<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_interview_sukanya.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> สัมภาษณ์ อ

 

สัมภาษณ์ อ.สุกัญญา  พานิชเจริญนาม มุสิกวัน

ผู้ริเริ่มการสอนเต้นแอโรบิกในประเทศไทย

 

 

thairunning.com ขอทราบประวัติส่วนตัว ย่อๆ และประวัติการทำงานและผลงาน โดยย่อ
อ.สุกัญญา ชื่อ                       สุกัญญา  พานิชเจริญนาม มุสิกวัน

อายุ                     51 ปี

อาชีพ                  รับราชการ ตำแหน่ง อาจารย์ประจำ ภาควิชาพลศึกษา         คณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วุฒิการศึกษา

ปี พ.ศ.2526        M.HE.PE (มหาวิทยาลัย TSUKUBA ประเทศญี่ปุ่น )

ปี พ.ศ.2517       คม.พลศึกษา

ปี พ.ศ.2515       กศ.บ (พลศึกษา) เกียรตินิยม

ประวัติการทำงาน

-เป็นวิทยากรให้กับกระทรวงสาธารณสุข

-เป็นวิทยากรให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

-เป็นวิทยากรให้กับ Amway แห่งประเทศไทย

-เป็นวิทยากรให้กับ NIVIA   แห่งประเทศไทย

เป็นที่ปรึกษาวิชาการ DIANA WOMEN'S &MEN'S CLUB

 

 

thairunning.com  การเต้นแอโรบิกในเมืองไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่คะ และอาจารย์มีแรงจูงใจอะไรที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้นำเข้ามาเผยแพร่แอโรบิกในเมืองไทย

 

อ.สุกัญญา การเต้นแอโรบิกในประเทศไทย  ตามความเป็นจริงนั้น มีมานานแล้ว ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมเข้าจังหวะ ซึ่งเป็นหลักสูตร การสอนพลศึกษา ตามชั้นประถม มัธยม หรือระดับอุดมศึกษา และได้บรรจุไว้ในหลักสูตร การสอนพลศึกษาในโรงเรียน  แต่เรื่องการเน้นประโยชน์ต่อหัวใจ หรือ ผลดีต่อการลดระดับไขมันในร่างกาย หรือลดระดับ โคเรสเตอรอล ในเลือดนั้น  ยังไม่มีบทความหรือการวิจัยมากนัก

     จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2519   อาจารย์สุกัญญา มุสิกวัน ซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น พานิชเจริญนาม  ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานาน 4 ปี  และได้เดินทางกลับมาในปี พ.ศ. 2526 ได้เล็งเห็นกิจกรรม  Slimnastic นั้นควรจะอยู่ในรูปแบบของ Aerobic Dance  เหมือนกับสากลนิยม จึงได้เริ่มสอนและได้จัดอบรมให้กับผู้สนใจ และลูกศิษยให้นำไปเผยแพร่ ทั่วประเทศ  โดยได้จัดในรูปสัมมนา เชิงปฏิบัติการ ณ.โรงยิมฯ 2 สนามกีฬาแห่งชาติ  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 130 คน จากการสถาบันการศึกษาทั่วทุกภาคของประเทศไทย และนับจาก ปี 2526 เป็นต้นมา  จนถึงปัจจุบัน Aerobic Dance  จึงเป็นกิจกรรมที่นิยมแพร่หลายในทุกๆ ภาค ของประเทศไทย 

2thairunning.com การพัฒนาการเต้นแอโรบิกตั้งแต่ยุคแรกๆ จนปัจจุบัน แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ในเรื่องผู้เต้น ผู้สอน สถานที่ การแต่งกาย เสียงเพลงเสียงดนตรี
อ.สุกัญญา วิวัฒนาการ การพัฒนาการเต้นแอโรบิก สมัยก่อน นิยมใช้การเต้นแบบ แรงกระแทกสูง ( High Impact ) และเป็นการเคลื่อนไหวที่อยู่กับที่  เป็นส่วนใหญ่

แต่ปัจจุบัน นิยมใช้การเคลื่อนไหว แบบ Low Impact High Intensity คือนิยมไม่ใช้การกระโดด แต่นิยมการเคลื่อนไหวที่มีช่วงกว้าง  และหลากหลายทิศทาง  โดยนิยมการเคลื่อนไหว โดยใช้ทิศทางเข้ามาช่วย

และปัจจุบันนี้มักนิยมใช้อุปกรณ์เข้ามาถือ เพื่อช่วยให้มีการพัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย  เช่นถือดัมเบลล์  ถุงทราย   หรือขวดน้ำ  เพื่อเพิ่มความหนักขึ้น สำหรับบุคคลที่แข็งแรงแล้ว

3.thairunning.com ปัจจุบันนี้ประชาชนหันมาออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกมากมาย ครูผู้สอนเต้นแอโรบิกมีวิธีสอนที่ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ขอทราบความคิดเห็นและให้คำแนะนำแก่ครูผู้สอนเต้นหรือเป็นผู้นำเต้นแอโรบิก เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รักการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก
อ.สุกัญญา สำหรับครูผู้สอนเต้นแอโรบิก ณ.ปัจจุบันนี้ เนื่องจากมีสถานที่เต้นแอโรบิก ทั้งในร่ม  และกลางแจ้ง  เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ Leader  การเต้นแอโรบิก ไม่เพียงพอ

ดังนั้น จึงทำให้เกิดปัญหาสำหรับ Leader เพราะคุณภาพของ Leader ที่นำเต้นนั้น  บางคนก็ได้เรียนรู้มาเป็นอย่างดี  บางคนก็ไม่ได้เรียนมา เพียงแต่ศึกษาท่าเต้นว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น  ส่วนเรื่องเทคนิค การเคลื่อนไหว ข้อดี-ข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังนั้นไม่ได้ศึกษามา จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสม  เกิดขึ้นกับผู้เต้นแอโรบิก

แต่อย่างไรก็ตาม ขอเสนอแนะว่าสำหรับผู้เต้นแอโรบิกใหม่ๆ นั้น อย่าเพิ่งออกแรงมาก เพราะการออกแรงมากๆ นั้น ทำให้กล้ามเนื้อ และกระดุก ตลอดทั้งเส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ ได้รับการบาดเจ็บ

และอวัยวะส่วนที่จะต้องระวังคือ
1.กระดูกต้นคอ
2.กระดูกสันหลัง
3.หัวเข่า
4.ข้อเท้า และอุ้งเท้า

แต่ปัจจุบัน ทางราชการ เช่น ฝ่ายส่งเสริมกีฬาของ กทม. (กรุงเทพมหานคร )  ได้จัดอบรมโดยเชิญ วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านนี้ ให้ความรู้  กับ Leader ที่จะไปนำเต้น  ตามลานเอนกประสงค์ ต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้นำเต้น  และผู้เข้าฝึกเต้นเป็นอย่างดี

4.thairunning.com หน่วยงานราชการให้การสนับสนุน เช่นเรื่องสถานที่และค่าใช้จ่ายสำหรับครูผู้สอนแอโรบิก มากน้อยแค่ไหนคะ เท่าที่อาจารย์อยู่ในแวดวงแอโรบิกมานาน อยากฝากอะไรถึงหน่วยราชการบ้างคะ

 

อ.สุกัญญา สำหรับหน่วยราชการที่ให้การสนับสนุนนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง เช่น กทม. ช่วยจัดลานเอนกประสงค์ ซึ่งมีมากกว่า 700 ลาน และคาดว่า จะมีให้ครบ 1,000 ลาน  ในปี 2545 นี้  ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น  คิดว่ามีให้เป็น ค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ตามสมควร  และตามความสามารถของ Leader

 

5.thairunning.com วัยสูงอายุจะเต้นแอโรบิกได้แค่ไหน และท่าเต้นอะไรบ้างที่ไม่ควรเต้น เพราะจะเป็นอันตราย และสำหรับผู้ที่สนใจอยากเต้นแอโรบิก แต่เต้นและตามไม่ค่อยจะทัน ขอคำแนะนำให้กับนักเต้นมือใหม่ด้วยค่ะ
อ.สุกัญญา วัยสูงอายุนั้น การเต้นแอโรบิกที่ไม่อันตราย คือการใช้การเคลื่อนไหว ที่เป็น Low Impact  ทั้งนี้ทั้งนั้นให้แต่ละคนพิจารณา ความสามารถ ( ความแข็งแรง ของตนเองเป็นหลัก ) ผู้สูงอายุบางคน พึ่งเริ่มเต้น แน่นอนต้องมีความแข็งแรงน้อยกว่าบุคคลที่เต้นมานาน  ทั้งนี้ความแข็งแรงดังกล่าวนั้น  รวมถึงหัวใจ และกล้ามเนื้อด้วย

การที่จะเข้าร่วมเต้นแอโรบิกนั้นนั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แน่นอน แต่จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไปโดยที่จะต้องเริ่มจาก ค่อยเป็น ค่อยไป  ไม่หักโหมในขณะที่เต้น  อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้น

thairunning.com ขอบคุณค่ะ

 

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.44<% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>