<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_no_fatbody.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ไม่อ้วน

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย 46 :  <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

 

ไม่อ้วน...เอาเท่าไร ?

 

บทความของ...นพ.พงษ์เกียรติ ประชาธำรง

“เอาเท่าไร ไม่อ้วนเอาเท่าไร” เสียงเพลงนี้ได้ยินมานานแล้ว แต่วันนี้ผมได้ยินเสียงเพลงนี้ลอยมาตามลมอีกแล้ว อ้วนแล้วทำให้ใครเดือดร้อนหรือเปล่า ทำไมใคร ๆต้องพยายามบอกให้เราไม่อ้วนด้วยนะ ผมเองก็ไม่ใช่คนที่อ้วน แต่ก็ไม่ถึงกับผอมทีเดียว และยิ่งสมัยนี้สังเกตหุ่นพวกดารา นายแบบ นางแบบด้วยแล้ว ยิ่งผอมกันเข้าไปใหญ่

ความจริงแล้วคนเรามีโครงสร้างทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มคนที่ค่อนข้างท้วม (Endomorph) กลุ่มคนสันทัด (Mesomorph) และกลุ่มคนที่ผอมสูง (Ectomorph) โดยที่ นายเชลดอนได้พยายามแบ่งลักษณะและพฤติกรรมไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 และมีการปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน ตามตารางแสดงง่าย ๆ ดังนี้

ลักษณะ คนค่อนข้างท้วม คนสันทัด คนผอมสูง
โครงสร้าง ท้วม กลม เจ้าเนื้อ
น้ำหนักเพิ่มง่าย
ล่ำสัน กล้ามเนื้อมาก ไขมันในร่างกายน้อย ผอมบาง ผอมสูง น้ำหนักไม่ค่อยเพิ่ม
ท่าทางและการกระทำ เชื่องช้า ว่องไว  อะไรง่าย ๆ
การเป็นอยู่ สะดวกสบาย   การเปลี่ยนแปลง แข่งขัน ปกติเดิม ๆ
อารมณ์ ใจเย็น รักเด็ก  ใจร้อน ชอบสั่ง ตื่นเต้นง่าย
สังคม ชอบสังสรรค์
สนุกสนาน
ไม่ชอบอยู่คนเดียว
ไม่หยุมหยิม
 เก็บตัว ไม่เข้าสังคม
การแก้ปัญหา  หนีปัญหา เดินเข้าหาปัญหา   หาคนช่วยแก้ปัญหา
การนอน หลับง่าย   หลับง่าย พอประมาณ  หลับยาก

จากข้อมูลนี้เพื่อที่จะบอกให้เรารู้ว่าเราควรจะอยู่ในกลุ่มไหน และเรื่องอ้วนนี้แน่นอนอยู่แล้วมักจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกลุ่มคนกลุ่มแรกที่ค่อนข้างท้วม เพราะถ้าหากเกินจากท้วมก็จะกลายเป็นอ้วน และอะไรคือความหมายของคำว่าอ้วน อ้วนคือการที่มีน้ำหนักเกินกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป โดยทั่วไปเปรียบเทียบกับเพศ ส่วนสูง น้ำหนักตัวและอายุ วิธีพื้นฐานที่นิยมกันมากคือ การหาดัชนีมวลกายหรือ BMI (body mass index) เป็นค่าน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ตัวอย่าง คนที่สูง 1.78 เมตร น้ำหนักตัวเท่ากับ 77 กิโลกรัม ค่าดัชนีมวลกายคือ 24.3

ค่าปกติของดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 20-24.9 หากค่านี้สูงกว่า 30 ถือว่าอ้วน และหากมากกว่า 35 ถือว่าอ้วนมากจนเกิดสภาวะของโรคที่เป็นอันตรายแต่สำหรับใรก็ตามที่อยู่ระหว่าง 24.9-30 ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ผมจะเรียกว่าท้วมถึงท้วมมาก คราวนี้จะมาสู่เรื่องทางการแพทย์กันหน่อยว่า อ้วนนี้จะมีอันตรายอะไรบ้าง ทำไมเราถึงไม่ต้องการให้อ้วนกัน

หากมีน้ำหนักมากกว่าปกติประมาณ 10% จะทำให้ท่านอายุสั้นลงกว่าปกติถึงประมาณ 11% ในผู้ชาย และ 7% ในผู้หญิง และหากน้ำหนักมากกว่า 20% ความเสี่ยงก็จะสูงขึ้นอย่างมาก โดยมีผลต่อหลายระบบ อาทิเช่น

- กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มคนที่น้ำหนักเกินมักจะมีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าปกติ โดยพบว่าที่อายุ 45-74 ปี กลุ่มคนอ้วนจะมีโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติถึง 2 เท่า แต่ถ้าอายุ 20-44 ปีจะมีอัตราเสี่ยงสูงมากกว่าถึง 5 เท่า นอกจากนี้แล้วยังมีความเสี่ยงของสภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันตลอดจนถึงสภาวะเส้นเลือดในสมองมีการฉีกขาดและก่อให้เกิดอัมพาตสูงกว่าคนปกติ

- กลุ่มโรคจากการเผาผลาญพลังงานผิดปกติ และโรคของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ในกลุ่มคนที่อ้วนย่อมมีความเสี่ยงของการที่จะมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ตลอดจนมีการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งภายนอกที่เรามองเห็นด้วยตา และภายในเช่นที่ตับ ก่อให้เกิดภาวะทางการแพทย์ที่เรียกว่า fatty liver คือไขมันไปสะสมในเนื้อตับมีการเบียดเนื้อตับและอาจส่งผลให้มีการทำงานผิดปกติของตับได้ ตลอดจนการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดเปราะบางและอุดตันได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังพบสภาวะของอ้วนสัมพันธ์กับกลุ่มของโรคเบาหวานบางชนิด

- กลุ่มโรคของระบบกล้ามเนื้อและข้อ คนที่ค่อนข้างอ้วนและอ้วนย่อมมีน้ำหนักมาก ทำให้เกิดการสึกหรอของข้อที่รับน้ำหนักตัวได้มาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ตลอดจนพฤติกรรมที่มักจะชอบอยู่สบาย ๆ ไม่ค่อยมีการออกกำลังกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อมักไม่ค่อยแข็งแรง จึงทำให้มีการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ และปวดของข้อจากเสื่อมสภาพได้สูงกว่าคนปกติ และจากเรื่องนี้เองอาจจะส่งผลถึงระบบการหายใจอีกด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมจะต้องทำงานอย่างหนักในการต้านไขมันที่สะสมที่หน้าท้อง แต่ปัญหาการหายใจนี้มักจะพบในผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 และจะเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัดที่มีการดมยาก่อนการผ่าตัด และหากต้องผ่าตัดที่ต้องมีการแทงเข็มเข้าระงับการปวดที่สันหลัง กลุ่มนี้ก็จะค่อนข้างยาก และที่หนักหนาที่สุดคือพวกที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35

- กลุ่มโรคมะเร็ง ในกลุ่มคนที่อ้วนมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ในหลายระบบสูงกว่าคนปกติ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุของการเกิดมะเร็งนั้นมาจากอาหารถึง 35% (จากบุหรี่ 30%, จากพฤติกรรมทางเพศ 7%, จากอาชีพ 4%} จากแอลกอฮอล์ 3%, จากรังสี 3%, จากมลภาวะ 2%, จากผลผลิตอุตสาหกรรม 1%, จากยา 1%, และไม่ทราบสาเหตุ 14%) โดยในกลุ่มนี้จะเป็นมะเร็งในถุงน้ำดี มะเร็งในมดลูก มะเร็งของลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งของต่อมลูกหมาก มะเร็งของตับอ่อน และมะเร็งบางชนิดพบว่าสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นมะเร็งของลำไส้ใหญ่สามารถลดลงด้วยการออกกำลังกาย

รวมความแล้วการที่เรามีรูปร่างที่อ้วน มีความเสี่ยงต่อความยืนยาวของชีวิตค่อนข้างมากตลอดจนยังมีผลต่อคุณภาพของชีวิตในการดำรงชีวิตอยู่อีกอย่างมาก และจากรายงานทางการแพทย์จะพบว่าคนเรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนธันวาคม ทั้งนี้เนื่องจากมีวันหยุดค่อนข้างมาก กิจกรรมด้านนันทนาการและการจัดเลี้ยงค่อนข้างมาก ตลอดจนอาหารที่เกี่ยวข้องกับงานเลี้ยงในเดือนนี้มักจะมีครีมและไขมันค่อนข้างมาก อาทิเช่น ไอศกรีม ขนมเค้ก ฯลฯ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านลดการทานอาหารลงได้บ้าง และเริ่มมาออกกำลังกาย เพื่อเราจะได้มีรูปร่างที่สวยงาม มีสุขภาพที่ดีตลอดปีนี้และปีต่อ ๆ ไป