ประเภทกีฬา กับ อาหาร

linesbar.gif (1687 bytes)

            คำถามที่หลายคนยังข้องใจก็คือ การเตรียมนักกีฬาสำหรับการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ นั้น การดูแลเรื่องอาหารการกิน จะต่างกันหรือไม่ จากการที่นักกีฬาบางประเภทที่ต้องสร้างกล้ามเนื้อมักจะมุ่งเน้นสารอาหารโปรตีน เช่นนักกีฬาเพาะกาย ยกน้ำหนัก มวย เป็นต้น จนทำให้เกิดเป็นข้อสังเกตว่าอาหารนักกีฬาควรมุ่งเน้นเรื่องโปรตีน ซึ่งความจริงแล้วความต้องการโปรตีนในนักกีฬา เพิ่มขึ้นกว่าปกติจริง

            แต่ถ้าดูตามสัดส่วนที่คงเดิมของโปรตีนในการได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นนั้นก็พบว่าเพียงพออยู่แล้ว ดังนั้นกีฬาต่างชนิดกัน  การฝึกฝนใช้เทคนิคต่างกัน โดยทั่วไปก็ยังยึดหลักการฝึกมากใช้พลังงานมาก ก็ต้องได้รับสารอาหารมาก นั่นก็คือการดูแลทาง โภชนาการก็ไม่ต่างกัน   แต่อาจมีความแตกต่างกันในข้อปลีกย่อยที่จะเพิ่มการกักเก็บไกลโคเจนให้มากขึ้นในกีฬาประเภททนนาน

            คาร์โบไฮเดรตดูจะมีความสำคัญกับนักกีฬามากการที่จะทราบว่าได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตพอเพียงหรือไม่ขึ้นกับพลังงาน ที่ใช้ไปมากเท่าใดถ้าคิดเทียบกับเวลาที่ใช้ฝึกซ้อมตามตารางปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับสำหรับนักกีฬาที่น้ำหนักตัวต่างกัน และเวลาฝึกซ้อมต่างกัน

เวลาการ ฝึกซ้อม (นาที)

ปริมาณ คาร์โบไฮเดรต กรัม/กก./วัน

น้ำหนักตัวของนักกีฬา (กก.)

60

80

< 60

5 - 6

300 - 360

400 - 510

60 - 90

7 - 8

420 - 480

560 - 640

> 90

9 - 10

540 - 600

720 - 800

หมายเหตุ    300 กรัม คาร์โบไฮเดรต = ข้าว 7 จาน