<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_juk_while_running_bykrit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> จุกเสียดขณะวิ่งโดยกฤตย์

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่4ก.ย.48<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

จุกเสียดขณะวิ่ง

 


 

นายกฤตย์ ทองคง ที่1Half
ที่อุทัยธานีมินิ-ฮาล์ฟเมื่อ28ส.ค.48

แปลโดย   กฤตย์   ทองคง

 

               เรื่องเสียดท้องขณะวิ่งนี้จำได้ว่าผู้เขียนนำมากล่าวไว้ทีนึงแล้ว แต่จะไม่ไปตามทำให้บทความเก่าสมบูรณ์ขึ้น หากแต่จะเพิ่มข้อมูลใหม่ๆเข้าไปตรงนี้เลย

 

               ให้สังเกตว่า ในรายที่วิ่งแล้วเสียด ใช่หรือไม่ครับว่า การเสียดของคุณจะมีความสัมพันธ์กับความเร็ว พูดง่ายๆก็คือ เสียดเพราะวิ่งเร็ว และถ้าวิ่งให้ช้าลง ก็จะเสียดน้อยลงและถ้าหยุดวิ่งหรือเดินได้ก็จะยิ่งเลิกเสียดไปเลย  ปัญหาก็คือ คุณกำลังทำเวลาอยู่ในสนามแข่งที่สถานการณ์ไม่อนุญาตให้คุณหยุดแม้แต่เบาความเร็วลง ขืนแม้เพียงแผ่วลงเท่านั้น คุณก็มีหวังโดนเสียบแน่ๆจากตัวที่กำลังตามติดมาทางข้างหลัง

 

               ผู้ที่ทราบคนแรกก็คือตัวของเราเอง  ที่แม้จะอุตส่าห์เก็บฟอร์มพยายามไม่ทำอาการอะไรให้กระโตกกระตาก  โดยพยายามง้ำประคองรักษาเพซความเร็วไม่ให้ตก เพื่อจะค่อยไปว่ากันใหม่ ในอีกสักโลสองโลข้างหน้า แต่ก็ยังไม่เคยได้มีใครทำได้มิดชิด ความลับจะแตกภายในไม่กี่วินาทีเท่านั้น และยิ่งผู้เสียดท้องทำใจได้ช้าเท่าไร ก็จะยิ่งทรมานใจมากเท่านั้น ยิ่งดื้อดึงยิ่งไม่ยอมจบ ยิ่งดันทุรังก็ยิ่งพังพาบเร็วขึ้น  ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นใครฝืนชะตากรรมได้พ้นสักราย

 

               มีทางเดียวครับ ให้รีบทำใจ และปล่อยสถานการณ์ให้อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดไปตามธรรมชาติ คือยอมช้าลง ยอมโดนแซง เป็นอันว่า วันนี้ไม่ใช่เป็นวันของเรา

 

               และผู้เขียนก็ไม่เคยเห็นนักวิ่งใดที่เกิดอาการจุกเสียดขณะวิ่งโดยไม่ได้วิ่งเร็ว(ตามฐานของเขา)เช่นกัน  อาการเสียดเป็นเสมือนปลายมีดตะขอแหลมจากคู่ต่อสู้ที่วิ่งตามเรามาทางด้านหลังเหวี่ยงเสียบติดฉึกเข้าไปที่เนื้ออ่อนๆปลายชายโครงติดหนึบ  โดยที่เราคลำหาด้ามเพื่อดึงออกไม่พบ

 

            ผู้เขียนเคยโดน “ไอ้มือดี” เหน็บตะขอติดเป็นของฝาก จนต้องยอมยกถ้วยให้เป็นของมัน ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้ว และทำนองเดียวกัน วันดีคืนดี เราก็เป็น “ไอ้มือตะขอ” ที่วิ่งตามแชมเปี้ยนไปกระทั่งแชมป์เหลียวมาพบแบบตาเหลือกทะหลนก็มิรู้กี่ศพต่อกี่ศพแล้วอีกเหมือนกัน เป็นเช่นนี้ทั้งสองแบบ  มันดีจัง  มันดี อีตอนไปล่อเขา แต่อีตอนเราตัวงอส่ายไปส่ายมากลับสนุกไม่ออก

 

               อาการเสียดเป็นอาการที่เกิดขึ้นแม้ในรายที่อาจจะฝึกมาดีแล้ว ถ้าตราบใด เธอเร็วเกินฐานของเธอนั่นแหละเป็นเจอดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะพบในราว 1 ใน 3 ของทั้งหมด และ 2 ใน 3 ไม่เกิด และอาจพัฒนาเปลี่ยนรูปไปได้ และที่สำคัญมันอยู่ตรงนี้เอง คือ มันเปลี่ยนได้ แต่ต้องริทำที่สนามซ้อม ไม่ใช่สนามจริง

 

               แนวปฏิบัติที่ผู้เขียนให้ไว้กับนักวิ่งที่มาฝึกด้วย เป็นแนวทางก็คือ จงอย่าหนีภาวะจุกเสียด  ให้มันเข้ามาเลย  แต่เราก็จะใช้วิธีหย่อนหน่อยนึง เมื่อมันเข้ามาทักทาย โดยตบความเร็วให้ช้าลงเล็กน้อย ในลักษณะที่ผู้วิ่งยังต้องควบคุมความเร็ว ไม่ให้ตกลงวูบวาบ เป็นการบริหารความจุกประการหนึ่ง ขณะเมื่ออาการกลับค่อยยังชั่วแล้ว (ไม่ใช่หาย) ก็ให้รีบคืนความเร็วที่หายไปเหมือนเดิม และแน่นอนถ้าเป็นเช่นนั้น มันก็อาจกลับมาเสียดอีกย่อมมีความเป็นไปได้มาก ก็ให้เราพยายามฝืนต่อไปทั้งๆที่ยังเสียดนั้น จนกระทั่งทนรู้สึกอีกไม่ไหวก็ให้หย่อนลงมาเหมือนเดิมเล็กน้อย จนกระทั่งมันกลับเข้าที่อีกทีอย่างที่เราพยายาม ก็ให้คืนความเร็วไปอีกครั้ง ทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า มันจะเท่ากับเป็นการสอนให้ร่างกาย รับมือกับภาวะเสียดนั้น โดยจำลองสภาพการณ์ที่เหมือนจริง แต่ไม่ใช่เป็นการฝืนตลอดให้ร่างกายรับทารุณเต็มๆ

 

               และการฝึกเสียดเช่นนี้ ก็จะไม่หายไปในระยะเวลาการฝึกครั้งเดียวหรือแม้แต่หลายครั้งก็เถอะ แต่ร่างกายจะค่อยๆผลักไสให้ภาวะทนที่ต้องทุกข์นั้นห่างออกไปและออกไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ร่างกายเราแข็งแกร่งขึ้นทีละน้อยนั่นเอง จนกระทั่งคุณจะไปเริ่มรู้สึกจุกเสียดอีกทีเอาหลังเส้นชัย ที่เราไม่มีความจำเป็นจะต้องไปวอรี่มันอีกต่อไป

 

               ด้วยไอ้ตับไตม้ามหรือกระเพาะ มันไม่ใช่อวัยวะที่ลอยเท้งเต้งอยู่ในช่องท้องเฉยๆ หากแต่มันถูกเชื่อม,ยึด,โยงและแขวนอยู่ด้วยผังผืดและเส้นเอ็นกระบังลมแล้วไปติดกับกระดูกซี่โครงเราอีกที ซึ่งเราก็จะรู้สึกเมื่อยเส้นเอ็นผังผืดและกระบังลมเหล่านี้ที่ยังต้องรับแรงเครียดที่ต้องยึดโยงน้ำหนักเหล่านี้ครั้งแล้วครั้งเล่ากับการกระแทก มันจึงเกิดการจุกเสียดขึ้น หรือกล่าวอย่างเพิ่มความเข้าใจขึ้นก็คือ ภาวะความจุกเสียดเป็นภาวะเกร็งตัวที่ก่อกำเนิดอย่างสะสม ไม่ใช่เกิดครั้งเดียว

 

               Owen  Anderson  Phd. เจ้าเก่าได้ให้เราทดลองพยายามเลี่ยงมันด้วยวิธีง่ายๆดังนี้  คือ ถ้าคุณรู้สึกเสียดในช่องท้องด้านขวา (ดังที่เรามักเป็นกันเสมอๆ) ให้ลองกำหนดหายใจออกเมื่อเท้าซ้ายกระทบพื้นและกลับกันในอีกด้านคือ ถ้าเสียดท้องทางด้านซ้ายก็ให้ลองกำหนดหายใจออกเมื่อเท้าขวากระทบพื้น

 

               อีกวิธีหนึ่งคือพยายามฝึกหายใจด้วยช่องท้องด้วยการกำหนดเองอย่าปล่อยให้ธรรมชาติกำหนดด้วยการนอนหงายและใช้หนังสือโทรศัพท์หนักๆวางบนช่องท้อง ณ ตำแหน่งที่มักรู้สึกเสียดเป็นประจำ และพยายามยกหนังสือขึ้นด้วยการหายใจเข้า และผ่อนหนังสือลงด้วยการหายใจออก

 

               Anderson  ให้เหตุผลกระทำเช่นนี้ว่าเท่ากับเป็นการฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อช่องท้อง ซึ่งเมื่อมันแข็งแกร่งขึ้นก็เท่ากับเป็นการช่วยให้อวัยวะภายในถูกจัดวางอย่างมั่นคงมากขึ้น ซึ่งเท่ากับมันจะถูกโยก,ดึง,รั้ง ให้น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง

               อีกประการหนึ่ง ผู้วิ่งจะลองฝึกทั้งสองประการนี้ก็ต่อเมื่อเขารู้จักการกินการรับอาหารและน้ำดื่มให้เหมาะสมด้วยเสียก่อนเป็นปฐม ไม่ใช่สวาปามเสียแน่นไปหมดแล้วไปวิ่ง อย่างนี้ยังไงๆก็เอาไม่อยู่หรอกครับ

 

 

01:12  น. 1 ม.ค. 2548

จาก     A Stitch in Time….Hurts    ,     Porter Shimer

R.W. Dec 1994   P.24