<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_latic_acid.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ไอ้กรด...มึง..นะ..มึง

 

ไอ้กรด….มึงนะมึง

             

              เมื่อวันที่ 15 – 18 กรกฎาคม 2545 ผมได้เข้ารับการอบรมวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่าด้วย Modern endurance training ซึ่งจัดขึ้นโดย ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย  การอบรมครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเสียเงินค่าอบรมคนละพันห้าร้อยกว่าบาท แต่สำหรับผมและบรรดาครูอาจารย์จากสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยต่างๆหลายสมาคมไม่ต้องเสียเงินแต่อย่างใด มันเป็นอภินันทนาการจาก กกท. ที่มีค่ายิ่งในสายตาของผม   วิทยาทานครับ โครงการแบบนี้ ผมเห็นว่า ดีและมีประโยชน์มาก มากกว่าเงินทองที่ กกท.ให้พวกเราซะอีก อยากจะให้ กกท.จัดบ่อยๆ และหวังว่ามันจะค่อยๆเจริญงอกงามขยายกว้างไปทั่วประเทศ   ในการอบรมมีบรรดาครูอาจารย์จากสถานศึกษาต่างๆมาร่วมมากมาย นอกจากนี้บรรดาแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพจากหลายๆองค์กรก็มาร่วมรับการอบรมด้วย  ทั้งหมดประมาณ 140 คน

              อาจารย์ที่มาเป็นวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ Dr. Ulrich  Hartmann และ Mr. Gunter Lange จากเยอรมันทั้งคู่  สำหรับ Mr. Gunter นี่ตอนนี้เป็น Coach ให้กับสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นมาตั้งแต่ปี 1998 จนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์จันทร์ อยู่แพทย์และอาจารย์เอกวิทย์ แสวงผล มาช่วยในการบรรยายทางวิชาการด้วย

              คนมาอบรมเยอะ อาจารย์ก็จริงจัง บรรยากาศก็คึกคัก ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเลย การอบรมเน้นหนักไปทางทฤษฎี มีภาคปฏิบัติเพื่อทดสอบแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีที่อาจารย์บรรยายมานั้น มันถูกต้องใช้ได้ในทางปฏิบัติแค่ไหน เพียงใด

              4 วันที่ผมไปนั่งฟังมา ผมได้อะไรมาบ้าง นอกจากใบประกาศนียบัตรสองใบ

              สิ่งที่ผมได้มา….Adaptation aspects, Consequences for sports, Base of energy supply, Simulation of energy supply, General aspects to training, Practical session related to endurance events(Swimming, Cycling, Running and rowing), Bases/Physiological profiles of training methods, Energetic profiles of disciplines, Energy supply and adaptation, Practical session related to ballgames, Diagnostic proceedings in laboratory, Diagnostic proceedings/testing in field และ Possibilities of training monitoring ในจำนวนนี้ มีหลายเรื่องที่ผมไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย

              ในวันสุดท้ายของการอบรม ผมได้รับการปรบมือชมเชยจากอาจารย์ Dr. Ulrich Hartmann  Mr.Gunter Lannge และบรรดาผู้เข้ารับการอบรมลั่นห้องบรรยาย

              ปรบมือเรื่องอะไร ?

              กรด Lactic ที่เกิดขึ้นในร่างกายของคนเรานั้น มันก็เป็น กรด ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติร้ายกาจพอๆกับน้ำกรดที่พวกเรารู้จักกันอยู่ มันมีฤทธิ์ในทางทำลายที่จะกัดกร่อนทุกอย่างที่อยู่ใกล้  อย่าว่าแต่เนื้ออ่อนๆของพวกเราเลย แม้แต่เหล็ก หากเจอกรดเข้าจังๆ  ก็พังพินาศ….ถูกกัดกร่อนจนกระจุย

              กรด Lactic จะเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อ แล้วถ่ายออกสู่กระแสเลือดตลอดเวลา แม้ในขณะที่เรานอนดูทีวีอยู่ที่บ้านโดยไม่ได้ออกกำลังอะไรเลย แต่ปริมาณที่มันเกิดขึ้นกับที่ร่างกายขจัดมันออกไปอยู่ในภาวะสมดุล เราจึงไม่รู้สึกอะไรเลย (แต่เดิมมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กรดแลคติดจะเกิดขึ้นเมื่อเราออกกำลังกายแล้วเท่านั้น ซึ่งต่อมา จากการทดลอง ปรากฎว่า ความเชื่อเดิมๆนั้นผิด)

             แต่ถ้าเราออกกำลังกายมากขึ้น มากขึ้น กล้ามเนื้อก็จะทำงานหนักขึ้น ความต้องการออกซิเจนและสารอาหารก็มีมากขึ้น กระบวนการ Metabolism จะทำงานมากขึ้น กรด Lactic ในกล้ามเนื้อก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเป็นสัดส่วนกัน จากนั้นมันก็จะถ่ายเข้าสู่กระแสเลือดเรื่อยๆเหมือนกัน อย่างไรก็ตามในกระแสเลือดจะยังมีกรด Lactic สะสมน้อยกว่ากล้ามเนื้อตลอดเวลาที่ยังออกกำลังกายอยู่

             ในขณะที่กรด Lactic ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของของเหลวในร่างกาย ( ค่า pH) ต่ำลง ผนังของเซลจะถูกทำลาย Mitochondria ก็จะถูกทำลายไปด้วย Mitochondria คือ Powerhouse  ซึ่งเปรียบเหมือนห้องเครื่องเสื้อสูบรถยนต์นั่นเอง พลังงานทั้งหมดจะเกิดมาจากส่วนนี้ ขอให้นึกถึงรถยนต์ 8 สูบ ถ้าเราขับมันไป สุไหงโก-ลกเชียงใหม่ และเชียงใหม่สุไหงโก-ลก ติดๆกันทุกวัน เร่งเครื่องสุดๆยังกับจรวดไม่นานเสื้อสูบก็จะพัง กระบอกสูบก็จะแตก  จริงอยู่ แม้ว่ามันก็พังไปแค่หนึ่งสูบ เหลืออีกเจ็ดซึ่งแม้จะยังสามารถทำงานต่อไปได้ก็ตาม แต่อยากจะถามว่า หากลูกสูบห้องเครื่องทำงานไม่เต็มสูบไม่ครบตามส่วนประกอบของมัน สมรรถนะที่ควรจะเป็นและที่ควรจะได้สำหรับรถยนต์คันนั้นมันยังจะเต็มที่อยู่อีกหรือไม่  ร่างกายของเราก็เหมือนกัน เมื่อ Mitrochondria ถูกทำลายไปมากกว่าการเพิ่มขึ้นของมันเพราะการซ้อมหนัก(ถูกกรดแลคติดทำลายร่างกายของเรายังจะมีสมรรถนะสูงอยู่อีกหรือไม่ ถ้าเป็นนักไตรกีฬาด้วยแล้ว ต้องถามตัวเองว่านี่เราต้องการสร้างสมรรถนะ(Mitrochondria) ของเราเพื่อจะเอาไปแข่งขัน/ใช้งาน  หรือ ต้องการจะทำลายสมรรถนะของตนให้ลดลงแล้วไปแข่งขัน/ใช้งานกันแน่

              สรุปได้หรือยังล่ะว่า การซ้อมหนัก(เกินไป)จนร่างกายขาดความสมดุลนั้น ผลร้ายมันจะเกิดขึ้นกับเรามากกว่าผลดีที่ควรจะได้รับ(จากการฝึกซ้อม)มากมายเพียงใด

               ปัญหาที่พวกเราอยากได้คำตอบกันมากก็คือ….ซ้อมอย่างไรจึงจะเหมาะสม จะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกหนักไป หรือฝึกเบาไป หรือ…..นั่นแหละใช่เลย

               หลักการที่ยึดมั่นกันทั่วโลก คือ การฝึกซ้อมที่เพิ่มความหนักไม่เกินสัปดาห์ละ 10 % ของความหนักหรือของเวลา หรือของระยะทาง หรือ ของจำนวนหน่วยของงานที่เราฝึกซ้อมอยู่นั่นแหละปลอดภัยที่สุด ใกล้เคียงที่สุด  ว่ากันจริงๆแล้ว มันไม่มีมาตรตวงวัดอะไรเลยที่จะมาตวงหรือมาวัดความพอดีของการฝึกของนักกีฬาแต่ละคนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เหมือนตวงข้าวสาร วัดปริมาณน้ำ  อีกทั้งเรายังจะต้องสังเกตอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นในร่างกายระหว่างฝึกซ้อมด้วย     อย่างไรก็ตาม ในทางวิทยาศาสตร์การกีฬา มีวิธีวัด ความหนักอยู่หลายวิธี เช่น วัด VO2 Max (ปริมาณการใช้ออกซิเยนสูงสุดของร่างกาย) วัด HR (วัดอัตราการเต้นของหัวใจ) วัดกรด Lactic  และวัดด้วยระบบ MRI (Magnetic Resonant Imagine)

              การวัดปริมาณการใช้ออกซิเยนของร่างกายนั้น ต้องการเครื่องมือมากมายยุ่งยาก ราคาแพงลงทุนมาก คนใช้ก็ต้องมีความรู้และจำนวนหลายคน ขณะที่นักกีฬากำลังวิ่งซ้อมอยู่ในสนาม คนวัดต้องคอยอยู่ข้างสนาม ถ้าจะทำการทดสอบตรวจวัดเป็นเรื่องเป็นราวสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ใหญ่ๆน่ะ พอได้อยู่หรอก แต่สำหรับพวกเรานักไตรกีฬาแต่ละคน แต่ละกลุ่มนั้นลืมวิธีนี้ไปได้เลยวิธีการวัดน่ะดีแน่….แต่มันไม่ใช่และไม่เหมาะสมสำหรับเราเลย   การวัดกรด Lactic ในร่างกายนี่ก็ดีมากและตรงเป้าที่สุด แม่นยำที่สุดถ้าใช้วิธี Biopsy (คือ การเจาะกล้ามเนื้อเพื่อเอาเนื้อเยื่อมาตรวจวัดหาจำนวนกรด Lactic ที่เกิดขึ้นในนั้นแต่ขอโทษขอให้นึกภาพการเอาของแหลมคมเจาะเข้าไปที่น่อง หรือกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่เราใช้ในการว่าย/ปั่น/วิ่งดูนะว่ามันจะเจ็บปวดขนาดไหน วิธีการคือ ผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์การกีฬาเขาจะใช้เครื่องมือมาเจาะกล้ามเนื้อของนักกีฬาเพื่อตัดเอาเนื้อเยื่อในกล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการจะตรวจวัดออกมา วิธีนี้จะแสดงผลได้แม่นยำที่สุด แต่จะมีนักกีฬาคนใด(แม้คนที่ใจถึงสุดๆก็ตาม)จะยอมให้เจาะ ยอมให้ทำอย่างนี้ไปทุกสัปดาห์ เป็นเดือนเป็นปีแม้แต่นักกีฬาระดับโลกยังส่ายหน้าไม่เอาโว้ยว่าแล้วก็เผ่น……ก็มันเจ็บปวดจริงๆนี่ครับ  ใครไม่เชื่อลองดูได้เลย

              ยังเหลือการเจาะเอาเลือดออกจากร่างกายมาตรวจ นี่เป็นวิธีที่แม่นยำน้อยลงมาจากวิธี Biopsy แต่ก็ดีเกือบที่สุดรองจาก Biopsy   วิธีการก็คือ เมื่อนักกีฬาฝึกซ้อม ผู้เชี่ยวชาญเขาก็จะมาเจาะเลือดเอาไปตรวจหากรด Lactic เป็นระยะๆ ห่างกัน  5 นาที  4นาที 3 นาทีบ้าง ที่ว่ามันไม่ได้แม่นยำที่สุดก็เพราะ กรด Lactic มันเกิดในกล้ามเนื้อแล้วถ่ายเข้าสู่กระแสเลือด อัตราส่วนของกรด Lactic ในกล้ามเนื้อจะสูงกว่าในกระแสเลือดตลอดเวลา และจะลดลงมาเท่ากับในกระแสเลือดก็ต่อเมื่อหยุดการออกกำลังกายไปแล้วระยะหนึ่ง    ฉะนั้น อัตราความคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องมันก็จะมีอยู่บ้าง เมื่อต้องมาวัดหาจำนวนของกรด Lactic ในเลือด ยิ่งเจาะเอาเลือดส่วนที่ไม่ใช่ตรงกล้ามเนื้อส่วนที่ออกกำลังกายด้วยแล้ว ยิ่งคลาดเคลื่อนไปมากกว่าเจาะเอาตรงส่วนที่ออกกำลัง เช่น อยากจะตรวจกรด Lactic จากการวิ่ง ก็ต้องเจาะเอาจากน่องจากขา ไม่ใช่มาเจาะเอาจากติ่งหู อย่างไรก็ตามการเจาะเอาเลือดของเราที่ติ่งหูหรือปลายนิ้ว หรือส่วนต่างๆของร่างกายนั้น มันย่อมทำให้ เจ็บ”   ผมเองช่วงทดสอบตอนไปอบรมถูกเจาะติ่งหู ตอนเย็นเมื่อกลับบ้านและเข้านอน หูของผมยังร้อนและเจ็บทั้งคืนยันเช้า นี่ถ้าต้องทำการเจาะตรวจทุกสัปดาห์หลังการฝึกเพื่อหาค่าของกรด Lactic แล้วละก้อ นักกีฬาคนหนีกันหมด

              อย่างไรก็ตามไม่มีวิธีอะไรดีที่สุด มีแต่ว่า เป็นวิธีที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดนั่นเอง

              อยากจะเล่าให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า ในการทดสอบภาคปฏิบัติในวันที่สามที่ผมเข้ารับการ

อบรมนั้น อาจารย์ได้ขออาสาสมัครทำการทดสอบภาคปฏิบัติ 11 คน ผมเป็นคนหนึ่งที่อาสาสมัคร อาจารย์ต้องการให้อาสาสมัครทำการวิ่ง 30 นาที 2 คน 15 นาทีอีก 9 คน ผมอาสาวิ่ง 30 นาที แล้วทำการตรวจวัดกรด Lactic เพราะผมรู้ตัวว่า การวิ่ง 30 นาทีนั้น มันเป็นของ หมูๆสำหรับผม อาจารย์ท่านไม่รู้ Background ของผม ท่านก็ถามเพื่อความแน่ใจว่า ไหวแน่นะ (ท่านคงกลัวว่าผมจะหัวใจวายตายคาสนามวิ่งมั๊งแต่ท่านก็พอจะรู้ว่า ผมมาจาก Triathlon แต่ไม่รู้ว่า ผมเป็น Coach หรือเจ้าหน้าที่หรือนักกีฬา ส่วนผมนั้นรู้อยู่เต็มอกว่า ตัวเองกำลังฝึกระดับไตรกีฬา IRONMAN และ ULTRAMAN อยู่ ….วิ่งแค่นี้ยังน้อยไปด้วย ฉะนั้นระดับ ความฟิตของร่างกายไม่มีปัญหาใดๆ….แต่อาจารย์ท่านไม่รู้ ท่านไม่ได้ถามถึงเรื่องนี้   ถ้าถาม คงต้องร้อง….Oh, yes.   และอาจให้ผมวิ่ง 2 ชั่วโมงติดต่อก็ได้

              ตอนเย็นวันที่ 17 กรกฎาคม 2545 หลังชั่วโมงการบรรยาย พวกเราผู้เข้ารับการอบรมร้อยกว่าคนรวมทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ กกท. ก็พากันไปที่สนามราชมังคลากีฬาสถานที่หัวหมาก จากนั้นอาจารย์ก็ให้ผมและผู้อาสาสมัคร 11 คนทำการวิ่งตามที่กำหนดในอัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 80 % ของ MHR เมื่อครบตามเวลาที่กำหนด ทุกคนก็มาให้ Mr. Gunter Lange เจาะติ่งหูเอาเลือดไป 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 นาที 3 นาที และ 5 นาที เพื่อนำไปทำการตรวจตามกรรมวิธีทางเคมีแล้วจะเอามาแสดงผลต่อที่ประชุม

              รุ่งขึ้นตอนเช้าวันที่ 18 ก่อนที่จะเข้าสู่การบรรยายช่วงสุดท้าย Mr. Gunter Lange ได้เอาแผ่น

สไลด์ ภาพกราฟแสดงผลการตรวจวัดกรด Lactic ของอาสาสมัครแต่ละคนขึ้นมาฉาย แล้วก็อธิบายและวิเคราะห์วิจารณ์ตามหลักทฤษฎี ที่อาจารย์ Dr. Ulrich Hartmann ได้บรรยายมา ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึงคนอื่น 10 คนแรกที่ อาจารย์ท่านวิเคราะห์วิจารณ์ ไป   เมื่อมาถึงผมซึ่งเป็นคนสุดท้าย อาจารย์บอกว่า นี่คือ ตัวอย่างที่ดีที่สุด ที่ถูกต้องตรงกับทฤษฎีที่สุด ร่างกาย ฟิตที่สุด เนื่องจากกราฟในแผ่นสไลด์แสดงให้เห็นว่า กรด Lactic ในร่างกายของผมขึ้นไม่เกิน 2 มิลลิโมลส์ (mmol/L หรือ millimoles per liter of blood เป็นหน่วยวักรด Lactic ) และเป็น Curve ที่สวยงาม ถูกต้องตรงตามทฤษฎีเป๊ะเลย (อาจารญ์ก็ชี้ไปตามจุดต่างๆในเส้นกราฟ) ว่าแล้ว อาจารย์ก็ปรบมือให้ผม  บรรดาผู้เข้ารับการอบรมก็ปรบมือกันลั่นห้อง….เป็นผลให้ผมหน้าบานไปเลย   ดีนะว่า อาจารย์ไม่ได้ซักว่า ผมอายุเท่าใด เพราะถ้าถามและเมื่อได้คำตอบแล้ว   ผมเชื่อว่าท่านผู้เข้ารับการอบรมทั้งห้องประชุมจะปรบมือให้ดังกว่านี้  แต่เอาล่ะ นี่ก็ถือเป็นเกียรติสูงแล้วสำหรับผม…..รวมถึงวงการไตรกีฬาด้วย   เพราะมันเป็นตัวอย่างแสดงให้สาธารณะชนได้เห็นและเชื่อแล้วล่ะว่านักไตรกีฬา หรือ ผู้ฝึกไตรกีฬา คือ ผู้ที่มีร่างกาย….สุดยอด(ในทางวิทยาศาสตร์)

              กรด Lactic นอกจากจะทำลาย Mitrochondria แล้ว มันยังขัดขวางต่อการที่ร่างกายจะเอา ไขมันมาใช้เป็นพลังงานของกล้ามเนื้ออีกด้วย โดยเฉพาะหากสะสมมากจนถึงจุดๆหนึ่งเราจะต้องจอดสนิท ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยขัดขวางต่อการเป็น…. “แชมป์ของเรา”…เลยทีเดียว

              ท่านทั้งหลายที่เคยวิ่งแข่งขัน ช่วงกำลังเร่งจะเข้าสู่เส้นชัย โดยเฉพาะกำลังเชือดเฉือนชนิดไหล่เบียดไหล่กับคู่ต่อสู้อยู่นั้น ถ้ากรดแลคติดในกล้ามเนื้อขามันดันสะสมมากกว่าการขับออกและสะสมมาจนถึงจุดๆหนึ่งที่ทนต่อไปไม่ได้….ผลก็คือ….การทำงานของกล้ามเนื้อมันจะต้องลดทอนลงมากต้องปล่อยให้เพื่อนแซงเข้าเส้นชัยไปต่อหน้าต่อตา…… “ไอ้กรดแลคติคเอ้ยมึงนะมึง….ทำกูได้

              อดได้แชมป์เลยสนามนี้

              อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า กรด Lactic มันจะมีโทษเสมอไป มันยังมีประโยชน์มากมาย เช่น  กล้ามเนื้อหัวใจของเราก็ใช้มันเป็นพลังงาน ถึง 30% (กล้ามเนื้อหัวใจของเรานั้น ในขณะพักผ่อนและเมื่อมันเต้นตุ้บตั้บทำงานอยู่นี้นั้น มันจะใช้พลังงานจาก Free fatty acid 40 %  Glucose 30 %  และจาก Lactate 30 %   แต่ถ้าเราออกกำลังกายประเภททนทานมันก็จะใช้พลังงานจาก FFA มากที่สุดถึง 70 % ของพลังงานทั้งหมดที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการ และเมื่อใดที่เราออกกำลังกายอย่างหนักขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจจะใช้ Lactate มากขึ้นถึง 60 % ของพลังงานที่ต้องการทั้งหมด นอกจากนี้ตับของเราเองก็จะใช้ Lactate เป็นพลังงานเพิ่มขึ้นในขณะออกกำลังกายด้วยเช่นกันและมันก็จะมีผลให้ตับทำการปล่อย Glucose ออกมาสู่กล้ามเนื้อส่วนที่เราใช้ในการออกกำลังกายนั้นเป็นจำนวนหรืออัตราที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

               มาถึงตอนนี้ก็คงจะแน่ใจแล้วนะครับว่า  กรด Lactic นั้น มันมีทั้งประโยชน์และโทษ  เมื่อเวลาที่มันเกิดขึ้นในร่างกายจนควบคุม (ความสมดุล….ด้วยการขับออกให้เท่ากับที่มันเกิดขึ้น)ไม่อยู่แล้วมันจะเป็นตัวการอันสำคัญที่จะ หยุด ความสามารถทั้งหมดของกล้ามเนื้อของนักไตรกีฬาทุกคนให้จอดสนิทลง  (ถึงแม้ว่าจะฝึกมาดีแค่ไหนและร่างกายยังมีสมรรถภาพอยู่เต็มเปี่ยมมากเพียงใด)อย่างเด็ดขาดราบคาบ………..แพ้สนิท…..พร้อมกับอาการ สะอื้น

               แต่อย่าลืมว่า ไฟนั้น ถึงแม้ว่า มันมีฤทธิ์เดชในการทำลายขนาดไหน แต่ทุกคนในโลกต่างก็รู้กันดีว่า หากไม่มี ไฟบ้านเมืองของพวกเรา โลกของเรา ชีวิตพวกของเรา ก็คงไม่ได้อยู่อย่างนี้   เจริญรุ่งเรืองอย่างนี้ เป็นแน่     อ้าวแล้วสรุปว่า….ไอ้กรด Lactic นี่ มันเป็น เพื่อนรัก หรือ ศัตรูตัวร้าย….กันแน่นะ

               หาคำตอบไปได้จากการฝึกครับ

               ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นบทความที่ผมได้เคยเขียนลงในจดหมายข่าวชาวไตรกีฬาให้กับสมาชิกได้อ่านกันไปก่อนหน้านี้แล้วหลายเดือน ผมเห็นว่า มันน่าจะก่อประโยชน์ในทางสร้างสรรค์แก่พวกเรา มิตรรักนักกีฬาชาวไทยรันนิ่งดอทคอมอยู่บ้าง ก็เลยเอามาลงให้อ่านกันครับ

                และขอถือโอกาสนี้ อวยพรปีใหม่ให้ มิตรรักทุกท่านดังนี้ครับ

                  “พรปีใหม่ ใส่ในมือ ถือพนม 

                    แล้วจึงก้ม กราบพระ อธิษฐาน

                         ขอให้ท่าน มีความสุข ทุกข์อย่าพาล

                       ประกอบการ งานสิ่งใด ให้รุ่งเรือง

                                                                               

 ด้วยความปรารถนาดี

                                                                                                              ทนายวิจิตร

                                                                                                          25  ธันวาคม  2545<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.45