อาหาร...ช่วงฝึกซ้อม

linesbar.gif (1687 bytes)

การฝึกหนักทำให้นักกีฬาเมื่อยล้าและไม่มีแรง     การดูแลด้านโภชนาการช่วยได้หรือไม่

            ก่อนอื่นต้องเข้าใจการทำงานของร่างกายในการให้พลังงานเสียก่อน การบริโภคอาหารเมื่อเข้าไปในร่างกายจะผ่าน การย่อยและดูดซึมเพื่อนำไปใช้ให้พลังงานและที่เหลือเก็บสะสมในรูปไขมันใต้ผิวหนังและ ไกลโคเจน

            การเก็บไขมันเก็บได้ไม่อั้น เพราะเป็นการเก็บที่มีประสิทธิภาพ แต่การเก็บไกลโคเจนทำได้ในปริมาณที่จำกัด ในการฝึกฝนร่างกายให้ใช้พลังงานทั้งจากอาหารที่บริโภคและจากแหล่งพลังงานที่สะสมในร่างกาย ผู้ที่ฝึกฝนร่างกายจะ มีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงาน จากการเผาผลาญไขมันสะสม ซึ่งต่างจากผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนจะนำไขมันมาใช้เป็น พลังงานได้น้อยกว่า  จากการศึกษาพบว่าการที่ระดับไกลโคเจนต่ำลงมีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าและอ่อนแรง

          การดูแลด้านโภชนาการ

            การได้รับคาร์โบไฮเดรต (อาหารจำพวกแป้ง ข้าว ขนมปัง มักกะโรนี ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เผือก มัน) จะช่วยให้ร่างกาย มีการเติมกลับไกลโคเจน (Glycogen Resynthesis) ได้เร็วกว่าการบริโภคอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน หรือใยอาหาร หลังการฝึกซ้อม การแนะนำทั่ว ๆ ไปก็คือ การได้รับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงหลังการฝึกซ้อม

         นักกีฬาควรบริโภคอาหารประเภทใดก่อนการฝึกซ้อม

           โดยหลักการก็คือ นักกีฬาจำเป็นต้องมีแรงที่จะซ้อมจึงจะฝึกกีฬาได้ดี การฝึกซ้อมในขณะที่นักกีฬาหิว หรือกระหายน้ำ จะลดสมรรถภาพนักกีฬาอาหารก่อนการฝึกซ้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง และควรเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเช่นกัน เพราะเป็นอาหาร ที่ย่อยง่ายใช้เวลาอยู่ในกระเพาะอาหารน้อยกว่าอาหารประเภทโปรตีนหรือไขมัน และที่สำคัญก็คือควรดื่มน้ำให้พอเพียง การบริโภคอาหาร ควรบริโภค 2-3 ชั่วโมง ก่อนการฝึกซ้อม เพื่อให้แน่ใจอาหารได้ออกจากกระเพาะแล้ว และอยู่ระหว่างการย่อยและดูดซึม

         การบริโภคกลูโคสก่อนการฝึกซ้อมและแข่งขันเป็นผลดีหรือไม่

           กลูโคสเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีโมเลกุลเล็ก ย่อยง่าย ดูดซึมไว้ จึงเป็นสิ่งที่นักกีฬาและโคชให้ความสำคัญ และมักจะให้ นักกีฬาบริโภค เพื่อให้มีแรงและช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย นักวิจัยทำการศึกษากันมาก ซึ่งพบว่าควรบริโภคกลูโคสอย่างน้อย ครึ่งชั่วโมงก่อนการแข่งขันหรือบริโภคทันที ก่อนการแข่งขันจะเป็นการเสริมกลูโคสในกระแสเลือด

ข้อมูลจาก กองโภชนาการ กรมอนามัย