<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_force_run.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> แรงกับการวิ่ง

Home

ถาม-ตอบ

ตารางงานวิ่ง

โบรชัวร์งานวิ่ง

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ 47 :  <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

แรงกับการวิ่ง

การวิ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะเป็นระยะรอบซ้ำ กันอย่างต่อเนื่อง อัตราเร็วของคลื่นสัมพันธ์กับความถี่และความยาวคลื่น ดังสูตรต่อไปนี้

อัตราเร็ว = ความถี่ x ความยาวคลื่น

ในทำนองเดียวกัน อัตราเร็วในการวิ่งก็สัมพันธ์กับความถี่ในการก้าว (จำนวนก้าวที่วิ่งได้ในหนึ่งนาที) และความยาวของก้าว (ระยะทางในการก้าววิ่งแต่ละก้าว) ดังสูตรต่อไปนี้

อัตราเร็ว = ความถี่ในการก้าว x ความยาวของก้าว

หากต้องการเพิ่มอัตราเร็วในการวิ่งก็ต้องหาวิธีเพิ่มความถี่ในการก้าวและความยาวของก้าว ตัวอย่างเช่น นักวิ่งระยะสั้นคนหนึ่งมีความถี่ในการวิ่งโดยเฉลี่ยวินาทีละ 4.6 ก้าว ความยาวของก้าวโดยเฉลี่ยคือ 1.8 เมตร ดังนั้นอัตราเร็วโดยเฉลี่ยจึงเท่ากับ 8.28 เมตร/วินาที หากเป็นการวิ่งระยะ 100 เมตร อัตราเร็วดังกล่าวต้องใช้เวลา 12.1 วินาที

กำหนดให้นักวิ่ง A และ B มีกำลังเท่ากัน โดยแต่ละคนมีวิธีการวิ่งดังแสดงในรูปที่ (1) และ (2) ตามลำดับ โดยที่มุมในการก้าวของรูป (1) ใหญ่กว่าของรูป (2) ดังนั้นในการยกเท้าขึ้นของ A จะต้องใช้เวลานานกว่าจึงจะสัมผัสพื้นเป็นหนึ่งก้าว เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้ความถี่ในการก้าววิ่งน้อยลง และอีกนัยหนึ่งมุมในการก้าววิ่งของ A ค่อนข้างมาก ทำให้แรงองค์ประกอบในการยกร่างกายมีค่ามากด้วย แต่แรงองค์ประกอบในแนวระดับที่พุ่งไปข้างหน้าจะค่อนข้างน้อย ดังนั้นความยาวของก้าววิ่งจึงค่อนข้างสั้น สรุปแล้ว A จะวิ่งได้ช้ากว่า B

ความเร็วในการวิ่งแต่ละก้าวเป็นผลรวมของเวกเตอร์ที่เกิดจากความเร็วที่เหลืออยู่จากการก้าววิ่งครั้งก่อน (ความเฉื่อย) รวมกับความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากการวิ่งก้าวต่อไป ในการวิ่งแต่ละก้าวจะได้รับความเร็วเพิ่มเติมมาจากการที่เท้าดันพื้นไปข้างหลัง ดังแสดงในรูปที่ (3) แรงที่เท้าถีบพื้นไปทางข้างหลังเป็น F ในขณะที่จะเกิดแรงปฏิกิริยาที่พื้นกระทำต่อร่างกายเท่ากับ F เช่นกัน ซึ่งแรงนี้นี่เองที่ทำให้เกิดแรงเพิ่มจากการที่เท้าดันพื้นไปข้างหลัง มุมที่ F กระทำกับพื้นเป็นมุม เรียกว่ามุมข้างหลัง

แรง F แบ่งออกเป็นแรงองค์ประกอบ F1 และ F2    F1 ทำให้ผู้วิ่งได้รับความเร่งให้พุ่งไปข้างหน้าในแนวระดับ และ F2 เป็นความเร่งที่ทำให้ร่างกายพุ่งขึ้นตรง ๆ ในแนวดิ่ง มุม ของก้าวหลังจะเป็นตัวกำหนดขนาดของแรง F1 และ F2 มุมของก้าวหลังนี้ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้แรง F ถูกแบ่งไปเป็นแรงยกขึ้น F2 มาก ในขณะที่แรงที่พุ่งไปข้างหน้า F1 จะน้อยซึ่งทำให้ความถี่ในการก้าววิ่งและความยากของก้าววิ่งลดลง โดยทั่วไปมุมก้าวหลังในการวิ่งระยะสั้นควรมีค่าประมาณ 52 - 60 ทั้งนี้ขึ้นกับกำลังและเทคนิคของผู้วิ่งด้วย

เมื่อก้าวหลังผ่านไปแล้วร่างกายจะพุ่งไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง ตามด้วยการที่เท้าอีกข้างหนึ่งสลับมาสัมผัสพื้น ดังแสดงในรูป (4)   R เป็นแรงที่เท้ากระทำต่อพื้นและทำมุม กับพื้น ดังนั้นแรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อเท้าจึงเท่ากับแรง R แต่มีทิศทางตรงกันข้าม ด้วยเหตุนี้ในการก้าวเท้าหน้าลงพื้นควรให้ฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นเพื่อลดขนาดของแรง R

จากรูปจะพบว่าแรง R เฉียงไปข้างหลัง ซึ่งเป็นการลดความเร็วลง ดังนั้นควรให้มุมลงพื้นของเท้าหน้า มีขนาดใหญ่ ซึ่งก็คืออย่าให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นเร็วเกินไป แต่ควรให้ใกล้กับส่วนล่างของร่างกายเสียก่อนจึงค่อยสัมผัสพื้น การทำเช่นนี้จะช่วยลดแรงองค์ประกอบของ R ที่มีทิศทางไปทางด้านหลัง

บทความจาก " ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวันโดย..เรืองชัย - รำพรรณ รักศรีอักษร  เรียบเรียง