจ  สนามอื่นแพงกว่าเป็นสามสี่ร้อยยังมี  แต่งานเขามีเหรียญไม่ให้ใครตำหนิได้ 

               จบเรื่องบึงเสนาทเพียงเท่านี้  ต่อไปกลับเข้าเรื่องตกมาตรฐานของสนามทั่วไปทั้งหลาย     เริ่มที่เรื่องเสื้อยืด  ผู้เขียนมีคำแนะนำดังนี้.. 

               มีพวกเรานักวิ่งจำนวนมากปรารภว่า  เสื้อวิ่งล้นตู้  และอยากจะประหยัดค่าสมัคร  เพราะเศรษฐกิจรัดตัว  อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า  เดี๋ยวนี้บ้านเมืองมันเป็นอย่างไร 

               ด้านผู้จัดเองก็อยากขึ้นค่าสมัคร     ที่เก็บอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่กล้าขึ้น  กลัวถูกด่า  ไม่พอค่าใช้จ่าย  แต่เรานักวิ่ง(เชื่อว่ามีจำนวนมาก) ไม่ได้ต้องการเสื้อยืดอีกแล้ว     กล่าวอย่างตรงไปตรงมา  เสื้อวิ่งดีๆเราก็เก็บเอาไว้ใช้มีจำนวนน้อย     ส่วนมาก  70%  จะเป็นเสื้อที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานทั้งเนื้อผ้า  ทั้งสกรีน  และทั้งไอเดียการออกแบบ     “เสล่อ.....เสียไม่มี”      นี่คือถ้อยคำที่อยู่ในใจของพวกเรา  แต่ไม่ได้เอ่ยออกมาดังๆให้ผู้จัดเสียใจ  ได้แต่รับของไปตามสิทธิ์อย่างเงียบๆ

                แล้วเสื้ออย่างไหนจะถูกใจ     เพื่อตอบคำถามนี้  ผู้เขียนอยากให้ผู้จัดตรวจเช็คอย่างง่ายๆโดยการถามตัวเองว่า     “เสื้ออย่างนี้เสื้อที่เป็นผลงานของคุณเนี่ยะ  คุณเองใส่หรือเปล่า”     อย่าให้เป็นเพียงแต่สักแต่ปั้มๆพิมพ์ขึ้นมาด้วยว่าเป็นหน้าที่เฉพาะกิจเหมือนกับนักเรียนลอกส่งรายงานครูเพื่อเอาคะแนน  โดยปราศจากความเข้าใจในเนื้อหา 

               เรื่องนี้จัดการไม่ยากนัก  ที่เราอาจพบความลงตัวกันได้ตรงที่     ถ้าจัดเสื้อวิ่งให้ดีมาตรฐานไม่ได้  ก็อย่าทำเลย  ให้เว้นไป  มูลค่าที่คุณประหยัดไป  จะได้ไปทำเหรียญให้สวยขึ้น  ต้นทุนหน้าเหรียญที่ไปจ่ายให้กับโรงงานมากขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับความสวยงามน่าเก็บตามลำดับ  อีกทั้งความน่าพึงใจตรงนี้จะสะท้อนกลับมาเป็นคำสรรเสริญงานวิ่งของคุณอีกต่อหนึ่ง  ใช่หรือไม่?  หรือไม่ก็คงความสวยงามของเหรียญเท่าเดิม  แต่ไปลดค่าสมัครลง  ที่กำลังจะขึ้นราคาค่าสมัครเพราะพิษเศรษฐกิจ  ก็จะได้ตรึงราคาไว้ต่อไป 

               ยังมีอีกทางหนึ่ง  คือระบุไปเลย  ใครเลือกจะเอาเสื้อหรือไม่เอาก็ได้  ค่าสมัครราคาต่างกัน  อย่าลืมว่า  สนามที่ไม่มีเสื้อ  และสนามที่ไม่มีเหรียญ  เป็นอนันตริยกรรมที่ต่างองศากันนะครับ

 

               ต่อไป  เข้าเรื่องการจัดวิ่งที่สูงมาตรฐานเกินไป  มีส่วนทำลายวงการวิ่งดังนี้

 

               ต้องบอกก่อน  ผู้จัดวิ่งรายเช่นนี้น่ารัก  มีแต่ความปรรถนาดีเป็นเจ้าเรือน  ส่วนมากเป็นนักวิ่งด้วยกันเองที่มาจัด  แล้วก็ออกมาดีจริงเสียด้วย     ถามว่าชอบมั้ย......ชอบกันทุกคน  ผู้เขียนก็ชอบ  แจกอุตลุด  กินเหลิอเผื่อชาติหน้า  อิ่มทั้งท้อง  ตุงทั้งกระเป๋าที่ยัดขนมนมเนยกลับไปกินต่อที่บ้านอีก  เสื้อสวย  เหรียญงาม  บางงานได้ถ้วยทุกคน  เป็นงานแบบที่พิจารณาดูกี่ตลบก็พบว่า  “มันจัดไม่ได้”  ในราคาค่าสมัครแสนถูกที่เก็บไป  เพราะมันจะขาดทุน

                ที่จัดได้เพราะผู้จัดไปได้สปอนเซอร์มาจากแหล่งต่างๆ  ไถสอสอบ้าง  เอางบ  อบต. มาใช้บ้าง  ใกล้กันยายนเข้ามา  เงินงบประมาณใช้ไม่ทัน  มันเหลือ ต้องรีบใช้ให้หมด  เดี๋ยวผู้ใหญ่หาว่าใช้เงินไม่เป็น  ปีหน้าจะอดบ้าง     บ้างก็โยกงบต้านยาเสพติด  เขียนโครงการดึงเอาเม็ดเงินมาลงสนามวิ่งบ้าง  ไหนจะงบส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติอีกเพียบ     ตรงนี้ได้มา  คือปีนี้  จัดได้จัดดี  แล้วปีหน้าจะเอามาจากไหน  งบไม่มีอีกแล้ว  คิดจำเพาะหน้า  ปราศจากวิสัยทัศน์มองภาพรวม ถ้านายเจ๋งจริง  ต้องจัดอย่างนี้ให้ได้ทุกปีนะ

 แต่ความจริงก็คือปีหน้าสอสอรู้แกว  หนีหน้า  สปอนเซอร์สินค้าให้เป็นของแทนความเกรงใจสายสัมพันธ์  แต่ไม่ให้เงิน     ความคืบหน้าจัดงานไปไม่ถึงไหน  โบรชัวร์ออกไม่ได้  ผลคือ  ไม่มีครั้งที่สอง

                เราจึงเห็นแต่ในแต่ละโบรชัวร์  มีแต่ครั้งที่หนึ่ง  และเป็นครั้งเดียว  จำนวนมาก  ที่จะจัดได้ต่อเนื่องไป  มีน้อยมาก

                การจะจัดวิ่งปีต่อไปได้จริง  ก็ต้องอยู่บนการดำเนินงานที่สัมพันธ์กับบริบทของการตลาดที่เป็นจริง     อุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ทั้งหลายมันมีมูลค่า  ไม่ได้เหาะลอยมาจากฟ้าประทาน  แต่ต้องเอาเงินไปจ่ายซื้อหามา ซึ่งได้มาจากค่าสมัคร

                การจัดครั้งที่สอง  เพื่อที่จะเข็นงานออกมาให้ได้  ผู้จัดก็ต้องลดระดับที่เคยเกินมาตรฐานนั้นลงให้เหลือในระดับเท่ามาตรฐาน  เช่นที่เคยแจกถ้วยกันทุกคน  ที่แบ่งห้าปีสิบถ้วย  ก็กลายมาเป็นสิบปีห้าถ้วย  อาหารก็เหลือน้อยลงจากที่เหลือมากมายกลายเป็นแค่พอรับประทาน  ซองรางวัลก็ไม่ต้องมีกัน

                หากผู้จัดทำอย่างนี้  ก็จะถูกนักวิ่งตำหนิ  ถูกว่า  นักวิ่งถูกตามใจจนเคยตัว  ผู้จัดสัปดนไปสร้างมาตรฐานใหม่ให้ตัวเอง  แล้วมันกลายเป็นสิ่งที่ง้ำคอตัวเองในปีต่อๆไป  เสร็จแล้วจึงกลายเป็นว่าที่จัดครั้งที่สองนี้  จัดได้ต่ำลง  สมควรถูกตำหนิทั้งๆที่ก็จัดได้มาตรฐานอยู่แล้ว  เป็นงั้นไป  เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี  หาเรื่องให้ตัวเอง 

               เพราะ  ผลลัพธ์การจัดวิ่งครั้งแรกในปีที่แล้ว  มีผลสร้างนิสัยเสียให้เกิดในหมู่นักวิ่ง(บางคน)  ด้วยพวกเขาใช้เกณฑ์จัดวิ่งแบบนั้นไปตัดสินสนามวิ่งอื่นๆที่เขาเคยจัดได้มาตรฐานอยู่แล้วว่า       “สู้งาน......(นั้นๆ).......ไม่ได้” 

               คุณสงคราม  ไกรสนธิ์  ผู้จัดวิ่งรายหนึ่งตอบนักวิ่งที่เรียกร้องสูงว่า  “งานวิ่งนะครับ....ไม่ใช่งานเลี้ยง”  ได้อย่างถูกต้อง  ตรงประเด็น    ที่น่ากล่าวเช่นนี้ก็เพราะ     อาหารที่สมควรจะมีในงานวิ่งก็คือ     กินกันพอแก้โหย  หลังเข้าเส้นชัย  กว่าจะเสร็จพิธี  กว่าจะรับถ้วย  กว่าจะซมซานอาบน้ำแต่งตัวจากที่พัก  ออกไปหาอะไรกิน  กว่าข้าวจะถึงท้อง  มันจะเป็นลมเสียก่อน  เสียสุขภาพ  จึงสมควรมีอะไรบางอย่างรองท้องไปพลางๆ  อย่างนี้สนามจัดให้ครับ  แต่อาหารเต็มมื้อ  ควรต้องไปหาทานเอง  มิเช่นนั้นค่าสมัครเท่าที่เก็บทุกวันนี้  จะเป็นไปไม่ได้

                ไม่ใช่แต่งานของคุณสงครามที่โดนต่อว่า  คุณสายัณห์  คุณเสือ  คุณยุ้ยโดนหมดอย่างไม่เป็นธรรมกับเขา  ทั้งๆที่เขาก็จัดดี  ได้มาตรฐาน

                ทั้งหมดนี้เป็นเพราะผู้จัดมือสมัครเล่น  ที่ใช้เงินจากแหล่งสนับสนุนต่างๆ  ทีนี้นิสัยเสียของนักวิ่งเป็นกันแล้วแก้ยาก  พอกำลังจะลืมๆ  ก็มีงานละลายแม่น้ำมาเสี้ยมสอนอีก  แม้กระทั่งเจ้าตัวผู้จัดละลายแม่น้ำก็ตอบสนองนักวิ่งเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว  เงื่อนไขปีต่อๆไปไม่เหมือนเดิม  แหล่งทรัพยากรนั้นๆหมดไป  แหล่งใหม่ก็หาไม่ได้

                คนไทยเราเคยชินเสียแล้วกับวัฒนธรรมอุปถัมภ์  ไม่รู้จักพึ่งตนเอง  เอะอะคิดจะจัดงานอะไร  ก็นิยมวิ่งไปหาสอสอรายใหม่ๆให้ไถได้  แต่เชื่อมโยงคิดให้ไกลไม่ได้ว่า  การกระทำของเราเช่นนั้น  จะไปยังผลอะไรภายหน้ากับบ้านเมืองทั้งหมด  นั้นคือต้นทุนของการเข้ามาสู่วงการเมืองของพวกนักเลือกตั้ง  ที่เขาย่อมต้องหาลู่ทางเก็บเกี่ยวคืนแน่  ไม่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ     ของฟรีไม่มีในโลกลูกเอ๋ย

                ถ้าเราจัดงานที่อิงแอบตลาดกับความสามารถที่เป็นจริงไม่ได้  ก็ไม่ควรจัด  แม้จำเพาะหน้าจะไปได้ดี  ควรตระหนักว่า  การจัดวิ่งที่ล้นเกินมาตรฐานของคุณจะไปมีผลปั่นป่วนวงการวิ่งทางอ้อม

                ผู้จัดบางราย  แม้ได้ฟังความนี้แล้วแต่ไม่เข้าใจก็มี  ยังดื้อตาใส  บอกว่า  “ยังไงๆก็จะจัด  แม้ขาดทุนก็จะจัด  ต้องจัดให้ดียิ่งขึ้นไปอีก  ที่เกินมาตรฐานไปแล้ว  ก็จะให้เกินขึ้นไปอีก  ถ้าจัดไม่ได้ก็ไม่จัด  ถ้าจัดต้องให้เพียบเข้าไว้”  ไปโน่น  คิดว่า  “กูแน่”  ซึ่งก็แน่จริงๆ  ไม่เถียงตรงนั้น  แต่วงการวิ่งจะเป็นอย่างไรจากนั้น  กูไม่สน

                เหมือนกับคุณเอาสินค้ามาวางขายชิ้นละสิบบาท  ทั้งๆที่ราคาตลาดร้านอื่นเคียงข้างเขาขายกันร้อยบาท  เท่ากับคุณทุบตลาด  มันจะอลเวง  และมีผลลัพธ์ทำให้ไม่เกิดการซื้อขายอีกต่อไป  ทั้งร้านอื่นและตัวคุณเองด้วย     จึงขอเรียนให้ทราบเพียงเท่านี้

 

 09:08  น.

29  สิงหาคม  2549