<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_cortisone_by_krit.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> Cortisone_by_krit

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค.48 <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

Cortisone

คอร์ติโซน

 

โดย   กฤตย์   ทองคง

 

               ถ้าคุณเป็นนักวิ่งที่ใส่ใจต่อความรู้  คงจะเคยได้ยิน คำว่า  “คอร์ติโซน”  มาบ้าง  คอร์ติโซน  เป็นอินทรีย์สารเคมีชนิดหนึ่งที่จัดเป็นฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อหมวกไต  Adrenal Gland ที่ตั้งอยู่บริเวณช่องท้อง ที่โดยธรรมชาติแล้ว เป็นอินทรีย์สารที่เป็นคุณอย่างแน่นอน

 

               แต่มนุษย์มันทะลึ่ง พยายามเล่นแร่แปรธาตุภายในห้องแหลบ  พยายามผลิตอะไรบางอย่างที่เลียนแบบเจ้าสารตัวนี้  และมันก็ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง  โดยนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวเยอรมันในระหว่างช่วงทศวรรษ 1940 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  โดยมีเป้าหมายระยะต้น เพื่อจะนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นประสิทธิภาพทางการกีฬา (Superhuman Substance)  จากความโลภเหรียญทอง

 

 และถ้าจะว่าให้ลงลึกไปอีกหน่อย ก็จะพบความหลงอัตตาที่อยากแสดงให้ชาวโลกประจักษ์ว่า  ประชากรภายใต้การดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมทั้งหลาย มีความก้าวหน้าและมีพลานามัยแข็งแกร่งมาก  ซึ่งเป็นบทสะท้อนให้ประจักษ์ถึงประสิทธิภาพของการจัดการทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเหนือกว่าโลกตะวันตก  เป็นความพยายามที่จะใช้ปรัชญาทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงการกีฬาครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์

 

               เจ้าสารเทียมตัวนี้ จึงถูกจัดให้เป็นอนินทรีย์สารในระยะต่อมา ด้วยเพราะมันถูกผลิตขึ้นจากห้องแหลบ แทนที่จะเป็นภายในร่างกายมนุษย์ จึงถูกเรียกว่าคอร์ติโคสเตียร์รอยด์ (Corticosteroid) ที่เมื่อใช้แรกๆมันก็ดีอยู่หรอก  ค่าที่ว่ามนุษยชาติยังเห็นแต่ด้านดีของมัน พิษภัยยังฟาดหางมาไม่ถึง  แต่ยิ่งนานวัน มันยิ่งแสดงฤทธิ์เดชให้ปรากฏว่าโฉมหน้าที่แท้จริงของมันเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่ ชัดขึ้นทุกที  แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเหลือนักกีฬาจำนวนไม่น้อยที่ยังรักและศรัทธาใช้ยานี้ฉีดเข้าเส้นเพื่อระงับปวดและลดการอักเสบจากการบาดเจ็บทางการกีฬาของเส้นเอ็นและข้อต่อต่างๆอยู่เป็นระยะๆ

 

               โธ่เอ๋ย..มันน่าใช้เข้าไปได้อย่างไรกัน ในเมื่อกระทั่งแพทย์ก็ยังไม่แน่ใจและรู้จักเข้าใจการออกฤทธิ์ของสารนี้อย่างครบถ้วน  กล่าวอย่างง่ายๆ หมอเองก็ยังไม่เลือกที่จะเอาไปใช้กับตัวเองเลย   แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก ว่าลำพังแพทย์เพียงคนเดียวหรือฝ่ายเดียวจะไปขืนกระแสผลประโยชน์ปีละหลายๆหมื่นล้านของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติได้อย่างไร  ที่ยังไม่ต้องถึงกับระดับที่กล่าวไปแล้วหรอก  กับกะอีแค่อย่างไรจะปลอดภัยหรืออันตรายกว่ากันระหว่างรับสารทางปากในรูปยากิน กับ การฉีดเข้าเส้นก็ยังเถียงกันไม่จบ  แต่พอจะสังเกตว่า มันแสดงผลในการขัดจังหวะการลุกลามอักเสบและระงับปวด แต่จะให้แพทย์รู้ลงละเอียดในผลตรงๆและผลข้างเคียงที่มากกว่านี้ คงต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกไม่น้อย

               แพทย์เอง แม้พอจะทราบว่า มันระงับอาการอักเสบ แต่ข้อใหญ๋ใจความ มันไม่ได้ช่วยรักษาให้หายดี  นายแพทย์ Wayne  Leadbetter  M.D.  เป็นผู้ช่วยโปรเฟสเซอร์ทาง Orthopedics ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์  กล่าวว่า

               “เพราะมันระงับอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น ป้องกันความรู้สึกด้านลบ (อย่างชั่วคราว) มันจึงเท่ากับเป็นการหลอกให้นักกีฬาที่ประมาทกลับเข้าสนามซ้อมต่อ  ดังนั้น การที่นักกีฬาทำท่าค่อยยังชั่วแล้ว จึงมีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่จะกลับมาเจ็บต่อ”      จากแรงกดดันใหม่ที่เข้ามาซ้ำการที่ร่างกายกำลัง    Healing themselves   และอาจเจ็บหนักกว่าเก่า    ก็ข้างในลึกๆมันยังไม่หายดีที่กล้ามเนื้อเส้นเอ็นข้อต่อ ยังมีรอยปริจากความผิดพลาดบาดเจ็บครั้งก่อน    การซ้ำเติมชะตากรรมของตัวเองโดยตัวเองเช่นนี้จึงเป็นทางเลือกที่น่าเศร้า  แล้วอย่างนี้ยังสมควรเสี่ยงรับยาคอร์ติโซนเทียมนี้หรือไม่ก็ลองตรองดู

 

               แล้วที่ใช้ๆกันอยู่ โดยแพทย์กับนักกีฬาบางรายนั้น มีอะไรที่ทำให้เขาตัดสินใจใช้ยาชนิดนี้ พวกเขาจะยังเลือกที่จะใช้ยานี้   ต่อเมื่อหลังจากนักกีฬาผ่านการแข่งขันอย่างหนักในสนามเป้าหมายมาแล้ว โดยสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะไบโอแมคานิคส์ของนักกีฬากับนิสัยการฝึกของแต่ละคน ประกอบกับการสังเกตวัดดูความคืบหน้าแต่ละขั้นของยาที่ออกฤทธิ์อย่างรอบคอบ รวมทั้งใช้วิธีโบราณที่เชื่อถือได้ร่วมด้วยเช่น “การพัก” ที่ไม่ออกแข่งหรือซ้อมอีก , การประคบน้ำแข็งและการพันรัด  ฯลฯรวมทั้งการใช้คอร์ติโคสเตียร์รอยด์นี้ครั้งเดียวในความบาดเจ็บของนักกีฬาต่อครั้งเท่านั้น และไม่ว่าจะหนักหนาขนาดไหน ก็ไม่เกิน 3 เข็มเด็ดขาด  สาเหตุที่ช่วงแห่งความเชื่อมั่นมันห่างกันนักก็เพราะมีเหตุปัจจัยในแต่ละรายให้คำนึงแตกต่างกันมาก  ระบุให้แจ่มชัดมันยากครับ.  เรื่องมันยาว

 

               ย้อนกลับมาตอนต้นที่ว่า  เราควรรู้เอาไว้บ้างว่ามันเข้าไปทำอะไรกับร่างกายของเรา แต่เท่าที่ประสบการณ์ผู้เขียนพบมา สถานการณ์ดูน่าเป็นห่วงมากกว่าที่คาดไว้แต่ต้น ตรงที่เมื่อนักกีฬาถามแหล่งข่าว  ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนนักกีฬาด้วยกัน , โค้ช   หรือผู้แนะนำอื่นๆ  ก็ได้คำตอบทำนองว่า  “กินเข้าไปเถอะ  ไม่ต้องถามอะไร  แล้วดีเอง”  ทำนองนั้น

 

               จากความเป็นจริง แหล่งข่าวแทบจะไม่อนุญาตให้เรารู้ว่ามันคืออะไรเลยด้วยซ้ำ  แม้กระทั่งในวงการระดับที่จะต้องไปแข่งเป็นตัวแทนของประเทศ พูดกันอย่างตรงไปตรงมา    คำสนทนาทุเรศๆแบบนี้ก็ยังมีอยู่เลย  ผู้เขียนอยากตั้งคำถามกับตัวนักกีฬาว่า คุณทราบหรือไม่ว่ายาที่คุณรับเข้าไปตามคำแนะนำนั้นเป็นยาอะไร   (ชื่อสามัญทางยา , ไม่ใช่ชื่อการค้า)    นี่ยังไม่ได้เอ่ยว่า มันก่อให้เกิดผลอะไรด้วยซ้ำ

 

               เมื่อกล่าวถึงความเคร่งครัดระมัดระวังในรายนักวิ่งเพื่อสุขภาพระดับของพวกเราก็จะพบว่า ยิ่งน้อยลงตามส่วนลงไปอีก เป็นปฏิภาคผกผันกับกระหายความสำเร็จที่แสดงออกโดยการได้รับถ้วยรางวัลและซองเงินเป็นอย่างยิ่ง

 

               กล่าวกันว่า นักวิ่งในวงการ  กล้าฟันธงว่า   “กินกันทั้งนั้นแหละพี่”    ฟังแล้วก็หนาว และวังเวงบอกไม่ถูก

               วงการข้างนอกเละเทะอย่างไร  วงการข้างในก็รับเอาวัฒนธรรมมักง่ายเละเทะเข้ามาด้วย  สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกลับมาไตร่ตรองให้จงหนัก

 

 

Text Box: เมื่อคุณตัดสินใจรับยาคอร์ติโซน
ควรถามแพทย์หรือผู้ควบคุมการใช้ยาของคุณว่า
ปฏิกิริยาทางร่างกายหลังรับยาแล้วมีอะไรบ้าง
หลังรับยานักกีฬามีข้อจำกัดอะไรบ้าง
-         นานเท่าไรจะกลับไปวิ่งได้
-         มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ทำได้และไม่ได้หลังวันรับยา
-         หลังรับยาแล้ว 1 สัปดาห์ เราควรคาดหวังอะไรบ้างที่สมเหตุผลในฐานะที่ขาดฝึกลง
-         ประคบน้ำแข็งได้ไหม ถ้าได้ อย่างไร

 

 

 


 

1

 

 

 

5:25  น.

9  ม.ค.  2548

จาก  Cortisone in Question

โดย   Lyn  Votava

R.W.  May 1993  P.20