<% Set FileObject = Server.CreateObject("Scripting.FileSystemObject") Dir = Request.ServerVariables("SCRIPT_NAME") Dir = StrReverse(Dir) Dir = Mid(Dir, InStr(1, Dir, "/")) Dir = StrReverse(Dir) HitsFile = Server.MapPath(Dir) & "\hitcounter\hits_angle_foot.txt" On Error Resume Next Set InStream= FileObject.OpenTextFile (HitsFile, 1, false ) OldHits = Trim(InStream.ReadLine) NewHits = OldHits + 1 Set OutStream= FileObject.CreateTextFile (HitsFile, True) OutStream.WriteLine(NewHits) %> ทราบหรือไม่ว่า ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักเพียงใด ในเวลาเดินข้อเท้าและเท้า จะต้องรับน้ำหนัก 1

ผู้เยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 7  มิ.ย.46 : <% L=Len(NewHits) i = 1 For i = i to L num = Mid(NewHits,i,1) Display = Display & "" Next Response.Write Display %>

 

 

ทราบหรือไม่ว่า ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักเพียงใด ในเวลาเดินข้อเท้าและเท้า จะต้องรับน้ำหนัก 1.5 เท่าของน้ำหนักตัว รวมแล้วเท่ากับเราเดินประมาณ 1,000 ไมล์ต่อปี และเมื่อออกกำลังกาย ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนักประมาณ 1,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจที่ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้าและเท้าเป็นจำนวนมาก

โดยปัญหาที่มักจะเกิดกับข้อเท้าส่วนใหญ่ มีดังนี้

1. ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ และแม้แต่คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่ส้นสูงแล้วเท้าพลิก ตกบันได เป็นต้น สาเหตุที่เท้าแพลงเนื่องจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง

อาการ มีอาการบวมและปวดบริเวณข้อเท้า เป็นรอยเขียวๆ รอบข้อเนื่องจากการฉีกขาดของเส้นเลือด

การปฐมพยาบาล ประคบน้ำแข็งบริเวณข้อเท้าทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อช่วยลดอาการอักเสบ อย่านวดหรือรักษาด้วยวิธีการอื่นหากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย

การตรวจรักษา แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการปวด อาจมีการตรวจทางรังสีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหัก อาการนี้ใช้เวลารักษาประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่ภาวะบวมจะหายก่อน ส่วนใหญ่แพทย์จะให้พักเท้ามากที่สุด โดยอาจจะใส่เฝือก ใช้ผ้าพันเพื่อลดอาการบวม หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงน้ำหนัก เมื่ออาการดีขึ้นให้เริ่มต้นบริหารโดยการขยับข้อเท้าทุกทิศทาง เช่น หมุนเข้าเท้า กระดกเท้า เหยียดเท้า บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใช้กระดกเท้า ข้อสำคัญของการบริหารต้องไม่ทำให้เกิดการเจ็บของข้อ


2. เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดในกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น บาสเกตบอล กระโดดสูง นักวิ่ง สาเหตุสำคัญคือ การไม่ใส่ใจและพยายามมองข้ามอาการปวดซึ่งทำให้เป็นหนักขึ้นหรือรองเท้าที่ใส่ไม่เหมาะสม ทำให้เท้าส่วนหน้าเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวจึงเกิดแรงตึงที่เอ็นร้อนหวาย ผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง หากวิ่งโดยใส่รองเท้าธรรมดา เอ็นร้อยหวายจะอักเสบได้ง่ายเนื่องจากเอ็นร้อยหวายจะถูกยืดมากกว่าเมื่อใส่ส้นสูง

อาการ จะมีอาการปวดที่เอ็นร้อยหวายระหว่างการออกกำลังกาย และจะปวดมากขึ้นเมื่อหยุดออกกำลังกาย เมื่อกดบริเวณเอ็นร้อยหวายจะเกิดอาการปวด หรือเมื่อตรวจรองเท้าจะพบรอยสึกที่ผิดปกติ

การปฐมพยาบาล ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย กดเจ็บ เอ็นบวม ต้องหยุดออกกำลังโดยทันที ช่วงที่ปวดใหม่ๆ ให้ประคบด้วยน้ำแข็ง 20 นาทีทุก 4 ชั่วโมง ใส่รองเท้าที่หนุนส้นให้สูงขึ้นเพื่อลดแรงกดดันที่เอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าพัน ให้ยกเท้าสูง อย่าใส่รองเท้าพื้นราบและไม่ควรเดินเท้าเปล่า

การป้องกัน ใส่รองเท้าที่เหมาะสม ไม่ใส่ส้นสูง สำหรับผู้ที่จะออกกำลังกายให้มีการอบอุ่นร่างกาย และการยืดเส้นก่อนเสมอ


3. เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เกิดเนื่องจากการไม่ยืดกล้ามเนื้อน่องก่อนการออกกำลังกาย ในผู้หญิงที่น้ำหนักเกิน หรือลักษณะการทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ ในผู้ที่ฝ่าเท้าแบนหรือมีท่าการเดินที่ผิดไปก็เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อเอ็นฝ่าเท้าอักเสบได้ เนื่องจากมีการใช้เท้าทำงานมากเกินไป จนมีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า

อาการ จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อย แรกๆ จะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอน เมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น ในการตรวจร่างกายพบว่า ถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าจะทำให้เกิดอาการปวด หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ

การรักษา เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนัก ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น ประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองรับการกระแทก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นใน 2-3 เดือน หากไม่ดีแพทย์จะทำการฉีดยา steroid เข้าบริเวณเอ็นฝ่าเท้า

การป้องกันการได้รับบาดเจ็บบริเวณเท้าและข้อเท้า พยายามอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง สังเกตร่างกายตนเองหากมีอาการปวดข้อเท้าหรือปวดฝ่าเท้าให้หยุดวิ่ง จัดหาเครื่องป้องกันมาใส่ให้เหมาะสมกับกีฬา เลือกรองเท้าและถุงเท้าอย่างเหมาะสม


[ ที่มา.. www.elib-online.com  ข้อมูลจาก  นิตยสารใกล้หมอ    ปีที่ 26 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2545 ]