โดย ... ผ.ศ.นพ.พันธ์ศักดิ์
ศุกระฤกษ์
เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์
รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ
ของเพศชาย
.ในผู้ชายฮอร์โมนเพศจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
และเริ่มมากขึ้นอีกครั้ง
ในช่วงของวัยรุ่นจนเป็นหนุ่มเต็มที่..
จากนั้นก็จะอยู่คงที่ในช่วงวัยผู้ใหญ่จนอายุประมาณ
40-45 ปี การสร้างฮอร์โมนเพศชาย
ก็จะช้าลงซึ่ง
จะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายได้
การให้ฮอร์โมนเพศชายเสริมในผู้ชายวัยทอง
มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ทั้งร่างกายและจิตใจ
ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้ามเนื้อ
กระดูก ความจำ ฯลฯ ดังนั้น
.การให้ฮอร์โมนเพศชายเสริม
ในผู้ชายวัยทองจึงมิได้จำกัดอยู่ที่
การรักษาภาวะเสื่อมสมารถภาพทางเพศ
ดังที่คนทั่วไปเข้าใจกัน
ทำไมเรียกว่า
."ผู้ชายวัยทอง
?
ผู้ชายในช่วงวัย 40-50
ปี
มักอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารทั้งในส่วนราชการ
และเอกชน
จะมีความมั่นคงทั้งด้านการงานและครอบครัว
จึงถือว่าเป็นวัยที่ประสบความสำเร็จของชีวิต..ซึ่งเรียกว่า
วัยทอง
จากการศึกษาของ MMSA (Massachusetts Male Aging Study)
พบว่า
เมื่อย่างเข่าสู้วัย 40
ปี
ระดับฮอร์โมนเพศชายจะลดลงประมาณปีละ
1% และเมื่อผู้ชายอายุ 65 ปี
พบระดับฮอร์โมนเพศชาย
ต่ำกว่าในวัยหนุ่ม ถึง 25 %
การลดลงของระดับฮอร์โมนเพศชาย
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ทำให้เกิดสภาวะผิดปกติ
ทั้งร่างกาย
และจิตใจเป็นการบั่นทอนสุขภาพส่วนตัว
ชีวิตครอบครัวรวมถึงคุณภาพการทำงาน
พบว่าอาการต่าง
ๆ
ตังกล่าวเกิดขึ้นในวัยทองนั่นเอง
พบการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ในชายวัยทอง?
ในชายวัยทองนั้น
ผลของการที่ลูกอัณฑะ
ผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง
ส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะต่าง
ๆ ที่ควบคุมโดยฮอร์โมนเพศชาย
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
.การเผาผลาญไขมันลดลง
ทำให้มีไขมันส่วนที่เกิน
ชายวัยทองจึงมัก
ลงพุ่งกล้ามเนื้อลีบเล็กลง
แข็งแรงน้อยลง
ผมศรีษะบางขึ้น
นอกจากนี้
ยังพบว่าความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง
ไม่มีอารมณ์เพศ
เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอันได้แก่
อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
หรือแข็งตัวไม่นานพอที่จะทำกิจกรรมทางเพศได้
บางรายอาจไม่ถึงจุดสุดยอด
ซึ่งไปมีผลกับการดำเนินชีวิต
และหน้าที่การงานด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจที่เกิดขึ้นในวัยนี้คือ
มีอาการซึมเศร้า
ห่อเหี่ยวขาดความกระฉับกระเฉง..ไม่กระตือรือร้น
นอนไม่หลับ
บางรายมีอาการเหนื่อยง่ายใจสั่น
มีเหงื่อออกตามมืออาจพบอาการร้อนวูบวาบได้
เช่นเดียวกับในสตรีวัยหมดประจำเดือน
ทำไม
ในผู้ชายวัยทองถึงลงพุง?
ในผู้ชาย
ที่มีภาวะการขาดฮอร์โมนเพศ
มีผลทำให้
ขนาดของกล้ามเนื้อลดลง
มีการสะสมของไขมันบริเวณลำตัวมากขึ้น
โดยเฉพาะส่วนหน้าท้อง
จึงมักจะพบการลงพุง
ในชายสูงอายุ
พร้อม ๆ กับ
การลีบเล็กลงของกล้ามเนื้อ
ผู้ชาย
จะมีโอกาสหมดฮอร์โมนเพศเหมือนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือไม่
?
ผู้ชายไม่มีวันหมดฮอร์โมนเพศชายเหมือนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
เพียงแต่มีการลดลงของระดับฮอร์โมน
ในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่
40 ปี ขึ้นไป
.เนื่องจากอัณฑะ
ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศทำงานลดลง
นอกจากนี้
ฮอร์โมนเพศชายอิสระยังถูกโปรตีนในกระแสเดือด
จับเพิ่มมากขึ้น
ทำให้มีฮอร์โมนเพศที่ทำงานได้น้อยลง
ผลที่ตามมาคือ
มีอาการแสดงออกเช่นเดียวกับการขาดฮอร์โมน
ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เช่น..มีอารมณ์แปรปรวน
.สมาธิลดลง
มีไขมันสะสมมากขึ้น
รูปร่างอ้วนขึ้น
กล้ามเนื้อลีบเล็กลง
สูญเสียเนื้อกระดูก
มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
เป็นต้น
โดยการลดลง
ของฮอร์โมนเพศชายค่อย
ๆ ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ฮวบฮาบ
เหมือนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
อาการต่าง ๆ ที่เกิด
จึงไม่ชัดเจนและรุ่นแรงเหมือนสตรีวัยหมดประจำเดือน
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
.ผู้ชายไม่มีโอกาส
ที่จะหมดฮอร์โมนเพศ
แต่อาจประสบปัญหาภาวะ
การขาด
ฮอร์โมนเพศได้
ทำไมเรียกว่า
.ผู้ชายวัยทอง?
พบการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ในชายวัยทอง?
พบการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ในชายวัยทอง?
ผู้ชาย
จะมีโอกาสหมดฮอร์โมนเพศเหมือนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือไม่
?
มีสาเหตุใดบ้าง
ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศลดลงก่อนวัยอันควร(ในชายปกติ)?
จากรายงานการวิจัยพบว่า . เมื่อผู้ชายอายุย่างเข้า 40 ปี .จะมีระดับฮอร์โมนเพศลดลงประมาณปีละ 1 % ปัจจุบัน พบ ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศชาย ในชายที่อายุไม่มาก ทั้งนี้อาจเกิดจาก .
1.)
มลภาวะในสิ่งแวดล้อม
ปริมาณของสารเคมีในบรรยากาศพบว่า
เป็นตัวเร่งให้เนื้อเยื่อต่าง
ๆ รวมทั้งอัณฑะ
ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศที่สำคัญเสื่อมก่อนวัย
2.) ความเครียด
ทำให้นอนไม่หลับ
เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
จะทำให้ระบบของการทำงานของร่างกายผิดปกติไปนอกจากนี้
การนอนไม่หลับ
ยังส่งผลต่อระบบควบคุมการ
สร้างฮอร์โมนเพศ
ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศลดลงด้วย
3.) การทำงานหนัก โดยไม่พักผ่อน
4.) การใช้ชีวิตที่สิ้นเปลื้อง
เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่
5.) ภาวะทุโภชนา
และขาดการออกำลังกาย
การใช้
.ฮอร์โมนเพศชาย
มีประโยชน์อย่างไร ?
ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศชายนอกจากทำให้เกิด
ปัญหาความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศแล้ว
ยังทำให้เกิดอาการต่าง
ๆ
ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น
ทำให้กล้ามเนื้อลีบลง
มีไขมันสะสมมากขึ้น
รูปร่างอ้วนขึ้น
กำลังของกล้ามเนื้อลดลง
ความจำและสมาธิลดลง
อารมณ์แปรปรน
สูญเสียเนื้อกระดูก
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
เป็นต้น
เพียงแต่ปัญหาต่าง ๆ
ไม่ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงเท่ากับปัญหาความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมในชายวัยทอง
จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรักษา
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ
แต่หมายถึงการรักษาอาการ
.ที่เกิดจาก
ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศชายและยังช่วย..เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี
.แก่ผู้ชายวันนี้ด้วย
ควรเลือกใช้ ฮอร์โมนเพศชายเสริม .อย่างไร ?
ปัจจุบันฮอร์โมนเพศชายเสริม
.มีหลายรูปแบบ
ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป
..
-ชนิดรับประทาน มีทั้ง
ชนิดที่เป็นพิษต่อตับ
(เช่น ..เมทิลเทสโทสเตอโรน และ
ฟูลอ็อกซี่เมสเทอโรน) ..และชนิดที่..ปลอดภัยไม่เป็นพิษต่อตับ
..(ได้แก่ เทสโทสเตอโรน
อันเดคาโนเอท) ซึ่งชนิดนี้
สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของร่างกาย
-ชนิดฉีด ไม่ค่อยนิยมใช้
ดังนั้นการเลือกใช้
ฮอร์โมนเพศชายเสริม..จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของรูปแบบยาต่อผู้ใช้
.
อาการข้างเคียง
รวมถึงความปลอดภัยในการใช้
ทั้งระยะสั้น และระยะยาวด้วย
ควรได้รับการตรวจว่า
ไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ซึ่งเป็นข้อห้ามของการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมเสียก่อน
มีวิธีเตรียมตัวอย่างไร
?
ก่อนให้ฮอร์โมนเพศชายเสริม
?
การเตรียมตัวก่อนได้รับ
.ฮอร์โมนเพศชายเสริม
มีความสำคัญช่วยให้ผู้ใช้
ได้ประโยชน์สูงสุด
และความปลอดภัยสูงสุด
แม้ว่าจะไม่มีรายงานใด ๆ
บ่งบอกว่า
ฮอร์โมนเพศชายเสริมทำให้ต่อมลูกหมากโต..หรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
แต่ถ้ามีประวัติเป็นอยู่
ก่อนได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริมแล้ว
เมื่อได้รับฮอร์โมนจะทำให้โรคลุกลามมากขึ้น
ก่อนได้รับ
ฮอร์โมนเพศชายเสริม
นอกจากต้องตรวจร่างกายทั่วไป
ว่าเป็นปกติแล้ว
ควรทำการตรวจ
ทางทวารหนักดูขนาดของต่อมลูกหมาก
ว่าโตผิดปกติหรือไม่
และเจาะเลือดดูค่า PSA (หรือ Prostate
Specific Antigen) โดยจะต้องมีค่า
.ต่ำกว่า
4 นาโนกรัม
.ต่อมิลลิลิตร ( PSA < 4
ng/ml)
จึงสามารถรับฮอร์โมนเพศชายเสริมได้
อย่างปลอดภัยควรตรวจหาค่า PSA
เป็นประจำทุกปี
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มระดับมากกว่า
4 นาโนกรัม ต่อมิลลิลิตร
ควรหยุดฮอร์โมนเสริม
ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม
การตรวจการทำงานของตับมีความจำเป็นไม่มากนัก
ถ้าเลือกใช้ฮอร์โมนเพศเสริมชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อตับอาจตรวจค่า
PSA
เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลเบื้อง-ตนเท่านั้น
การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริม
ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่
และจะตรวจหาความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
.ได้อย่างไร
?
ฮอร์โมนเพศชายเสริมไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิด
มะเร็งต่อมลูกหมาก..แต่การเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ก่อน
เป็นข้อห้ามใช้โดยเด็ดขาด
.
สำหรับการใช้ฮอร์โมนเพศเสริม
เพราะจะทำให้มะเร็งลุกลามมากขึ้น
แพทย์จะตรวจขนาดและรูปร่างของ
ต่อมลูกหมากโดยการใช้นิ้ว
หรืออัลตราซาวด์
ตรวจผ่านทวารหนัก
ร่วมกับการซักถามอาการที่เกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน
แพทย์อาจตรวจดูระดับของ PSA (Prostate
Specific Antigen) ในเลือดควบคู่
ไปด้วยเพื่อดูว่า
มีโอกาสของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
หรือไม่
ค่าของ PSA
ควรจะอยู่ในเกณฑ์ปกติมาตรฐาน
จึงสามารถได้รับ
ฮอร์โมนเพศชายเสริม
โดยปลอดภัย
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
สามารถใช้
.ฮอร์โมนเพศชายเสริม
หรือไม่ ?
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจสามารถใช้
.ฮอร์โมนเพศชายเสริมได้
โดยไม่มีปัญหา
แต่อย่างใด
.แต่ควรได้รับการปรึกษาแพทย์ก่อน
เพื่อปรับขนาดของ
ฮอร์โมนเพศชายเสริม
.ให้เหมาะสม
จากรายงานการศึกษาวิจัย
.
ที่ทำในประเทศจีน
ได้ผลในระยะแรกว่า
.ผู้ป่วย
ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงนั้นเมื่อได้รับ
ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน
อันเดคาโนเอท
ชนิดรับประทานพบอาการต่าง ๆ
ดีขึ้น
เป็นผลให้
คุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย
มีวิธีสังเกต
หรือตรวจอย่างไรว่า ?
เข้าสู่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายหรือยัง
?
สามารถใช้
แบบทดสอบข้างล่างนี้
ทำการทดสอบด้วยตนเอง
ก็จะเป็นแนวทางให้คุณทราบว่า เข้าสู่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายหรือยัง
โดยขีดเครื่องหมาย ถูก หน้าคำว่า .ใช่ หรือ ..ไม่ใช่ เท่านั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.
คุณมีความต้องการทางเพศลดลง
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. คุณเคยรู้สึกเหนื่อยง่าย
ไม่มีเรี่ยวแรง
เหมือนร่างกายขาดพลังงาน
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. คุณเคยรู้สึกว่า
ความแข็งแรงและความ
มีพละกำลังลดลงไป
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4.
คุณรู้สึกว่าคุณเตี้ยลงหรือไม่(ภาวะกระดูกเสื่อม)
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5.
คุณรู้สึกว่าความสุขในชีวิตลดน้อยลงหรือ
รู้สึกว่าถอยห่างออกไป
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6.
คุณเคยรู้สึกซึมเศร้า
เหงาหงอยอยากอยู่คนเดียว
[] ใช่
[] ไม่ใช่
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7. คุณเคยมีความรู้สึกว่า
ช่วงเวลา
ปฏิบัติกิจกรรมทางเพศ
อวัยวะเพศแข็งแรงน้อยไป
[]ใช่
[] ไม่ใช่
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
8. คุณนอนหลับง่าย
คล้ายคนหมดแรง
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9. คุณเคยรู้สึกว่า
ความสามารถในการเล่นกีฬาน้อยลง
[]
ใช่
[] ไม่ใช่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10. คุณรู้สึกว่า
ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
[] ใช่
[] ไม่ใช่
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินผล
ถ้าคุณตอบว่าใช่ ในข้อที่ 1
หรือ ข้อ 7 หรือข้ออื่น ๆ รวม 3
ข้อ
แสดงว่า
.คุณอาจอยู่ใน
ภาวะฮอร์โมนเพศชายลดลง
เพื่อความมั่นใจในผลการทดสอบควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือดดูระดับของฮอร์โมนเพศชายว่าลดต่ำลงมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้คุณอาจจะต้องได้รับ
ฮอร์โมนเพศชายเสริม
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
ในช่วงวัยทองของคุณเอง